Banner

สืบเนื่องจากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 มีเป้าหมายหลักคือ ต้องการพลิกโฉมประเทศไทย สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน โดย มีการออกแบบมาจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก (Global megatrends) อาทิเช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร อนาคตของงาน รวมถึงการขยายตัวของความเป็นเมือง ทั้งนี้ บริษัท นิภา เทคโนโลยี จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทที่ทำการค้นคว้าวิจัยในด้านเทคโนโลยีคลาวด์มาอย่างต่อเนื่อง และเล็งเห็นถึง การเปลี่ยนแปลงไปของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงขอนำเสนอวิธีการปรับตัว เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับต่างชาติในด้านเทคโนโลยีได้อย่างเต็มภาคภูมิ

เมื่อแนวโน้มของโลกกำลังก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ บริษัท นิภา เทคโนโลยีเล็งเห็นคือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (digital infrastructure) เพื่อให้คนไทยสามารถเข้ามาใช้งานในต้นทุนต่ำ เนื่องจากการที่ประเทศไทยจะสามารถเกิดนวัตกรรมที่ดีและ สามารถแข่งขันกับชาวต่างชาติได้นั้น จำเป็นต้องมีการทดลองนับครั้งไม่ถ้วนจนกว่าจะสำเร็จ หากต้นทุนในการล้มเหลวสูงเกินไป หรือให้ภาคเอกชนแบกรับเอาไว้เพียงฝ่ายเดียว บริษัท นิภา เทคโนโลยี เกรงว่ากว่าจะมีบริษัทเอกชนที่มีเงินทุนพร้อมทำวิจัยและพัฒนาจนสำเร็จ อาจจะช้าเกินไปและทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ล้าหลังและไม่สามารถไล่ตามต่างชาติได้ทัน

Cover

ทางออกของปัญหานี้ทาง บริษัท นิภา เทคโนโลยี มองว่า ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล หรือ (National Cloud) เป็นสิ่งสำคัญ โดยมีแนวคิดคือ การเปิดโอกาสให้คนไทย เอกชน ข้าราชการ องค์กรของรัฐ เข้ามาทดสอบหรือสร้างนวัตกรรมได้ในต้นทุนที่ต่ำ โดยที่ภาครัฐลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นพลังการประมวลผล (computing power) และ ที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (storage) ไว้ให้ และเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถเข้ามาทดลองไอเดียได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก ๆ

คำว่าโลกดิจิทัล ถ้าเปรียบเทียบกับโลกปกติการจะพัฒนาประเทศได้ ภาครัฐทำหน้าที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่นทางด่วน ถนน ไฟจราจรต่าง ๆ เอกชนลงทุนค่ารถ น้ำมัน ก็ทำให้เกิดการค้ามากขึ้น เศรษฐกิจมันก็สามารถเติบโตได้ เดิมประเทศไทยใช้เงินลงทุนสร้างถนนปี 2563 ประมาณ 1 แสนล้านบาท และปี 2564 ประมาณ 128,557 ล้านบาท แต่เมื่อเป้าหมายของเราคือการต้องการสร้างนวัตกรรมเพื่อทำเศรษฐกิจดิจิทัล การจัดสรรงบประมาณเพื่อเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในขั้นเริ่มต้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของงบสร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อเริ่มจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประเทศ (national cloud) ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อประเทศและเศรษฐกิจต่อไปในภายภาคหน้า รวมถึงสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13

การที่เราจะสามารถพัฒนา Machine Learning หรือ AI ได้นั้น ต้องใช้ข้อมูลและ computing power ในปริมาณมหาศาล การที่มีที่เก็บข้อมูลส่วนกลางขนาดใหญ่ที่สามารถขยายได้ (Central Scalable Cloud Storage) จะทำให้คนไทยสามารถคิดค้นโมเดลใหม่ ๆ ของ ML/AI ได้อย่างมากมาย โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (digital infrastructure) ที่เราหมายถึงนั้นคือ เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานของการเข้าถึงผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก รวมถึงการมี 3G 4G 5G Fiber-to-home ต่าง ๆ

