Customer Story

NIPA Cloud สนับสนุน KMITL พัฒนา IoT Platform เพื่อการศึกษา

Published : September 1, 2023Time : 4 min read

องค์กร : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (SIET) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)

อุตสาหกรรม : สถาบันการศึกษา

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ : NIPA Cloud, IoT Design Platform

ที่ตั้ง : เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520

ภาพรวม (Overview)

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (SIET) เป็นคณะภายใต้สังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. (KMITL) ทำหน้าที่ผลิตบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงมีการค้นคว้า วิจัย และทดลองเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในไทย นำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับโรงงานเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ล้ำหน้าในอนาคต

เนื่องด้วยทางคณะฯ มีแผนพัฒนา Industrial IoT Design Platform หรือ IIoT Design Platform เพื่อนำไปใช้ตรวจจับหรือมอนิเตอร์สภาพแวดล้อมภายในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมนำความรู้ที่พัฒนานี้มาใช้ในการเรียนการสอนภายในคณะ ซึ่งการพัฒนา IIoT Platform นั้นจำเป็นต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีพลังการประมวลผลสูง โซลูชันที่ชัดเจนที่สุดของโครงการนี้จึงเป็น “คลาวด์” ทางคณะฯ จึงมองหาคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อความต้องการใช้งานและพร้อมสนับสนุนภาคการศึกษาอย่างเต็มที่

NIPA Cloud คือผู้ให้บริการ local cloud ชั้นนำของประเทศไทย ที่วิจัย พัฒนา และให้บริการคลาวด์มาแล้วกว่า 6 ปี ที่มาพร้อมกับทีมงานชาวไทย ทั้งทีมพัฒนาโปรดักต์และทีม technical support ที่ให้บริการอย่างยอดเยี่ยม เราให้บริการคลาวด์ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานระดับสากล ในราคาตามการใช้งานจริง พร้อมกันนี้ นอกจาก NIPA Cloud จะมุ่งช่วยธุรกิจไทยให้เข้าสู่โลกยุคดิจิทัลแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือภาคการศึกษาให้เข้าถึงการใช้งานคลาวด์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศในภายภาคหน้า

จากแนวคิดที่ตรงกันของทั้งสององค์กรที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดร.อภิศักดิ์ จุลยา ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง NIPA Cloud จึงได้จับมือกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล ฉายรัศมี อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

ภาพบรรยากาศ พิธีลงนาม MOU ระหว่าง NIPA และ สจล.

หลังจากที่ SIET มีการใช้งานคลาวด์จาก NIPA Cloud มาแล้วระยะหนึ่ง รศ. ดร.พรพิมล หนึ่งในผู้พัฒนาโปรแกรม IoT Design Platform จึงขอเป็นตัวแทนแบ่งปันประสบการณ์อันแสนประทับใจนี้ให้ได้รับฟังทั่วกัน

การใช้งาน NIPA Cloud เพื่อการศึกษา

จุดประสงค์หลักของการใช้งาน NIPA Cloud รศ. ดร.พรพิมลชี้แจงว่าเพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการสร้างระบบ IIoT (industrial IoT) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถจะติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ภายในโรงงานได้ มีเครื่องมือในการสร้างแดชบอร์ด และสามารถ analyze data ได้ภายในตัว โดยดำเนินการบน edge

“งานของอาจารย์จะเป็นว่า มี edge computer 1 ตัว ไม่ว่าจะเป็นพวก single board ต่าง ๆ หรือว่าเป็นพวก edge device, mini PC ก็สามารถรันแอปพลิเคชันของอาจารย์ได้ และเราใช้อินทราเน็ต เพราะฉะนั้นข้อมูลในโรงงานจะไม่หลุดออกไปข้างนอก”

และเนื่องจากเป็น IoT Platform จึงสามารถนำไปใช้กับแอปพลิเคชันได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การมอนิเตอร์โซลาร์รูฟท็อป ทำ energy management คำนวณค่าไฟ วัดอุณหภูมิ วัดความชื้น ฯลฯ ซึ่ง รศ.ดร.พรพิมลเสริมว่าแพลตฟอร์มนี้ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก

นอกจากวัตถุประสงค์หลักข้างต้น รศ.ดร.พรพิมลกล่าวเพิ่มเติมว่า NIPA Cloud ยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอน เนื่องจากทางคณาจารย์ได้นำคลาวด์จากเราไปใช้งานถึง 4 งานด้วยกัน ได้แก่

  1. ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ของคณะฯ
  2. ใช้เป็นแล็บ IoT
  3. เปิดให้ต่างคณะเข้ามาใช้งานด้วย นั่นคือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. ใช้สำหรับงานวิจัยของทางคณาจารย์

และในงาน KMITL Innovation Expo 2023 ของทางมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นในวันที่ 27 – 29 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ทางคณะฯ ก็ได้มีการนำ IoT Design Platform บน NIPA Cloud ไปจัดแสดงภายในงาน และงาน Open House ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่จะจัดขึ้น ทางภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลก็จะนำส่วนที่ใช้งานบนคลาวด์ไปจัดแสดงเช่นเดียวกัน

ทำไมถึงเลือกใช้ NIPA Cloud?

