Tech Knowledge

IoT, IIoT และ AIoT เทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับชีวิตในโลกยุคดิจิทัล

Published : November 25, 2022Time : 3 min read

กว่าโลกจะเดินทางมาสู่ศตวรรษที่ 21 ก็เกิดการปฏิวัติต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสศตวรรษที่ 16-17 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18-19 การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งการปฏิวัติเหล่านี้ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในศตวรรษที่ 21 จนเกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (digitalization) หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า ‘ยุคดิจิทัล’ (digital era) ตัวอย่างของการพัฒนาดังกล่าว เช่น machine learning, deep learning, ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Internet of Things (IoT)

Internet of Things (IoT)

Internet of things หรือ IoT เดิมทีเป็นแนวคิดของ Kevin Ashton ที่ภายหลังทั่วโลกให้สมญานามว่าเป็น บิดาแห่ง IoT ในปี 1999 ขณะที่เขาทำงานวิจัยอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology: MIT) เขาได้นำเสนอโครงการ Auto-ID Center พร้อมขึ้นบรรยายและพูดถึง IoT เป็นครั้งแรก โดยเขาได้นิยามว่า IoT คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมา ตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็มีการผลิตอุปกรณ์ที่มีแนวคิดของแอชตันมากมาย หรือที่เรารู้จักกันในชื่ออุปกรณ์แบบ ‘สมาร์ท’ (smart) หรืออุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น smart TV, smart home, smart phone และ smart watch เป็นต้น โดยอุปกรณ์สมาร์ทเหล่านี้ผลิตมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในยุคที่โทรศัพท์ไม่ได้มีไว้เพียงแค่โทรออก-รับสาย โทรทัศน์ไม่ได้มีไว้เพียงฉายรายการจากสถานีต่าง ๆ และไม่ใช่เพียงแค่ IoT ในชีวิตประจำวันของเราเท่านั้น แต่ IoT ยังครอบคลุมไปถึงการทำงานทั้งในระดับออฟฟิศและระดับอุตสาหกรรม ที่จะมาช่วยให้กิจกรรมของมนุษย์นั้นเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย สร้างสภาพแวดล้อมไร้พรมแดนสุดล้ำที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการทำงานแบบใหม่ เหมาะกับยุคสมัยแห่งดิจิทัลในปัจจุบัน

Industrial Internet of Things (IIoT)

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี IoT ที่ไม่ใช่สิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ก็ต้องพูดถึง IoT อุตสาหกรรม หรือ Industrial Internet of Things (IIoT) อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเทคโนโลยี IoT ได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมมนุษย์ในทุกมิติ ในแง่ของการทำงานระดับอุตสาหกรรม IIoT มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้อย่างอัจฉริยะ ตั้งแต่การบันทึกและนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ในรูปแบบของเซ็นเซอร์ไปจนถึงอุปกรณ์ขนาดใหญ่ ลดกำลังคนที่ไม่จำเป็น และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์กรอีกด้วย

ปัจจุบัน เทคโนโลยี IIoT ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น

อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing)

ในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการใช้อุปกรณ์เครื่องจักรจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการมอนิเตอร์และคาดการณ์การใช้งานเครื่องจักรที่แม่นยำและเรียลไทม์ ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยพนักงานผ่านอุปกรณ์เสริม เทคโนโลยี IIoT จึงมีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิตที่ค่อนข้างหลากหลาย

อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automobile)

การใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับสภาพรถยนต์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถซ่อมแซมระบบรถยนต์ที่เสียหายได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เซ็นเซอร์ดังกล่าวจะทำให้เรารู้ว่ารถยนต์เกิดความเสียหายบริเวณไหนบ้างผ่านภาพจำลอง 3 มิติ จากนั้นก็เปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ให้โดยอัตโนมัติ ทำให้การทำงานง่ายขึ้นแบบไม่ต้องเสียเวลาและกำลังคนโดยใช่เหตุ

