หมดปัญหาข้อมูลหาย ด้วยโซลูชันการสำรองข้อมูล 'Backup Solution' จาก NIPA Cloud
Backup Solution คืออะไร?
Backup software (ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูล) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาไฟล์และโฟลเดอร์ หรือระบบทั้งหมดของคุณ รวมถึงระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน และข้อมูล แอปพลิเคชันขั้นสูง (advanced application) ซึ่งช่วยให้คุณสำรองข้อมูลได้หลายรายการ ดังนั้น หากข้อมูลสำรองข้อมูลหนึ่งเสียหายหรือใช้งานไม่ได้ คุณก็จะมีอีกข้อมูลหนึ่งสำหรับกู้คืนข้อมูลและ/หรือระบบของคุณ
Backup Solution สำคัญยังไง?
ในยุคปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการพัฒนาองค์กรและธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ มีอัตราการใช้งานข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ และหากข้อมูลองค์กรเกิดสูญหายหรือรั่วไหล ก็จะสร้างความเสียหายแก่องค์กรเป็นอย่างมาก ทำให้องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องสำรองข้อมูลเอาไว้ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และป้องกันความท้าทายทางธุรกิจ (business challenge) ที่อาจกระทบธุรกิจหลายส่วน อาทิ
1. Risk security
ไวรัส การลบโดยไม่ได้ตั้งใจ ตลอดจนการดำเนินการอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายจะทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างมาก หน่วยงานภาครัฐ การเงิน การแพทย์ และภาคการศึกษาจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเพื่อการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
2. Local data center
การใช้งานการสำรองข้อมูลบนคลาวด์จากศูนย์ข้อมูลของคุณเองจะเกี่ยวข้องกับต้นทุนการดำเนินงานจำนวนมาก ตั้งแต่การบำรุงรักษาห้องอุปกรณ์ การใช้พลังงาน การทำความเย็น และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรราคาแพงเหล่านี้ถูกนำมาใช้น้อยเกินไป
3. Reduce time
โดยทั่วไปจะใช้เวลา 3-6 เดือนในการจัดหาและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของคุณให้เสร็จสมบูรณ์ เวลาในการสร้างที่ยาวนานเช่นนี้ลดความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อพลวัตทางธุรกิจและการเติบโตของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
4. Operation and maintenance
การผสมซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลและเก็บถาวร เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์เครือข่าย เทปไลบรารี และส่วนประกอบอื่น ๆ จากผู้จำหน่ายหลายรายจะส่งผลให้ระบบไอทีซับซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีมาดำเนินการ แม้แต่ O&M ที่ทำเป็นประจำ
การสำรองข้อมูลและการกู้คืนระบบเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจของคุณ NIPA Cloud จึงมุ่งมั่นที่จะจัดหาโซลูชันที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการสำรองข้อมูลมีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปดูถึงความแตกต่างของแต่ละรูปแบบกัน
ประเภทของ Backup Solution
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ backup solution กันก่อน โดย backup solution ประกอบด้วย การ backup ทั้ง file-level backup, VMs-level backup (entire computer) และ database-level backup
โดยปกติแล้ว วิธีการ backup จะเป็นการสำรองข้อมูลระบบต่าง ๆ อาทิ AD Server, File Server, application, database, SMTP-Server และ website โดย Veeam Backup & Replication เป็นตัวจัดการงานสำรองข้อมูลและส่งข้อมูลไปยังคลาวด์ ซึ่งในไซต์ของลูกค้าเองจะต้องมีการติดตั้ง Veeam ที่มีการตั้งค่า service provider ของทาง NIPA Cloud เพื่อสำรองข้อมูล และฝั่ง NIPA Cloud เองก็จะต้องมีการสร้าง instance เพื่อใช้เป็นที่เก็บข้อมูล โดยจะมีการเชื่อมต่อ กับ storage ในการเก็บข้อมูล จากตัวอย่าง คือ NIPA Cloud ได้ backup และเก็บข้อมูลผ่าน VM ตัวดังกล่าว โดยมี storage ขนาด 2 TB เชื่อมต่ออยู่
ซึ่งรูปแบบปกติของการทำ backup solution สำหรับ NIPA Cloud ในปัจจุบันจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ Active-Standby จำนวน 2 แบบ และ Active-Active จำนวน 1 แบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