เมื่อถามสาเหตุไปว่า เพราะเหตุใด คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีถึงเลือกมาใช้งาน NIPA Cloud สำหรับการศึกษา รศ.ดร.พรพิมลเล่าว่า แท้จริงแล้ว ทางคณะฯ ได้มีการใช้งานคลาวด์จาก AWS อยู่ แต่เนื่องจากงบประมาณที่จำกัด จึงได้ลองมองหาคลาวด์ไทยที่สนับสนุนภาคการศึกษาและได้พบกับ NIPA Cloud ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานของโครงการพอดี จึงได้เปิดใช้งานคลาวด์จากผู้ให้บริการทั้งสองรายไปพร้อม ๆ กัน แต่บน NIPA Cloud ได้มีการวางระบบที่ใหญ่กว่า และมีการวางโมเดลที่พร้อมใช้งานตามที่ทางคณะฯ ต้องการ

“AWS เราเปิดเครื่องเปล่ามาเครื่องเดียว และเราก็ใช้เครื่องเดียวเลย ทุกอย่างรวมอยู่ในนั้นหมด แต่ของ NIPA Cloud คือเราจะแยกหมวดกันเลยค่ะ อันนี้คือความแตกต่าง เท่ากับตอนนี้ ระบบที่อาจารย์ลง ถ้าจะ launch เป็น commercial จริง ๆ มันก็ควรจะเป็นเหมือนที่เราลงที่ NIPA Cloud นี่แหละ”

จุดแข็งของ NIPA Cloud หลังจากใช้งาน

หลังจากที่ได้ใช้งาน NIPA Cloud มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว รศ.ดร.พรพิมลพูดอย่างไม่ลังเลว่าจุดแข็งที่สุดของ NIPA Cloud คือการช่วยเหลือด้านเทคนิค (technical support) ที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ พร้อมให้บริการและแก้ไขปัญหา อีกทั้งเป็นทีมงานชาวไทย จึงไม่มีปัญหาด้านภาษาหรือวัฒนธรรมเข้ามาเป็นอุปสรรค

“ส่วนหนึ่งที่อาจารย์คิดว่าเป็นจุดแข็งคือ technical support เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว อย่างถ้าอาจารย์ไป[ใช้งาน]แพลตฟอร์มอื่น เราก็ต้อง[จัดการ]ด้วยตัวเราเอง ของ NIPA ถ้ามีปัญหาอะไรทางด้านเทคนิค อาจารย์สามารถสอบถามเข้าไปได้ และจะได้รับการแก้ไขค่อนข้างเร็ว”

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเล่าเสริมอีกว่า เวลาที่ไปพูดคุยกับหน่วยงานทั้งเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อพูดถึง NIPA Cloud คนก็อาจจะยังไม่รู้จักหรือไม่เข้าใจแนวคิด แต่อาจารย์ก็อธิบายเพิ่มเติมว่าเป็นคลาวด์ของคนไทย มีเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดอยู่ในเมืองไทย ก็ได้รับรีแอ็กชันที่น่าพึงพอใจกลับมา เพราะเขามองว่าการที่ data ของคนไทยจัดเก็บอยู่ในประเทศทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งถือเป็นจุดแข็งอีกจุดหนึ่งของ NIPA Cloud

NIPA Cloud คลาวด์ไทยคุณภาพระดับสากลที่ใส่ใจภาคการศึกษา

ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ทีมงาน NIPA Cloud ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาคลาวด์เพื่อคนไทย เราให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความประทับใจของยูสเซอร์ทุกราย พร้อมสร้างความปลอดภัยสูงสุดของ data ที่จัดเก็บและประมวลผลบนคลาวด์ของเรา ผ่านการจัดเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ภายในประเทศ ซึ่งจะไม่รั่วไหลไปต่างประเทศอย่างแน่นอน

“อาจารย์ว่า NIPA Cloud มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับของต่างประเทศนะคะ และควรต้องสนับสนุนของของคนไทย data เราจะไม่หลุดไปไหน อาจารย์คิดว่าหลายหน่วยงานให้ความสนใจในประเด็นนี้ค่อนข้างเยอะ อย่างเช่นที่อาจารย์เจอ อาจารย์ทำ IoT ก็จะมีอุปกรณ์ IoT ของจีนเข้ามา ก็ให้ใช้คลาวด์ฟรี แต่คลาวด์ของเขาอยู่เมืองจีน และพอเวลามันล่มที เขาก็ทำอะไรไม่ได้เลย เท่ากับว่าระบบ IoT ล่มไปโดยอัตโนมัติ พออาจารย์พูดประเด็นนี้ขึ้นมา หน่วยงานที่เขาได้ฟังเขาก็ เออ อันนี้มันเป็นสิ่งที่เขาควรจะต้องพิจารณาค่ะ

“อาจารย์ว่าถ้าเป็นคลาวด์ของคนไทยก็ต้อง NIPA Cloud เพราะว่าจากประสบการณ์ที่อาจารย์ใช้ เรื่องความเร็วก็ไม่ใช่ปัญหา เรื่อง reliability ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าดีมาก เพราะอาจารย์แทบจะไม่ต้องทำอะไรกับเขา รวมทั้งอันที่สามก็คือทีมซัพพอร์ต ถ้ามีปัญหาปุ๊บ เราเข้าหาทีมซัพพอร์ตได้ง่าย ถ้าเป็นของต่างชาติเราก็จะต้องเจอปัญหา เช่น เรื่องภาษา และอีกอย่างคือข้อมูล เช่น ถ้าเป็นงานภาครัฐที่ไม่ต้องการให้ข้อมูลออกไปนอกประเทศ NIPA Cloud ตอบโจทย์แน่ ๆ ค่ะ” รศ. ดร.พรพิมลกล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนใช้งาน NIPA Cloud Space เพื่อรับเครดิตใช้งาน 30 วัน ฟรี!
AUTHOR
Author
Sorawit Pakdeeasa
Content Writer

a passive(-aggressive) learner and a ramyeon lover.

RELATED ARTICLES