Tech Knowledge

Digital Transformation ความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายทุกธุรกิจ

Published : November 18, 2019Time : 3 min read

ในยุคที่บทบาทของเทคโนโลยีเริ่มมีมากขึ้น ธุรกิจส่วนใหญ่ก็พบเจอกับความเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัล หรือ “Digital Transformation” แต่ในหลาย ๆ ครั้ง มักจะเป็นที่สงสัยว่าคำนี้หมายถึงอะไร? และ ธุรกิจ SMEs ควรปรับตัวอย่างไรในยุคดิจิทัล

Digital Transformation ความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายทุกธุรกิจ

หลาย ๆ คนคงนึกภาพว่าการปรับตัวธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล หรือ “Digital Transformation” ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างเว็บไซต์ หรือ การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือ ใช้เทคโนโลยีเพียงจัดเก็บข้อมูล และ ลดความเสี่ยงต่อแฮกเกอร์ ซึ่งนั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดของ “Digital Transformation”

Digital Transformation คืออะไร?

“Digital Transformation” คือ การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการทางธุรกิจในการปรับปรุง จากโครงสร้างของกระบวนการทำงาน และ แนวคิดขององค์กร ตั้งแต่ ผู้นำองค์กร จนถึง บุคลากรภายในองค์กร รวมถึงขยายบริการและผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีไปสู่โลกดิจิทัล

จากการวิจัยของ Bain & Company รายได้ขององค์กรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 14% ระหว่างปี 2558-2560 (มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีในธุรกิจอุตสาหกรรมเดียวกัน) Bain & Company กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลกำไรตามรูปแบบที่คล้ายกัน – 83% ขององค์กรที่ทำ Digital Transformation อัตรากำไรเพิ่มขึ้น ในขณะที่องค์กรที่ยังไม่ได้ทำมีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง

อีกความเชื่อผิด ๆ ของกลุ่มคน คือ Digital Transformation เป็นเรื่องขององค์กร หรือ ธุรกิจ ขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงองค์กรทุกขนาด และ ทุกอุตสาหกรรมกำลังยอมรับความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

ธุรกิจขนาดเล็กกับ – Digital Transformation

การสำรวจล่าสุดของหน่วยงานวิจัยด้านไอที พบว่า มีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กถึง 1,600 แห่ง มีเพียง 18% เท่านั้นที่ไม่ได้มีรูปแบบการทำ Digital Transformation นั่นหมายถึง 82% ของ SMB อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลแล้ว – Anurag Agrawal CEO ของ Techaisle กล่าว

การใช้เทคโนโลยีเป็นรากฐาน คือส่วนสำคัญขององค์กรที่ปรับตัวสำหรับ Digital Transformation จากการวิจัยของ Agrawal พบว่า 42% ของ SMB กำลังสร้างมุมมองแบบองค์รวมที่เกิดเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล คือ การมองกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของธุรกิจ และ เชื่อว่าการปรับตัวทางดิจิทัลต้องกลายเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์องค์กร

“โครงสร้าง” ขององค์กรคือส่วนสำคัญ ของ Digital Transformation

หลาย ๆ องค์กรที่ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation ได้เกิดความคิดแบบองค์รวม และ รอบคอบมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร โดยในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลมี 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่ควรให้ความสำคัญ

1. สร้างสรรค์พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ

ขั้นแรกให้ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร โดยต้องเข้าใจก่อนว่า Digital Transformation ไม่ได้เป็นเพียงการเทคโนโลยีแบบใหม่เท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับงบประมาณขององค์กรด้วย เพราะ โครงสร้างขององค์กรในยุคดิจิทัลต้องมีงบประมาณเพื่อใช้จ่ายทางด้านไอที เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร

ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม E-Commerce ของธุรกิจที่มีการใช้งานที่ยาก และ สร้างความสับสนกับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่กดซื้อสินค้า และทิ้งสินค้าในตะกร้า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มไปสู่ยุคดิจิทัล แต่อาจจะไม่สามารถการันตีได้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการขายและการตลาดหรือไม่ หรือ องค์กรจะมีความพยายามในการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น ว่า Digital Transformation ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเพิ่มขึ้น หรือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว หรือองค์กรไม่สามารถปรับตัวในยุคดิจิทัลได้จากการพัฒนาแผนกไอทีเพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำองค์กรที่จะสร้างความสัมพันธ์ทั่วทั้งองค์กร เพื่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานในสอดรับกับยุคดิจิทัล

“Data” – กุญแจสำคัญของ Digital Transformation

2. ถอดรหัสความสำเร็จจาก “Data”

ลำดับต่อมา องค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลทางดิจิทัลที่ให้บริการ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ร้านกาแฟที่ให้บริการ Wi-Fi ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะชอบการใช้งาน Wi-Fi ที่ร้านกาแฟ แต่ถ้าร้านกาแฟสามารถสร้างข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการใช้งาน, พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า, อุปกรณ์ที่ลูกค้าใช้งาน และอื่นๆ “ข้อมูล” ที่ได้มาสามารถใช้ในการปรับปรุงการบริการ หรือ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงกลยุทธ์ในการทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำอีกด้วย

“ข้อมูล” ยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น ความท้าทายของการจัดการข้อมูลยิ่งมากขึ้นด้วย ซึ่งข้อมูลขนาดใหญ่จะสามารถบ่งชี้ลำดับความสำคัญในการจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กร รวมถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และ ข้อผิดพลาดภายในกระบวนการทำงาน โดยจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นในการสร้างความสัมพันธ์ของคู่ค้า และ พนักงาน ที่จะสร้างจุดแข็งภายในองค์กรให้มีมากขึ้นด้วย

3. สิ่งสำคัญ คือการช่วยให้ระบบธุรกิจสามารถสื่อสารกันผ่านทาง API ซึ่ง Michael Schrage ของ MIT อธิบายว่า “เส้นทางสำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ คือ การทำงานพัฒนาระบบที่สามารถทำงานร่วมกันเป็นแพลตฟอร์ม”

สำหรับ Digital Transformation การเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่สนใจ และ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในหลายอุตสาหกรรมที่รวดเร็ว รวมถึงมีการอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา การปรับเปลี่ยนนี้อาจจะเป็นชัยชนะในครั้งแรกที่จะนำไปสู่ชัยชนะขององค์กรภายในอนาคต ซึ่งระบบดิจิทัลนี้เป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำหรับในระยะยาว ทาง Nipa Cloud จึงเล็งเห็นและให้ความสำคัญกับแนวคิด Digital Transformation อย่างมาก เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจ ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และเน้นความปลอดภัยของข้อมูลเป็นหลัก เราจึงมีบริการ Cloud Services ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างระบบปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เน้นความรวดเร็ว ปลอดภัย ตอบสนองเป้าหมายขององค์กรได้ดีที่สุด

ที่มา BizTech by Talia Colwell

เริ่มต้นการย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์กับ NIPA Cloud วันนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกองค์กร
AUTHOR
Author
NIPA Cloud
Writer

We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.