Cover

บริษัท นิภา เทคโนโลยี มีความประสงค์ให้คนไทยทุกคนเข้าใจถึงแก่นแท้ของโลกดิจิทัล ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นนั้นไม่ใช่ เทคโนโลยีเดิม เช่น 3G 4G ที่เป็น Mobile Internet หรือ Fix-line Internet ที่เป็น wifi แต่คือในพลังในการประมวลผล (Computing power) การเก็บข้อมูล (Storage) เพื่อต่อยอดไปเป็นการสร้าง application หรือ platform ได้ การรับมือกับผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Traffic) เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะในอนาคต ทุกคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากที่ไหนก็ได้ และเมื่อไหร่ก็ได้ทำให้เราต้องมีฐานที่แข็งแรงไว้รองรับ

พลังในการประมวลผล (computing power) และที่เก็บข้อมูล (storage) ต้องพร้อมใช้งานเสมอ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างสูงสุด เทคโนโลยีคลาวด์ที่เป็น Open-source จะสามารถตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ และสามารถปรับลดเพิ่มขนาดตามความต้องการได้อีกด้วย หากเราปล่อยให้ทุกคนหาทรัพยากร (key resource) กันเอง หรือ ต้องพึ่งพิงต่างชาติ แน่นอนว่าต้นทุนในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ จะยังคงสูงอยู่ และทำให้เป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแน่นอน

นอกจากนี้สิ่งที่ทางบริษัท นิภา เทคโนโลยีเล็งเห็นคือการสร้างชุมชนคลาวด์ (Cloud Community) เมื่อเราสามารถเปิดให้ทุกคนเข้ามาใช้ได้ในราคาที่ต่ำ คนไทยที่อยากเรียนรู้หรือทดลองสร้างนวัตกรรมเรื่อง AI สามารถเข้ามาศึกษาได้เลย และถ้าต้นทุนของความล้มเหลวมันต่ำรวมกับการมีข้อมูลส่วนกลางให้ทดลองใช้ ทางบริษัท นิภา เทคโนโลยี ค่อนข้างมั่นใจว่าคนที่เข้ามาจะสามารถร่วมมือกันเป็นทีม และเกิดเป็นการต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมได้ และสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างเต็มภาคภูมิ

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญมาก คือ national cloud storage ในยุคดิจิทัล ทุกจุด ทุกหน่วย ทุกองค์กร เกือบทุกส่วน สร้างข้อมูลขึ้นอย่างมโหฬารแบบที่เราไม่คาดคิดมาก่อนเลย เพราะฉะนั้นเราจะต้องเก็บข้อมูลเยอะมาก ๆ มีข้อมูลมหาศาล ถ้าเราไม่มีที่เก็บข้อมูลไว้ภายในประเทศที่ถูกและเป็นของประเทศไทยเอง ที่เราจะนำไปทำ Analytic, ML, AI, Big Data ได้ ก็จะทำให้ไม่สามารถสร้างนวัตกรรม ใหม่ ๆ เพื่อนำไปคาดการณ์เรื่องแนวโน้มหรือโมเดลที่ทำนายทิศทางของเศรษฐกิจได้ สิ่งสุดท้ายที่มีความสำคัญคือ Data Sovereign หรือ ความเป็นอธิปไตยในข้อมูลของประเทศไทยเอง ถ้าต้องพึ่งพาต่างชาติในการเก็บข้อมูล ความเป็นอธิปไตยของเราจะหายไปทันที

Cover

เหตุการณ์เหล่านี้เริ่มมีแนวคิดในต่างประเทศแล้ว ยกตัวอย่างเช่นในประเทศอเมริกาก็เริ่มมีการออกข่าวเรื่อง national cloud ถ้าเรียกเต็มๆ คือ national research cloud มีเป้าหมายเพื่อรวมนักวิจัย AI, small tech companies มาแชร์ข้อมูลกัน แนวคิดนี้ ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการของรัฐบาลที่นำโดย Eric Schmidt อดีต CEO ของ Google และรวมถึงผู้บริหารจาก Amazon, Microsoft และ Oracle ซึ่งแนะนำให้ Joe Biden ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สร้างศูนย์กลางข้อมูลสำหรับการวิจัย AI ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายที่หลักคือต้องการแข่งขันสู้กับประเทศจีนในด้านการพัฒนา AI

