Global Cloud vs Local Cloud เปรียบเทียบ Cloud Computing ที่คนไทยนิยมใช้
Global Cloud vs Local Cloud เปรียบเทียบ Cloud Computing ที่คนไทยนิยมใช้ในปี 2022
Cloud Computing กลายเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานในช่วง Work from home ที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา เนื่องจากหลายองค์กรต้องทำงานจากที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง Cloud Computing สามารถตอบโจทย์การทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา
แต่การใช้งาน Cloud Computing ก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ หลายฟีเจอร์ และมีหลายผู้ให้บริการ ดังนั้นองค์กรจึงควรทำความรู้จักกับแต่ละแบรนด์ก่อนเริ่มต้นใช้งานคลาวด์อย่างถี่ถ้วน โดยผู้ให้บริการ Cloud Comptuing จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้
Global Cloud เป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก จึงมีระบบที่มีขนาดใหญ่ และฟีเจอร์ที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่มักมี Data Center ที่ต่างประเทศ ทำให้ผู้ใช้ในประเทศไทยมีอุปสรรคด้านการใช้บริการ การติดต่อ รวมถึง Network ที่เชื่อมต่อได้ยากลำบาก ซึ่งรวมถึงปัญหาการเข้าใช้งานที่อาจทำให้มี Secure ลดลงอีกด้วย
Local Cloud เป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing ที่มี Data Center อยู่ภายในประเทศ การใช้งานมีลักษณะคล้ายกับ Global Cloud ซึ่งมีฟีเจอร์ที่หลากหลายและเทียบเท่ากับฟีเจอร์ใน Global Cloud แต่ผู้ให้บริการแต่ละเจ้า ก็อาจมีฟีเจอร์ที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีข้อดีคือการใช้งานที่ปลอดภัย เสถียร และสามารถดูแลผู้ให้บริการภายในประเทศได้ดีกว่า เนื่องจากทีมงาน Develop สามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วและสะดวกกว่า
ก่อนอื่นเราลองทำความรู้จักกับ Global Cloud กันก่อน ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Microsoft Cloud, Azure Cloud, Amazon Cloud, Huawei Cloud, Aws, Google Gloud, Tencent, Alibaba cloud, Onedrive ซึ่ง Cloud เหล่านี้ล้วนมีทั้ง Cloud ที่เปิดให้บริการมานานหลายปี รวมถึง Cloud ที่เป็นน้องใหม่และแซงหน้าหลาย ๆ แบรนด์ดังไปแล้ว วันนี้เราจะลองมาดูกันว่า Cloud เจ้าไหนที่คนไทยนิยมใช้ในปี 2021 และมีความแตกต่างกันอย่างไรในการใช้งานกันบ้าง
1. Global Cloud
AWS (Amazon Web Services)
แพลตฟอร์มผู้ให้บริการ Cloud Computing มาเป็นเวลานาน ด้วยบริการที่หลากหลายและครอบคลุมกว่า 175 บริการ เช่น ด้าน Analytic, Blockchain, Game, Internet of Things, Machine Learning, Quantum Technology ทำให้สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี
- ฟีเจอร์ที่ให้บริการ
- บริการ The instances of virtual servers และ Virtual machines.
- ESC สำหรับการจัดการ Docker management
- Glacier archive storage
- บริการ Amazon cloud search
- วิเคราะห์ข้อมูลโดย Amazon Kinesis
- AWS ops work and config สำหรับบริการระบบอัตโนมัติ
ด้านราคาและค่าบริการ สามารถซื้อได้ตามแบบ On-demand เลือกบริการและคิดค่าใช้จ่ายตามจริง หรือคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง
ด้านความปลอดภัย มีฟีเจอร์ AWS cloud HSM และ AWS key management service สำหรับข้อมูลความปลอดภัย
Microsoft Azure
บริการ Cloud Computing จาก Microsoft ซึ่งมีฟังก์ชันและฟีเจอร์ย่อยหลากหลาย เรียกได้ว่าเป็นบริการ Cloud Server ที่ครบครันเจ้าหนึ่ง ทั้งเครื่องมือด้าน AI, Machine Learning, Blockchain, DevOps, Internet of Things, Storage, Web และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย
- ฟีเจอร์ที่ให้บริการ มีตั้งแต่บริการ The virtual hard disks ที่ช่วยสร้าง Instance ได้ครบครัน รวมถึงต่อยอดเป็นการทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น
- Container service สำหรับการจัดการ Docker management
- บริการ Azure arc Container service สำหรับการจัดการ Docker management
- Azure archive storage
- บริการ Azure search
- วิเคราะห์ข้อมูลโดย Azure stream analytics
- Azure automation สำหรับบริการระบบอัตโนมัติ
ราคาและค่าบริการ สามารถซื้อได้ตามแบบ On-demand แบบระยะสั้น (short termed commitments) และคิดค่าบริการเป็นรายนาที
ด้านความปลอดภัย มีบริการ Azure trust center และ Azure key vault สำหรับข้อมูลความปลอดภัย
Google Cloud Platform
ผู้ให้บริการ Cloud Server จาก Google ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งมีฟีเจอร์การทำงานที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดใหญ่อยู่แล้ว จึงทำให้มีบริการที่หลากหลายไม่แพ้ Azure หรือ AWS
- ฟังก์ชันหรือฟีเจอร์ที่ให้บริการ มีบริการพื้นฐาน The virtual machine instances และ Google container engine สำหรับการจัดการ Docker management นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่หลากหลาย เช่น
- บริการ Cold line archive storage
- ไม่มี search service
