รู้จักกับ ddos protection คืออะไร - banner
Tech Knowledge

รู้จักกับ DDoS Protection เสริมเกราะป้องกัน DDoS ให้กับธุรกิจ

Published : November 15, 2024Time : 3 min read
Table of Contents
  1. DDoS protection คืออะไร
  2. ทำไมต้อง DDoS protection
    1. 1. ปกป้องความพร้อมใช้งานของระบบ
    2. 2. ด้านความปลอดภัย
    3. 3. ลดความเสียหายทางการเงิน
  3. DDoS protection ทำงานอย่างไร
    1. 1. ตรวจจับทราฟฟิกที่ผิดปกติ
    2. 2. การใช้ Rate Limit
    3. 3. การใช้ Web Application Firewall (WAF)
    4. 4. การใช้ Load Balancer
    5. 5. การใช้ Content Delivery Network (CDN)
  4. ประเภทของ DDoS protection
    1. 1. Network-Based DDoS protection
    2. 2. Application-Based DDoS protection
    3. 3. Cloud-Based DDoS protection
    4. 4. On-Premises DDoS protection
    5. 5. Hybrid DDoS protection
  5. ค่าใช้จ่ายสำหรับ DDoS protection
    1. 1. ประเภทของบริการ DDoS protection
    2. 2. ระดับการป้องกันที่ต้องการ
    3. 3. ปริมาณทราฟฟิกและขนาดธุรกิจ
    4. 4. ผู้ให้บริการและแพ็กเกจที่เลือก
  6. สร้าง DDoS protection ให้กับธุรกิจด้วย Nipa Cloud External IP
    1. 1. การป้องกัน DDoS อัตโนมัติ
    2. 2. ความสามารถให้การกรองทราฟฟิก
    3. 3. ศูนย์กรองทราฟฟิกทั่วโลก
    4. 4. ลดความหน่วงเวลา (Latency)
  7. สรุป

DDoS protection คืออะไร

DDoS protection คือ การป้องกันการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) ซึ่งเป็นการโจมตีที่มุ่งเน้นให้ระบบไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยการส่งคำขอเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์จำนวนมหาศาลจากหลายแหล่งพร้อม ๆ กัน จนเกิดความหนาแน่นของทราฟฟิกเกินขีดจำกัด ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงบริการนั้นได้

ทำไมต้อง DDoS protection

1. ปกป้องความพร้อมใช้งานของระบบ

เมื่อเกิดการโจมตี DDoS ระบบจะล่มจนผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อประสบการณ์ของผู้ใช้ ซึ่งถ้ามีการป้องกันตรงนี้สามารถรักษาความน่าเชื่อถือของระบบได้

2. ด้านความปลอดภัย

ถึงแม้ว่า DDoS ไม่ได้ป้องกันการขโมยข้อมูลโดยตรง แต่มักถูกใช้ร่วมกับการโจมตีรูปแบบอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการโจมตีด้านความปลอดภัย ดังนั้นการมี DDoS protection จะช่วยลดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี

3. ลดความเสียหายทางการเงิน

การหยุดให้บริการชั่วคราวจากการโจมตี DDoS สามารถสร้างความเสียหายให้ธุรกิจได้ โดยเฉพาะบริการออนไลน์เช่น อีคอมเมิร์ซ ธุรกิจการเงินต่างๆ

DDoS protection ทำงานอย่างไร

DDoS protection ทำงานโดยการตรวจจับและบล็อคทราฟฟิกที่เข้าเกินขีดจำกัดในการรับส่งข้อมูลของระบบ และทำงานหลักๆของ DDoS protection มีดังนี้

1. ตรวจจับทราฟฟิกที่ผิดปกติ

DDoS protection มีการทำงานหลักๆ คือการตรวจสอบทราฟฟิกที่เข้ามายังระบบและระบุพฤติกรรมที่น่าสงสัย เช่นคำขอที่มาจากแหล่งเดียวหรือคำขอที่มีรูปแบบซ้ำๆ

2. การใช้ Rate Limit

จำกัดจำนวนคำขอที่มาจากแต่ละไอพีภายในระยะเวลาที่กำหนด ช่วยป้องกันไม่ให้ทราฟฟิกจากแหล่งเดียวเกิดความแออัดในระบบ

3. การใช้ Web Application Firewall (WAF)

กรองทราฟฟิกที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ หรือมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือและบล็อกทราฟฟิกที่น่าสงสัยก่อนถึงระบบหลัก

4. การใช้ Load Balancer

Load Balancer ช่วยกระจายการโหลดของทราฟฟิกไปยังเซิร์ฟเวอร์หลายๆ เครื่องเพื่อสามารถรับทราฟฟิกได้มากขึ้นและลดการล่มของระบบ

5. การใช้ Content Delivery Network (CDN)

ช่วยกระจายทราฟฟิกออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งสามารถช่วยลดภาระที่เซิร์ฟเวอร์หลัก

