7 ข้อดี Cloud Technology ที่จะพลิกโฉมธุรกิจคุณในยุค 4.0
7 ข้อดี Cloud Technology ที่จะพลิกโฉมธุรกิจคุณในยุค 4.0
Cloud Technology คืออะไร ? หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่คุ้นชินกับคำศัพท์นี้ หรือรู้สึกว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ใช้กันแพร่หลายเท่าไหร่ แต่โดยแท้จริงแล้ว เรามีการใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยที่เราไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง ตัวอย่างเช่น iCloud, Dropbox, Google Drive หรือแม้กระทั่ง E-mail ก็คือ Cloud ในรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน โดย Cloud ที่ผู้คนใช้กันทั่วไปเป็นเพียงรูปแบบซอฟต์แวร์ของ Cloud Technology หรือที่เรียกกันว่า Software-as-a-Services (SaaS) แต่ Cloud เอง ก็ยังมีแบ่งออกเป็นประเภทอื่นๆอีกเช่นกัน เช่น Infrastructure-as-a-Service (IaaS) และ Platform-as-a-Service (PaaS)
ก่อนที่จะไปอธิบายถึง Cloud Technology แต่ละประเภท เราควรเข้าใจนิยามของ Cloud Technology กันก่อน
ตัวอย่างหนึ่งของ Cloud Technology ที่เห็นได้ชัดเจนเลย คือ Google Drive ที่เราใช้เพื่อเก็บไฟล์ แต่เราไม่เคยจำเป็นต้องไปสนใจว่า มันเก็บอยู่ที่ไหน เก็บอย่างไร มันมีการป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ข้อมูลที่เราอัพโหลดขึ้นไปไว้ในนั้นสูญหาย ถ้าพื้นที่เต็มจะขอเพิ่ม ต้องรอ Google ไปซื้อดิสก์มาก่อนไหม จะขอลดลงได้หรือไม่ จะเห็นได้ว่าเบื้องหลังของการให้บริการเหล่านี้ เต็มไปด้วยความซับซ้อนมากมาย ดังนั้นจึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าคือ Cloud Technology เป็นสิ่งที่จะเข้ามาช่วยลดความซับซ้อนให้แก่ผู้ใช้ ให้ผู้ใช้ได้ Focus กับ Product และธุรกิจของตนเองมากขึ้น และยกภาระงานเบื้องหลังที่เหลือให้ Cloud Provider เป็นผู้รับผิดชอบแทน
หลายๆ ท่านคงนึกสงสัยว่า ‘แล้วธุรกิจที่ไม่ได้เกี่ยวกับ IT ล่ะ จะได้ประโยชน์อะไร ? จาก Cloud Technology’ ถึงแม้ว่าธุรกิจของท่านจะไม่ใช่ธุรกิจ IT โดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจำเป็นต้องมีระบบ IT ที่ใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งข้อมูลการซื้อขาย ข้อมูลลูกค้า รวมถึงระบบเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ อันเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ เราเรียกระบบ IT ขององค์กรว่า IT Infrastructure ซึ่ง Cloud Technology ก็จะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ ในฐานะ IaaS หรือ หากมีธุรกิจมีศักยภาพในการทำ Software ก็สามารถนำ Software ไปทำงานอยู่บน IaaS หรือ PaaS บน Cloud ได้เช่นกัน
การวิจัยและสำรวจจาก International Data Group เปิดเผยว่า ในปี 2019 มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ หันมาใช้ Cloud Technology มากถึง 69% รวมถึงผลสำรวจการใช้งาน Public Cloud และ Private Cloud จาก RightScale ได้เผยการสำรวจเช่นเดียวกันว่า ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้งาน Public Cloud ถึง 38% ของภาระงานทั้งหมดในองค์กร และใช้งาน Private Cloud มากถึง 41% ของภาระงานทั้งหมดในองค์กร
สำหรับใครที่สนใจการใช้งาน Cloud Technology อาจจะนึกภาพการใช้งานไม่ออก วันนี้ Nipa.Cloud จะพาไปทำความรู้จักกับ ‘7 ข้อดี Cloud Technology ที่จะพลิกโฉมธุรกิจคุณในยุค 4.0’
ต้นทุนถูกกว่า
ผู้ประกอบการ อาจจะรู้สึกว่า Cloud Technology ในส่วนของ IaaS มีราคาแพง หากนำราคาไปเทียบกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป แต่ลืมมองถึงต้นทุนแฝงอื่นๆของระบบ On-Premise ไป ทั้งในส่วนของค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ค่าระบบสำรองไฟฟ้า ค่าระบบทำความเย็น หรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่ายในการทำห้องเซิร์ฟเวอร์ให้ได้มาตรฐาน ค่าต่ออายุประกันอุปกรณ์ ค่าอุปกรณ์ชุดสำรองที่จะสามารถสลับขึ้นมาทำงานแทนหากอุปกรณ์หลักไม่สามารถทำงานได้โดยที่ข้อมูลไม่สูญหาย หรือสูญหายน้อยที่สุด ค่าระบบสำรองข้อมูลหากข้อมูลเสียหาย รวมถึงต้นทุน Man-Hour ของเจ้าหน้าที่ IT ที่เสียไปในการติดต่อ ซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจที่ระบบไม่สามารถใช้งานได้ในระหว่างที่ชำรุด เป็นต้น
