ผ่านไปแล้วกับงาน The Future of Open-Source Powered Infrastructure Cloud Technologies หรือ อนาคตของเทคโนโลยีคลาวด์โครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วย Open-Source เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 ผ่านการสัมมนาออนไลน์ Live Webinar โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานได้แก่ NIPA Cloud, GIGABYTE, AMD และ TechTalkThai
ภายในงานวิทยากรได้แลกเปลี่ยนมุมมอง และแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Computing) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคลาวด์ระดับสากลด้วยเซิร์ฟเวอร์อันทรงพลังจาก GIGABYTE และ CPU จาก AMD EPYC ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรทั้งทางด้านธุรกิจ และทางด้านเทคนิค
สำหรับท่านแรก ดร.อภิศักดิ์ จุลยา (CEO & Founder จาก NIPA Cloud) ได้กล่าวถึงหัวข้อ “It’s Time to Migrate to Local Cloud with Global Standards” เกี่ยวกับการนำ Open-Source มาพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ ผลิตภัณฑ์ของบริษัท และเป้าหมายที่ต้องการจะมุ่งไป
รูปแบบของการให้บริการ Cloud Computing แบ่งเป็น 3 ประเภท เริ่มจาก Infrastructure-as-a Service (IaaS) ในอดีตเราต้องมีเครื่อง server ตัวนึง ทำการลง OS Cloud และนำมาใช้งาน แต่ในปัจจุบันเราสามารถใช้แบบ Hypervisor ได้ ซึ่งเป็นลักษณะของการแชร์ทรัพยากรภายในเครื่อง Server กัน ทำให้เราสามารถสร้างบริการต่าง ๆ ได้ ถัดมาเป็นแบบ Platform-as-a-Service (Paas) เป็นการที่เราสร้าง Platform ขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์อะไรบางอย่าง แล้วให้คนสามารถเข้ามาใช้งานได้ แบบสุดท้าย คือ Software-as-a-Service (SaaS) เป็นขั้นของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เราใช้กัน เช่น Email
ผู้บริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ AWS, Azure และ Google Cloud ส่วนผู้ให้บริการคลาวด์ในไทยนั้นมีน้อยรายมากที่ไม่นำเทคโนโลยีต่างชาติมาให้บริการ ก้าวสำคัญของคลาวด์ไทยที่เราหมายถึง คือ การนำ Open-Source มาให้บริการคลาวด์ โดยผลิตภัณฑ์ที่เรานำมาใช้ ได้แก่ OpenStack, Ceph Storage และ Tungsten Fabric
OpenStack คือ Operating System (OS) ที่คุมทุกอย่าง ทั้ง Compute Storage Network และทำให้เราสามารถมองข้อมูลเห็นเป็นผืนเดียวกันได้ ตลาดของ OpenStack นั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในตลาด Public Cloud มูลค่าตลาดทั้งหมดอยู่ที่ 1,737 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Global Market มีมูลค่าตลาดอยู่ 6,730 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Open Infrastructure Foundation เป็นองค์กรที่คอยดูแล OpenStack อยู่ และเป็นคนกำหนดทิศทางให้ Open-Source เติบโตอย่างมีทิศทาง และแข็งแกร่ง โดยล่าสุดนั้น Microsoft ได้เข้าร่วมเป็น Platinum Member แล้ว แต่สิ่งที่น่าจับตามอง คือ Microsoft ที่ทำธุรกิจขาย License มาตลอด ทำไมถึงเริ่มสนับสนุน Open-Source อย่างไรก็ตาม ดร.อภิศักดิ์ จุลยา (CEO & Founder จาก NIPA Cloud) กล่าวว่า นี่เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ Microsoft ได้เริ่มสนับสนุน Infrastructure Foundation
ต่อมา คุณอริย์ธัช บุญตานนท์ (Product Manager จาก NIPA Cloud) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยี Software-Defined Storage (SDS) ที่จะเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่ง Ceph คือ SDS ที่ทาง NIPA Cloud เลือกใช้ โดยทีมงาน R&D ของ NIPA Cloud ได้ออกแบบ ติดตั้ง และใช้งานในส่วนของ Enterprise Public Cloud
การนำเทคโนโลยี Software-Defined Storage (SDS) เข้ามาช่วยรวบรวมศูนย์ควบคุมข้อมูลให้เป็นจุดเดียว แล้ว Virtualize Storage Layer แบ่งเป็น pools ตามจุดประสงค์การใช้งาน ทำให้เราสามารถบริหารจัดการและโยกย้ายพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้อย่างอิสระ ไม่ต้องลงทุนเพิ่มพื้นที่ในการเก็บข้อมูลเฉพาะจุด และช่วยลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ
