ทีมงานทั้ง 5 จาก NIPA Cloud ร่วมแชร์ประสบการณ์เข้าร่วมบรรยายในงาน OpenInfra Summit Vancouver 2023
Table of Contents
- สิ่งที่เรียนรู้จากการฟังคนอื่นพูดในงาน?
- ประสบการณ์จากการไปพรีเซนต์ในงาน และการได้พบปะพูดคุยกับคนภายในงาน?
- OpenStack และ Ceph เป็น open source ที่มีอายุมากกว่าสิบปี ทั้งสองตัวจะก้าวไปไกลมาก-น้อยแค่ไหน และในสายตาเรา ทีมงานคนไทยพร้อมจะสู้ต่างชาติได้ไหม โดยเฉพาะคอมมิวนิตี้ในประเทศไทย?
- สามารถพัฒนาต่อยอดอะไรจากการไปพรีเซนต์ครั้งนี้ได้บ้าง?
จากงานระดับโลก OpenInfra Summit Vancouver 2023 เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อีกสิ่งหนึ่งที่เราอยากแชร์ให้ทุกคนก็คือประสบการณ์จากทีมงานทั้งห้า ดร.อภิศักดิ์ จุลยา—Chief Executive Officer, ชาญศิลป์ ชิ้นประเสริฐ—Chief Innovation Officer, จีรพัฒน์ ศุภอภินันต์—Cloud Network Manager & PM, คมกฤช เวียงวิเศษ—Cloud Technical Manager และ ประทิน บุญรอด—Site Reliability Engineer Architect ที่จะมาเล่าความประทับใจและองค์ความรู้ที่ได้จากการไปร่วมงานในครั้งนี้กัน
สิ่งที่เรียนรู้จากการฟังคนอื่นพูดในงาน?
จีรพัฒน์ : ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนา open source ทั้ง OpenStack, Ceph Storage และ StarlingX โดยที่ผมสนใจมากก็คือส่วนที่เป็น StarlingX ที่เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการทำ distributed cloud หรือ edge cloud (edge computing) ซึ่งอาจจะนำมาพัฒนาต่อยอดกับ edge computing ที่เรากำลังทำร่วมกันกับ IoT Platform ได้ในอนาคตด้วย
ชาญศิลป์ : หลายคนใช้ OpenStack กันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว บริษัทใหญ่ ๆ หลายเจ้าไม่ใช่แค่ใช้งานภายใน แต่ยังมีการทำยูสเคสต่าง ๆ มาแชร์กันในงาน เลยทำให้เห็นหลาย ๆ แง่มุมที่เรามองข้ามไป
ประทิน : พบว่าเจ้าตลาด OpenStack consult หันไปพัฒนา deployer tool ด้วย Kubernetes Helm และ CRD กันหลายเจ้า เช่น Mirantis ก็ย้ายไป deploy controller+ Ceph ด้วย CRD
ประสบการณ์จากการไปพรีเซนต์ในงาน และการได้พบปะพูดคุยกับคนภายในงาน?
ดร.อภิศักดิ์ : สำหรับผมเอง การไปพรีเซนต์ในงานนี้ หลังจากพูดเสร็จ ได้พบคำถามจากประเทศต่าง ๆ ที่มีปัญหาเหมือนเรามาถาม จึงพอรู้บ้างว่าใครทำอะไรอยู่บ้าง เช่น ประเทศอิสราเอล, Bloomberg และสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่คนที่มาจะเป็น speaker
ประทิน : ได้คุยกับ contributor ของ Octavia คุยเรื่องปัญหาที่พบเจอในโปรดักชัน และ OpenStack-Ansible ที่สนใจว่าเรา deploy OpenStack และ TF ยังไง
คมกฤช : ทำให้รู้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่และมีชาวต่างชาติมาถามเรื่อง how to กับเราเหมือนกัน
OpenStack และ Ceph เป็น open source ที่มีอายุมากกว่าสิบปี ทั้งสองตัวจะก้าวไปไกลมาก-น้อยแค่ไหน และในสายตาเรา ทีมงานคนไทยพร้อมจะสู้ต่างชาติได้ไหม โดยเฉพาะคอมมิวนิตี้ในประเทศไทย?
คมกฤช : เราอยู่ระดับโลกแล้ว และเรากำลังจะเป็นที่ 1 ของอาเซียน
ชาญศิลป์ : OpenStack อยู่ในจุดที่ mature แล้ว มันมาไกลจนเป็นสแตนดาร์ดของ IaaS ไปแล้ว หลาย ๆ คนใช้กันเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งสิ่งที่ทีมเราศึกษา ในความเป็นจริง โลกของ OpenStack มันกว้าง มันมีบางมุมที่คนอื่นไม่รู้และสนใจ การที่เราพรีเซนต์แล้วมีคำถามทุกเซสชันเป็นตัววัดที่ดีว่าเขาสนใจจริง ๆ
จีรพัฒน์ : ผมคิดว่ามันจะถูกพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และยังมีคอมมิวนิตี้เพิ่มขึ้นด้วยครับ เนื่องจากปัจจุบันนี้ ทั้ง OpenStack และ Ceph เป็นสิ่งที่ต้องทำงานร่วมกันอยู่แล้ว เราในฐานะคนที่ใช้งานทั้งสองอย่างก็ค่อนข้างมีความพร้อม และคิดว่าต้องพัฒนาต่อไป และอยากจะทำให้คอมมิวนิตี้ในประเทศเติบโตไปด้วย
ดร.อภิศักดิ์ : ทั้ง OpenStack และ Ceph เป็นซอฟต์แวร์ที่เรียนรู้ยากมาก ทั้งเรียนรู้ให้ลึกและนำมาใช้งานให้มีประสิทธิภาพ สูงในเชิงธุรกิจ ต้องมีปัจจัยเยอะมาก และเรามาไกลมากด้วย ซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวมีอายุมาก มีการพัฒนามาหลายขั้นตอน คงจะมีคนเข้าแข่งขันยากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน เราคงต้องลงมือลุยเองมากขึ้นด้วยทีมงานคนไทยของเรา บอกได้เลยว่าสู้ได้ทุกประเทศในโลกใบนี้ ในประเทศไทยไม่ต้องพูดถึง เรากินขาด
สามารถพัฒนาต่อยอดอะไรจากการไปพรีเซนต์ครั้งนี้ได้บ้าง?
ชาญศิลป์ : มีฟีเจอร์หลาย ๆ อย่างที่จะนำมาทำต่อ เช่น GPU
จีรพัฒน์ : ผมก็จะนำเรื่องของ StarlingX มาศึกษาความเป็นไปได้ว่าสามารถพัฒนาต่อยอดและการนำไปประยุกต์ใช้กับโปรดักต์ของเราต่อไปครับ
ดร.อภิศักดิ์ : การไปพรีเซนต์ครั้งนี้เสริมความมั่นใจให้ทีมงานอีก 4 คนว่าเรารู้เยอะกว่าคนอื่นจริง ๆ ตรงนี้จะทำให้ทีม Innovation มีความกล้าในการพัฒนา เพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ และแก้ปัญหาให้เด็ดขาดมากขี้นกว่าเดิม ผมคิดว่า NIPA Cloud จะแข็งแรงและแกร่งเร็วขี้นกว่าเดิมมาก รองรับการขยายตัวของตลาดคลาวด์ทั้งในและนอกประเทศได้อย่างมั่นใจ