Cloud Technology ในส่วนของ IaaS จะเข้ามาตอบโจทย์ในส่วนนี้ โดยการที่ระบบทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ห้อง Data center ที่ได้รับรองมาตรฐาน มีระบบไฟฟ้าสำรอง และระบบทำความเย็น มีกล้องวงจรปิดบันทึกผู้เข้าออก มีการเข้ารหัสข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบ และมีมาตรฐานในการทำลายข้อมูลเมื่อ Hard Disk ที่ใช้เก็บข้อมูลเสียหาย มีระบบสำรองข้อมูลที่พร้อมให้ใช้ได้อย่างง่ายดาย ไม่มีความซับซ้อน มีระบบสำรองที่พร้อมขึ้นมาทำงานแทน เมื่อมีบางส่วนของระบบเสียหาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับธุรกิจของผู้ใช้มากขึ้น ไม่เพียงแค่นั้น ระบบที่มีมาตรฐานซึ่งดูเหมือนออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่นี้ ยังอยู่ในราคาที่ธุรกิจกลุ่ม Startup และ SME สามารถเอื้อมถึงอีกด้วย
ความเสถียรและมั่นคง เชื่อถือได้
ปัญหาหลักของธุรกิจคือ ระบบ IT กลายมาเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจ และหากระบบชำรุดไป ก็จะกระทบต่อธุรกิจ ส่งผลให้เสียโอกาสด้านต่างๆ หรือทำให้ประสิทธิภาพของธุรกิจลดลง ในการทำให้ระบบ on-premise มีความเสถียร หากเสียหาย ก็พร้อมกลับมาทำงานโดยเร็วที่สุดนั้น ในบางครั้งก็อาจจะต้องมีระบบสำรองที่พร้อมสลับเปลี่ยนมาทำงานแทนได้ทันที ต้องมีระบบคอยสำรองข้อมูลของแต่ละวัน หากข้อมูลเสียหาย ก็สามารถนำกลับมาได้ ต้องคอยตรวจสอบให้แน่ใจอยู่เสมอว่าระบบสำรองข้อมูลสามารถใช้งานได้จริง ในบางครั้งก็อาจจะต้องการเครื่องที่จะใช้ทดสอบเอาข้อมูลสำรองมากู้คืน ซึ่งการทำสิ่งเหล่านั้นใช้เงินลงทุนสูง ทำให้ไม่ใช่ทุกกลุ่มธุรกิจจะสามารถมีระบบเหล่านั้นได้ และต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
Cloud Technology เกิดมาเพื่อแก้ปัญหานั้น โดยทำให้ระบบรองรับความเสถียรและความมั่นคงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของเครื่อง Controller ที่ดูแล Network Nodes, Storage Nodes และ Compute nodes เพื่อให้ Nodes ทุกตัวทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถเปลี่ยนย้ายได้ทันที หากมี Node ใดเสียทำให้ไม่มี Downtime แต่อย่างใด มีระบบสำรองข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ให้ สามารถเชื่อถือได้ว่า เมื่อใช้งาน จะสำรองข้อมูล ณ เวลานั้นทันที และสามารถนำมาใช้กู้คืนได้อย่างแน่นอน จึงมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตาม ที่มาใช้งาน Cloud ก็จะได้รับความเสถียรและมั่นคงเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะใช้มาตรฐานเดียวกัน
ปรับขนาดทรัพยากรได้ตามต้องการ
การเติบโตทางธุรกิจ และการเติบโตทางด้านการใช้งานทรัพยากร IT Infrastructure เป็นของคู่กัน เมื่อธุรกิจโตขึ้น การใช้งานระบบก็จะสูงขึ้นตาม แต่การประเมินว่าต้องจัดซื้อระบบใหญ่เท่าใดมารองรับเผื่อไว้ เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาบริษัทจัดโปรโมชั่นสินค้า ซึ่งจะทำให้มีการใช้งานผิดปกติไปจากช่วงการใช้งานโดยทั่วไป
Cloud Technology สามารถตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้ เนื่องจากระบบ Cloud ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผู้ใช้แต่ละราย สามารถ เพิ่มหรือลด ขนาดของทรัพยากรได้ตามต้องการในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยควบคุมได้ง่ายดายผ่านหน้า User Interface ซึ่งหากต้องการทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มในระบบ Cloud ได้อย่างสบายๆ โดยที่ไม่ต้องวุ่นวายทำแผนคาดการณ์จัดซื้อ Hardware ล่วงหน้า ซึ่งอาจผิดพลาด และทำให้สูญเสียเงินลงทุนของบริษัทไปโดยเปล่าประโยชน์ เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนการทำงานภายในไม่กี่คลิกเท่านั้น ทำให้คุณสามารถตอบสนองต่อธุรกิจที่เติบโตเร็วได้อย่างทันท่วงที