Ceph คือ SDS ที่ NIPA เลือกใช้ ซึ่ง Ceph คือ Open-Source ที่ถือเป็นผู้นำตลาดด้านเทคโนโลยีและมีเครือข่าย สามารถใช้งานบน Hardware ใดก็ได้ ทำให้บริหาร Hardware ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยฟีเจอร์หลักของ Ceph คือ มีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดคอขวดในระบบ นอกจากนี้ยังสามารถรองรับ Object ใน Cluster ได้มากกว่า 1,000 ล้าน Object และรองรับ Cluster ขนาดใหญ่ระดับ Petabyte ได้ เมื่อเราต้องการที่จะเพิ่มหรือลด Storage Loads ในระบบ Ceph จะช่วยคิดให้ว่าเราควรจะกระจาย Data แบบใด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และอีกหนึ่งมีฟีเจอร์ คือ Self Healing เมื่อเกิด Failures ขึ้นที่ใดก็ตามในระบบ Ceph จะทำการ Auto Re-distribute Data ใหม่ทันที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล
คุณจุฑาทิพ กุมาร (Marketing Communications Manager จาก GIGABYTE) กล่าวถึงหัวข้อ “The Future of Enterprise Data Protection” เกี่ยวกับเทคโนโลยี GRAID SupremeRAID ที่จะช่วยแก้ปัญหา Bottleneck ใน Data Flow โดยที่ยังสามารถทำ Data Protection ได้อยู่ ทำให้สามารถรองรับข้อมูลปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย
GRAID SupremeRAID เกิดจากความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาของ GIGABYTE และ GRAID TECHNOLOGY
โดยเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา Bottleneck ใน Data Flow ที่ยังสามารถทำ Data Protection ได้อีกด้วย ทำให้สามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่มากได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยสามารถรองรับได้มากถึง 20 x 2.5” GEN4 NVMe hot-swap SSD bays เป็นการทำ Data Protection แบบ Out of Path สามารถ Plug ลงไปที่ PCIe Slots ได้เลย เป็น World Record Performance ที่ทำได้ดีกว่า High-end Hardware RAID ทั่วไป ระดับเท่าตัว Support NVMeoF สามารถช่วยลด Cost ได้ถึง 80% สามารถ Recognize Storage ใน Local Server ได้ทันที ไม่ต้องใช้ Memory Caching ทำให้ไม่จำเป็นต้องมี Battery Backup ซึ่งช่วยลด Maintenance ได้ และยัง Supports Variety of NVMe Interfaces เช่น U.2, M.2 และ AIC NVMe interfaces มี Software Update รองรับการพัฒนาในอนาคต เช่น Features ใหม่ ๆ (Compression, Encryption, Thin Provisioning) เป็นต้น
สุดท้าย คุณวีรวุฒิ วุฒิเลิศอนันต์ (Solutions Architect: ASEAN จาก AMD) ได้เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ “AMD EPYC 3rd gen : นิยามบทใหม่ สำหรับ Cloud Computing” เพื่อที่จะอัพเดทเทคโนโลยีตัวใหม่นี้ที่ซึ่งเป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 ของ AMD EPYC โดยคุณวีรวุฒิได้พูดถึง Road Map ของการพัฒนาเทคโนโลยีตัวนี้ และฟีเจอร์สำคัญที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานคลาวด์
ทั้งนี้ คุณวีรวุฒิ ยังได้มีการพูดถึงการใช้งานของ AMD EPYC และการที่เทคโนโลยีตัวนี้จะตอบโจทย์งานด้านไหนบ้าง
เทคโนโลยีตัวนี้เป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 ของ AMD EPYC
AMD EPYC 7003 นั้นเป็น เจเนเรชั่น นาโนพลัส ซึ่งเป็นการอัพเดทปรับปรุง และประหยัดพลังงานได้ดีขึ้น ฟีเจอร์ที่สำคัญของเจเนเรชั่นนี้ก็คือ Cache ที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถแชร์ Cache ได้ถึง 32 MB ต่อ 1 Active Core มี Security ที่ดีขึ้น และทำให้ผู้ใช้มีความปลอดภัยมากขึ้น เทคโนโลยีตัวนี้สามารถรองรับ Memory ทีมีหลากหลายขึ้น สามารถทำงานร่วมกับ CPU Gen ที่แล้วได้อย่างไร้รอยต่อ และมี Speed Performance ที่ดีขึ้น
สิ่งที่ได้ใส่เข้ามาในส่วนของ Security คือ Secure Nested Paging (SNP) ตอบโจทย์ในเรื่องของ Cloud และงานที่ต้องใช้ CPU เช่น HPC รวมถึงพวก software application ที่เป็น Enterprise รูปแบบการใช้ HPC อย่างเช่นการคำนวณพวกสถิติเยอะ อย่างเช่น การพยากรณ์อากาศที่ต้องใช้ CPU และพลังงานที่เยอะ แต่การใช้ AMD ทำให้มีประสิทธิภาพที่เร็ว และประหยัดพลังงาน
- สอบถามการย้ายข้อมูลสู่คลาวด์กับ NIPA Cloud
- ออฟฟิศ: +66 2 107 8251 ต่อ 444, 416, 417
- โทร (TH): +66 8 6019 4000
- โทร (EN): +66 8 1841 4949
- เว็บไซต์: https://www.nipa.cloud/
- LINE: @NipaCloud
- Email: [email protected]
- Inbox: http://m.me/nipacloud