ข้อได้เปรียบที่อเมริกามอง สำหรับ national cloud และ cloud storage คือเป็นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่ปลอดภัย สามารถช่วยฝึกระบบ AI ได้ ชาวอเมริกันเองกลัวว่านักวิจัยจีนนั้นมีจุดแข็งในการพัฒนา AI เพราะประชากรของจีนที่มีมากกว่า 1 พันล้านคน สร้างข้อมูลมโหฬาร เก็บบนฐานข้อมูลส่วนกลางขนาดใหญ่ และพวกเขาสามารถเข้าถึงชุดข้อมูลขนาดใหญ่นี้ ที่รัฐบาลจีนอนุญาตให้เข้าถึงได้ ซึ่งจะสร้างให้นักวิจัยจีนมีความสามารถและศักยภาพที่ก้าวไกลในด้าน AI แซง สหรัฐอเมริกาได้

แนวคิดหลัก คือ อเมริกาต้องการสร้างและพัฒนา AI และการที่จะทำ AI ให้สำเร็จได้ ต้องใช้ข้อมูลมหาศาล เลยจำเป็นต้องสร้าง national research cloud ขึ้นมาเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และ อเมริกาก็ประกาศชัดเจนว่า เขาจะต้องเป็นผู้นำทาง ด้าน technology ต่อไป อย่างต่อเนื่อง

Cover

ในฝั่ง europe เอง รัฐบาลของโมนาโกได้เปิดตัว Monaco Cloud เป็น first sovereign cloud โดยฝ่ายรัฐบาลมีความเชื่อว่าระบบคลาวด์เป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ และเชื่อว่า monaco มีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ ประโยชน์ที่เค้าเชื่อว่าจะได้รับคือ เพิ่มความปลอดภัยในการตรวจสอบและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ อำนาจอธิปไตยทางดิจิทัลผ่านข้อมูลที่เก็บไว้เฉพาะในโมนาโกและรับประกันความใกล้ชิดของบริการ

Pierre Dartout รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งโมนาโก กล่าวว่า “Sovereign Cloud เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ Principality จำเป็นในการรับประกันอำนาจอธิปไตย ความปลอดภัย และความน่าดึงดูดของประเทศเค้าในโลกที่กลายเป็นดิจิทัล และคลาวด์จะมีความสำคัญต่อรัฐบาลในฐานะส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงและความทันสมัย”

เรื่องข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากเช่นประเทศจีน ที่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางทั้งหมด ทำให้สามารถทำ AI ได้ และพยายามจะบุกตลาดคลาวด์ประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น Alibaba ก็มีแผนที่จะบุก ตลาดประเทศไทย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ในปี 2565 นี้

แล้วสำหรับประเทศไทย บริษัท นิภา เทคโนโลยี มีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าอุตสาหกรรมคลาวด์นั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ควรมีการปกป้องไว้ให้เป็นของคนไทย และข้อมูลของคนไทยนั้นไม่ควรไปตกอยู่ในมือของชาวต่างชาติ หรือ การที่เราต้องไปพึ่งพิงชาวต่างชาติเพื่อหาที่เก็บข้อมูล หากเราลองสังเกตบนโลกอินเทอร์เน็ตมีหลายวงการที่เราโดนชาวต่างชาติยึดไปและไม่สามารถนำกลับมาเป็นของคนไทยได้อีก อาทิ วงการการสื่อสาร Social media ที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็ล้วนแต่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ หากเราต้องการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง ขั้นแรกในการเตรียมพร้อมคือ การมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเพื่อให้คนไทยสามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่

หากมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (digital infrastructure) เตรียมพร้อมไว้ และกระตุ้นให้คนเข้ามาทำการทดลอง จะสามารถทำให้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน เราต้องเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องคน และ โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ถ้าเรายิ่งช้าต้นทุนที่แพงที่สุด คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส ถ้าเราไม่เริ่มวันทำวันนี้ และต่างชาติทำได้สำเร็จก่อนและส่งเทคโนโลยีเข้ามาขายในประเทศไทย เม็ดเงินที่ไหลออกนอกประเทศนั้นจะมีมูลค่าสูงจนไม่สามารถประเมินได้

  • สอบถามการย้ายข้อมูลสู่คลาวด์กับ NIPA Cloud
  • ออฟฟิศ: +66 2 107 8251 ต่อ 444, 416, 417
  • โทร (TH): +66 8 6019 4000
  • โทร (EN): +66 8 1841 4949
  • เว็บไซต์: https://www.nipa.cloud/
  • LINE: @NipaCloud
  • Email: [email protected]
  • Inbox: http://m.me/nipacloud

For more information,

Contact our Sales