DC-DR Solution (Active-Standby #1)
ในการทำโซลูชัน Active-Standby รูปแบบที่ 1 หรือ DC-DR คือ การสำรองข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ของลูกค้ามาเก็บไว้ที่คลาวด์ของ NIPA Cloud โดยจะมีการติดตั้ง Veeam Backup & Replication ที่มีการตั้งค่า service provider ของ NIPA Cloud ซึ่งเป็นตัวจัดการงานสำรองข้อมูล โดยจะเก็บเป็นไฟล์ backup ไว้ หากเกิดเหตุการณ์ในกรณี active site ล่มไป ก็จะใช้ระยะเวลาในการบูสต์ standby site ขึ้นมาที่นานกว่าอีก 2 รูปแบบ แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าในอีก 2 รูปแบบ
DC-DR Solution (Active-Standby #2)
ในการทำโซลูชัน Active-Standby รูปแบบที่ 2 หรือ DC-DR (Active-Standby) จะคล้ายกับแบบแรก คือ มีการติดตั้ง Veeam Backup & Replication ที่มีการตั้งค่า service provider ของ NIPA Cloud ซึ่งเป็นตัวจัดการงานสำรองข้อมูล โดยจะเก็บเป็นไฟล์ backup มายังคลาวด์ของ NIPA Cloud แต่จะดำเนินการสร้าง instance และ shutdown ไว้ ซึ่งในกรณี active site ล่ม จะใช้เวลาบูสต์ standby site น้อยกว่ารูปแบบที่ 1 แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารูปแบบที่ 1 เนื่องจากมีการเปิด instance เอาไว้
Active-Active Solution
กรณีสุดท้าย คือ การทำโซลูชัน Active-Active หรือการแบ่ง resource (specification) ของเซิร์ฟเวอร์ครึ่งหนึ่งไว้ที่ไซต์ลูกค้า และอีกครึ่งไว้ใน availability zone ทั้งสองแห่งของ NIPA Cloud เช่น แต่เดิมใช้ specification เป็น 4 vCPU, 8 GB RAM เมื่อเราใช้โซลูชัน Active-Active จะกลายเป็นว่า ที่ไซต์ของลูกค้าจะแบ่งเป็น 4 vCPU, 8 GB RAM และที่ไซต์ของ NIPA Cloud อีก 4 vCPU, 8 GB RAM โดยจะให้ Cloudflare DNS Load Balance เป็นตัวกระจาย traffic ให้วิ่งทั้งสองฝั่ง ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่ม SLA ให้สูงขึ้น โดยวิธีการนี้ หากไซต์หนึ่งล่ม อีกไซต์หนึ่งก็จะยัง active ใช้งานได้ตามปกติ แต่ต้องรับโหลดมากขึ้น ทำให้ในรูปแบบนี้ไม่เกิด downtime แต่ performance จะดร็อปลง แต่ก็ยังคงใช้งานได้ รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่เหมาะที่สุดสำหรับระบบที่ต้องการ SLA หรือความเสถียรที่สูง อย่างไรก็ตาม ข้อดีอีกประการของโซลูชัน Active-Active คือ สามารถลดค่าใช้จ่าย instance จากรูปแบบที่ 2 ได้
หากองค์ของเลือกทำ Active-Standby รูปแบบที่ 2 และมีการออกแบบให้วางระบบ main site 100% และ backup site 100% นั่นหมายความว่า ธุรกิจของคุณจะมีค่าใช้จ่าย instance ถึง 200% แต่หากวางระบบแบบ Active-Active คุณจะสามารถวางระบบ active site แห่งแรก 50% และไซต์อีกแห่ง 50% นั่นหมายความว่า ค่าใช้จ่ายของ instance ทั้งหมดจะเท่ากับ 100% หรือถูกกว่าการวางแบบ Active-Standby ถึง 50% อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าใช้จ่าย load balancer และค่า request ต่าง ๆ อาจเพิ่มเข้ามา ซึ่งหากระบบมีขนาดใหญ่ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากในการทำ Active-Active
บริการของเรา
NIPA Cloud ให้บริการ backup solution ทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ Active-Active และ Active-Standby ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของลูกค้า โดยคุณสามารถใช้งานที่ไซต์ของตัวเองแล้ว backup มาที่ NIPA Cloud หรือใช้งานหลักที่ไซต์ NIPA Cloud และ backup กลับไปที่ไซต์ของตัวเองก็ได้
NIPA Cloud พร้อมให้บริการ backup solution กับองค์กรธุรกิจทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มความเสถียรให้แก่ระบบในราคาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนาดเล็กหรือระบบขนาดใหญ่
NIPA Cloud วิจัยและพัฒนาคลาวด์ด้วยตัวเองมากว่า 6 ปี ด้วยทีมงานชาวไทยที่มีคุณภาพและประสบการณ์สูง เพื่อให้เทคโนโลยีคลาวด์ของไทยนั้นมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับต่างชาติในราคาที่เข้าถึงได้ เราไม่หยุดพัฒนาเพียงเท่านี้อย่างแน่นอน ครั้งหน้า NIPA Cloud จะมาพร้อมโซลูชันอะไรอีกนั้น โปรดติดตาม สนับสนุน และเป็นกำลังใจให้เราพัฒนาคลาวด์ เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจไทยในยุคดิจิทัลต่อไปในอนาคต
I'm interested in learning new things, especially business and investment.