ประเภทของ DDoS protection

1. Network-Based DDoS protection

ใช้ในการป้องกันการโจมตีที่มุ่งเน้นทราฟฟิกในระดับเครือข่าย โดยทั่วไปจะใช้ระบบ Load Balancer เพื่อช่วยจัดการกับทราฟฟิก

2. Application-Based DDoS protection

ใช้ในการป้องกันที่โจมที่เฉพาะที่แอปพลิเคชั่น โดยมักจะใช้ Web Application Firewall (WAF) ในการกรองและตรวจสอบคำขอที่เข้ามาในระบบ

3. Cloud-Based DDoS protection

ป้องกัน DDoS ผ่านคลาวด์ ซึ่งมีข้อดีที่สามารถปรับขยายได้ตามปริมาณทราฟฟิกและสามารถกรองทราฟฟิกที่มุ่งร้ายออกจากระบบ

4. On-Premises DDoS protection

ระบบการป้องกัน DDoS ที่ติดตั้งในสถานที่ขององค์กรหรือที่เซิร์ฟเวอร์หลัก เหมาะสำหรับการจัดการทราฟฟิกภายในที่สูงมากๆ

5. Hybrid DDoS protection

เป็นการผสมผสานระหว่าง Cloud-Based และ On-Premises DDoS Protection โดยทำให้สามารถรับมือกับการโจมตีและสามารถกรองทราฟฟิกได้ทั้งภายในและภายนอก

ค่าใช้จ่ายสำหรับ DDoS protection

ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการ DDoS protection มีให้เลือกหลากหลายขึ้นอยู่กับวิธีการและบริการที่เลือกใช้โดยปัจจัย มีดังนี้

1. ประเภทของบริการ DDoS protection

การบริการ DDoS protection มีความหลากหลายขึ้นอยู่วิธีการใช้งาน ปริมาณของทราฟฟิก และงบประมาณ

2. ระดับการป้องกันที่ต้องการ

ระดับการป้องกันขึ้นอยู่กับความปลอดภัยที่ต้องการ การป้องกันพื้นฐานอาจมีค่าใช้จ่ายต่ำหรือไม่มีค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันการป้องกันขั้นสูงที่สามารถรับมือกับการโจมตีขนาดใหญ่หรือซับซ้อนมากขึ้น ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

3. ปริมาณทราฟฟิกและขนาดธุรกิจ

ธุรกิจขนาดใหญ่หรือเว็บไซต์ที่มีทราฟฟิกสูง อาจต้องการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และธุรกิจขนาดเล็กหรือเว็บไซต์ที่มีทราฟฟิกน้อย อาจเลือกใช้บริการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำหรือไม่มีค่าใช้จ่าย

4. ผู้ให้บริการและแพ็กเกจที่เลือก

ผู้ให้บริการต่าง ๆ มีแพ็กเกจและราคาที่แตกต่างกัน ควรศึกษารายละเอียดและเลือกบริการที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

สร้าง DDoS protection ให้กับธุรกิจด้วย Nipa Cloud External IP

NIPA Cloud External IP มาพร้อมกับบริการ DDoS protection ที่สามารถป้องกันการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติดังนี้

1. การป้องกัน DDoS อัตโนมัติ

ทุกทราฟฟิกที่ผ่าน External IP จะได้รับการป้องกันจาก DDoS โดยไม่ต้องตั้งค่าเอง

2. ความสามารถให้การกรองทราฟฟิก

รองรับการกรองทราฟฟิกที่มีปริมาณสูงถึงระดับเทราบิต ช่วยป้องกันการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ศูนย์กรองทราฟฟิกทั่วโลก

มี Scrubbing Centers กระจายอยู่ทั่วโลก ช่วยแยกแยะระหว่างทราฟฟิกที่เป็นมิตรและทราฟฟิกที่เป็นภัยคุกคาม

4. ลดความหน่วงเวลา (Latency)

ทำให้ระบบของคุณทำงานได้อย่างรวดเร็วระหว่างการใช้งานปกติ

สรุป

การป้องกัน DDoS จึงเป็นการลงทุนสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้บริการออนไลน์มีเสถียรภาพและปลอดภัยจากการโจมตี โดยที่ NIPA Cloud External IP เป็นบริการที่ให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพร้อมระบบป้องกัน DDoS อัตโนมัติ รองรับทราฟฟิกขนาดใหญ่และมี Scrubbing Centers ทั่วโลกเพื่อลดความหน่วงเวลา โดยร่วมมือกับ StormWall ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity ช่วยให้ธุรกิจมั่นใจในความปลอดภัยและเสถียรภาพในการให้บริการ
ใครกำลังมองหาบริการ DDoS protection ที่มีประสิทธิภาพ การใช้ NIPA Cloud External IP ช่วยให้ธุรกิจของคุณมั่นใจได้ว่าระบบจะได้รับการป้องกันจากการโจมตี DDoS และสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง สนใจคลิกเลย

AUTHOR
Author
NIPA Cloud
Writer

We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.