อุตสาหกรรมการเกษตร (Agriculture)

หากคุณเคยรดน้ำต้นไม้ในไร่ขนาดกว้างหลายตารางเมตร หรือต้องตรวจสอบสภาพต้นไม้ทีละใบอย่างละเอียด ที่ใช้เวลาเป็นวัน ๆ แถมยังเสียแรงกายค่อนข้างมาก เทคโนโลยี IIoT ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างชาญฉลาด ด้วยการติดเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์บริเวณแปลงพืชผัก เรือนกระจก หรือไร่สวนของคุณ เพียงเท่านั้นก็จะประหยัดแรงและเวลาเพื่อไปทำอย่างอื่นได้อีกมากมาย

อุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transport and Logistics)

เทคโนโลยี IIoT มีความสำคัญอย่างมากกับอุตสาหกรรมนี้ เพราะมีบทบาทตั้งแต่การจัดการซัพพลายเชน การติดต่อผู้ค้า การจัดการสินค้าคงคลังและยานพาหนะ นอกจากนี้ ยังช่วยเรื่องกำหนดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ การติดตามการขนส่ง การควบคุมอุณหภูมิตู้คอนเทนเนอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

Artificial Intelligence of Things (AIoT)

เมื่อเรารู้จัก IoT และ IIoT แล้ว สิ่งใหม่ล่าสุดที่ควรรู้จักเพิ่มเติมก็คือ Artificial Intelligence of Things หรือ AIoT เทคโนโลยีนี้เป็นการพัฒนา IoT ให้มีความล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Intelligence: AI) เข้ามาผนวกรวมกัน ทำให้นอกจากที่จะมีอุปกรณ์หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับแล้ว ยังสามารถคำนวณหรือจัดการปัญหานั้น ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยมนุษย์อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ข้อมูลมหาศาลหรือที่เรียกว่า ‘big data’ เพื่อให้ AI นำมาวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ที่ดีที่สุด ตัวอย่างการใช้งาน AIoT ได้แก่ เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ-ความชื้น พร้อมปรับให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชอัตโนมัติ, เซ็นเซอร์ติดตามและวิเคราะ์ข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์ในโรงงานแบบเรียลไทม์, เซ็นเซอร์ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านอัตโนมัติเมื่อมีผู้อยู่อาศัย และรถยนต์ไร้คนขับที่สามารถวิเคราะห์เส้นทางพร้อมตัดสินใจแทนมนุษย์ได้อย่างชาญฉลาด เป็นต้น

IoT Platform by NIPA Cloud

NIPA Cloud องค์กรสัญชาติไทยที่ให้บริการ public cloud, private cloud และ cloud storage กับคนไทยด้วยกัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าองค์กรธุรกิจไทยจะได้มีโอกาสใช้บริการเทคโนโลยี IoT จากผู้ให้บริการที่มีความพร้อม ดังนั้น เราจึงเปิดให้ผู้ประกอบการในไทยทุกภาคส่วนที่มีความสนใจ ได้ใช้บริการ IoT Platform by NIPA Cloud ฟรี ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยสิทธิ์การใช้งานจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2567

อ่านรายละเอียดโครงการและลงทะเบียนได้ที่นี่

ในโลกยุคดิจิทัลเช่นนี้ อย่าปล่อยให้องค์กรธุรกิจของคุณล้าหลังจนตามคนอื่นไม่ทัน ให้ NIPA Cloud ช่วยคุณสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานแบบสมาร์ท เพื่อลดกำลังแรงงานคนที่ไม่จำเป็น ลดรายจ่ายบริษัท เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้องค์กรไทยสูงสุด

เริ่มต้นการย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์กับ NIPA Cloud วันนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกองค์กร
AUTHOR
Author
Sorawit Pakdeeasa
Content Writer

A passive(-aggressive) learner & a ramyeon lover