Backup Solution คืออะไร
Backup หรือ การสำรองข้อมูล คือการทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ยังสถานที่เก็บอื่นเพื่อให้สามารถกู้คืนได้หากเกิดข้อมูลต้นฉบับนั้น ๆ เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะจากความขัดข้องของระบบ ความผิดพลาดของผู้ใช้งาน การถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือแม้กระทั่งเหตุไม่คาดฝันจากภัยพิบัติ
Backup Solution ในที่นี้ คือการออกแบบระบบเพื่อการ backup data หรือสำรองข้อมูลทางดิจิทัลให้เหมาะสมกับการการใช้งานและรูปแบบของข้อมูลประเภทต่าง ๆ โดยใช้ Backup Software (ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูล) ช่วยในการทำงาน ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำสำเนาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ ไฟล์ โฟลเดอร์ ระบบปฏิบัติการ ระบบทั้งหมด หรือแอปพลิเคชัน เพื่อให้สามารถกู้คืนได้หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ รวมถึงช่วยในการทำ disaster recovery
ทำไมต้องใช้ Backup Solution
ป้องกันข้อมูลองค์กรสูญหาย
ให้คำปรึกษาและดำเนินการ
โดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
ข้อมูลได้รับความคุ้มครอง
ภายใต้กฎหมาย PDPA
บริการ Backup Solution จาก NIPA Cloud
ในการทำ backup ของเรา จะใช้ Veeam Backup & Replication เป็นซอฟต์แวร์ในการจัดการสำรองข้อมูลและส่งข้อมูลไปยัง Cloud โดยรูปแบบการทำ backup solution ของ NIPA Cloud ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ Active-Standby 2 แบบ และ Active-Active 1 แบบ ดังนี้
DC-DR Solution (Active - Standby) แบบที่ 1
การทำ backup แบบ Active-Standby หรือการทำ DC-DR แบบที่ 1 คือการสำรองข้อมูลจาก server เก็บไว้บน Cloud ของ NIPA โดยติดตั้ง Veeam Backup สำหรับจัดการงานสำรองข้อมูล ซึ่งจะเก็บเป็นไฟล์ backup ไว้ หาก active site ล่ม จะสามารถนำ boost ไฟล์ backup ที่ standby site ได้
DC-DR Solution (Active - Standby) แบบที่ 2
การทำ backup แบบ Active-Standby หรือการทำ DC-DR แบบที่ 2 รูปแบบค่อนข้างคล้ายกับแบบแรก คือ ติดตั้ง Veeam Backup สำหรับจัดการงานสำรองข้อมูล และเป็นไฟล์ Backup บน Cloud ของ NIPA เช่นเดียวกัน ส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ มีการสร้าง instance และ boost ไฟล์ backup ดังกล่าวไว้ โดยไม่เปิดใช้งานเครื่อง instance ไว้ หาก active site ล่ม จะใช้เวลา boost standby site น้อยกว่าแบบที่ 1
Active - Active Solution
การทำ backup แบบ Active-Active จะแบ่ง resource (specification) ของ server ครึ่งหนึ่งไว้ที่ site ของผู้ใช้งานและอีกครึ่งหนึ่งไว้ที่ Availability zone ของ NIPA Cloud ทั้ง 2 แห่ง โดยใช้ Cloudflare DNS Load Balance กระจาย Traffic ให้ทั้งสองฝั่งเพื่อเพิ่มความเสถียรหรือ SLA ดังนั้นแล้ว หาก site ใดล่ม อีก site หนึ่งจะยังทำงานได้ตามปกติโดยไม่เกิด downtime เพียงแต่เมื่อ site หนึ่งต้องรับโหลดมากขึ้น อาจส่งผลต่อ performanance ของระบบเล็กน้อย