- วิเคราะห์ข้อมูลโดย Cloud dataflow และ Cloud data prepare
- บริการ google cloud และ compute engine management พร้อมด้วย the puppet, chef และอีกมากมาย สำหรับบริการระบบอัตโนมัติ
ด้านราคาและค่าบริการ สามารถซื้อได้ตามแบบ On-demand แบบระยะยาวใช้งานต่อเนื่อง (sustain use) และคิดค่าบริการเป็นรายนาที
ด้านความปลอดภัย มีฟีเจอร์ Google’s cloud platform security สำหรับข้อมูลความปลอดภัย
Alibaba Cloud
ผู้ให้บริการ Cloud Computing ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน โดยมีจุดเด่นคือฟีเจอร์สำหรับให้ผู้ใช้สามารถสร้าง AI สำหรับทั้งองค์กรและนักพัฒนาทั่วโลก
ฟีเจอร์ที่ให้บริการ มีหน้า UX/UI ที่สามารถใช้งานได้ง่าย แต่การดำเนินการระหว่างผู้ใช้ในไทยอย่างอาจติดข้อจำกัดทางด้านกฎหมายของประเทศจีน หรือ Server Location อื่น ๆ ก็มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
ด้านราคาและค่าบริการ มีบริการฟรีตลอดชีพ เช่น Alibaba Container Service, Auto Scaling, Anti-DDoS Basic ค่าบริการแบ่งตามกลุ่มและสเปคที่ปรับเลือกได้ของแต่ละบริการตามการใช้งานจริง เช่น Elastic Compute Service
Huawei Cloud
ผู้ให้บริการ ICT infrastructure โดยมีจุดเด่นด้านแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนา AI ที่มีประสิทธิภาพ และมีบริการด้าน Cloud ที่มีฟีเจอร์จำนวนมาก
ฟีเจอร์ที่ให้บริการ มีบริการครอบคลุมในหลายด้าน เช่น Compute, Storage, Network, Database, AI
ด้านราคาและค่าบริการ สามารถใช้บริการหลายอย่างได้ฟรีนาน 12 เดือน เช่น Huawei Elastic Cloud Server, Elastic IP, Cloud Backup and Recovery ในส่วนของบริการที่มีค่าใช้งานจะคิดตามประเภทบริการและสเปคที่เลือกใช้งาน เช่น Huawei Elastic Cloud Server
2. Local Cloud
NIPA Cloud หนึ่งในผู้ให้บริการ Local Cloud ที่ดีที่สุดในไทย กับโซลูชันการทำงานที่ครบครัน ทั้ง Public Cloud สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป Private Cloud สำหรับองค์กรธุรกิจ หรือ Hybrid Cloud สำหรับผู้ใช้งานหรือองค์กรที่ใช้ Cloud หลากหลาย สามารถทำงานบน NCP ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงานคนไทยผู้เชี่ยวชาญ จากการพัฒนาขึ้นโดย OpenStack ซึ่งเป็น Open-Source Software ระดับโลกจากองค์การ NASA ที่มีนักพัฒนาใช้งานทั่วโลก
NIPA Cloud Platform
NIPA Cloud Platform (NCP) เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่สำหรับสร้างระบบ Cloud Computing ที่สามารถพัฒนาเป็นโซลูชันได้หลากหลาย พร้อมด้วย Features ต่าง ๆ ครบครัน เช่น One-Click-App Marketplace, Private Network, Load Balance และ VPN โดยแพลตฟอร์มมีการเชื่อมต่อกับระบบ OpenStack API ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายสะดวก ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับองค์กร อีกทั้งยังมีระบบ billing แบบ pay-as-you-go และ สำหรับ Admin staff เพื่อการบริหารระบบคลาวด์และการทำ Capacity Planning
Trust and Security
NIPA Cloud จัดเก็บข้อมูลอยู่ภายในศูนย์ให้บริการ Data Center ที่มีการออกแบบโครงสร้างของ Internet Data Center ให้มีขีดความสามารถการให้บริการระดับ Tier III รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO/IEC 27001, ISO/IEC 29110 รวมถึงมาตรฐานการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) 99.9% ซึ่งเป็นข้อตกลงในการให้บริการว่าบริษัทฯ จะรักษาระดับคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าตามที่ตกลงไว้กับลูกค้า
ระบบสำรองไฟฟ้า ขนาดใหญ่ระดับ 120 kVA และ 200 kVA แบบ Modular UPS ซึ่งมีกำลังจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้แก่เครื่อง Servers จำนวนมากกว่า 1,000 เครื่อง และครอบคลุมมากกว่า 50 ตู้ Rack และการให้บริการที่เป็นส่วนตัว มีการรักษาความลับ ความปลอดภัยของข้อมูลตามมาตราฐาน ISO 27001:2013 เช่น Application Server, Live Broadcast Server, Web Server, Mail Server เป็นต้น พร้อมมีทีมบริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง
NIPA Enterprise Public Cloud โซลูชันสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้ Public Cloud โดยสามารถตอบโจทย์การทำงานในระดับองค์กรได้ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้ Multi-Cloud ช่วยเพิ่มขีดจำกัดความสามารถของการใช้ Cloud ให้เพิ่มมากขึ้น โดยสามารถใช้โซลูชันอื่นๆ เช่น Disaster Recovery, High Availability, Load Balance- as-a-Service (LBaaS), Object Storage หรือ Database-as-a-Service (DBaaS) ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลาย พร้อมกันนี้ยังได้มีการปรับเปลี่ยนด้าน Network และ Security ให้แข็งแกร่งและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้งานจึงสามารถสบายใจได้เกี่ยวกับการโจรกรรมทางไซเบอร์ที่ในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นเทียบเท่ากับการใช้งาน Global Cloud ในระดับโลกได้
We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.