ลดความซับซ้อนของระบบ IT
การดูแลระบบ Infrastructure ขององค์กร ยิ่งมีขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนเท่าไหร่ ก็จะต้องการเจ้าหน้าที่เพิ่มมากขึ้น เพราะต้องดูแลรับผิดชอบตั้งแต่ระดับการจัดระบบไฟฟ้า ระบบทำความเย็นให้เพียงพอ หรือแม้กระทั่งการลากสายเชื่อมต่อกันในแต่ละอุปกรณ์ การคอยตรวจซ่อมอุปกรณ์ หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใกล้ชำรุดล่วงหน้า ล้วนเป็นงานที่ซับซ้อน
Cloud Technology เข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้ โดยลดความซับซ้อนของระบบ และเหลือเพียงส่วน Logical ให้ผู้ใช้จัดการ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน (VM) ของตนเองอยู่บน Compute Node ใด ต่อสายยังไง หรือใช้ Disk จาก Storage Node ไหน ผู้ใช้เพียงแค่ต้อง Focus ว่า VM ของตนเองขนาดเท่าใด มี Disk ขนาดเท่าไหร่ เพียงพอต่อระบบหรือไม่ เพียงเท่านั้น ซึ่งเมื่อเหลืองานที่ต้องดูแลลดลง ก็สามารถใช้เจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่คนในการดูแลระบบขนาดใหญ่ได้
ความปลอดภัย
หากกล่าวถึงความปลอดภัยของข้อมูลแล้ว หลายๆคนอาจมองข้ามการรายละเอียดเล็กๆน้อยๆไป และไปนึกถึงภาพการโจมตีทางอินเตอร์เน็ตกันเสียมากกว่า แต่ Cloud Technology มีความปลอดภัยที่มากกว่านั้น Cloud Technology มีระบบความปลอดภัย ตั้งแต่ระดับ Physical โดยที่ข้อมูลที่เก็บอยู่บน Hard Disk จะถูกเข้ารหัสไว้ หากมีใครนำออกไป ก็จะไม่สามารถเอาไปเปิดอ่านได้ และมั่นใจได้ในอีกระดับ ด้วยการที่ Cloud Provider จะมีการทำลายข้อมูลใน Hard disk ที่ชำรุดหรือใกล้ชำรุดเสมอ ในการจัดการกับ Hardware ต่างๆภายใน Data Center เจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าถึงได้เพียงแต่ตู้เซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด และมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพ และถูกตรวจสอบตลอดเวลา
ในส่วนระบบปฏิบัติการที่ผู้ใช้นำไปใช้งาน ก็จะถูกสร้างจากโปรแกรมต่างๆจาก Official และขั้นตอนตามมาตรฐานจากคู่มือ Official โดยไม่มีการติดตั้งโปรแกรมแปลกปลอมใดๆลงไปเพิ่ม ทำให้มั่นใจได้ว่า ระดับ OS ของ Cloud ก็มีความปลอดภัย รวมถึงในส่วนของระบบ Network ก็จะมี Firewall ที่ทำหน้าที่กำหนด IP Address และ Port ที่สามารถเชื่อมต่อได้ให้กับเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดโอกาสถูกโจมตีจากอินเตอร์เน็ตลง
เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
การใช้ Cloud Technology ทำให้ข้อมูลไม่ได้ถูกเก็บอยู่แต่ภายในสำนักงานใหญ่หรือภายในสาขาของบริษัทอีกต่อไป ซึ่งนำไปสู่การตระหนักถึงว่า เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้าไปจัดการระบบ Cloud ของตนเองได้ ผู้ใช้สามารถอยู่ที่ใดก็ได้ เพื่อจะจัดการระบบ Cloud ที่ตนเองมีสิทธิ์ดูแล โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังออฟฟิศ สามารถทำการแก้ไขระบบ นอกเวลาการทำการของบริษัทได้เช่นกัน แต่ก็อย่าลืมจัดการ Work-Life Balance ของตนเองให้ดี ไม่เช่นนั้น Work Anywhere Anytime ก็อาจจะเป็นฝันร้ายของคุณได้เช่นกัน
Pay-As-You-Go
หัวใจที่สำคัญของ การใช้งาน Cloud คือ การคิดค่าใช้บริการตามการใช้งานจริง โดยคุณสามารถปรับเปลี่ยนแผนค่าใช้จ่ายได้ตามต้องการ ซึ่งต่างกับ Infrastructure แบบเดิมที่ต้องลงทุนค่า Hardware ขนาดใหญ่ด้วยเงินก้อนโต และปล่อยทรัพยากรบางส่วนให้ถูกทิ้งไม่ได้ใช้งานหลายเดือน เพราะโปรเจคยังไม่ได้เริ่มต้น แต่ต้องมีทรัพยากรเผื่อไว้ เพราะจะใช้ในปีเดียวกัน
Pay-As-You-Go เป็นข้อดีของ Cloud Technology เนื่องจากผู้ใช้จ่ายเพียงเท่าที่ตนเองได้จองไว้ใช้งาน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องขอทรัพยากรเผื่อล่วงหน้า แต่ทรัพยากรนั้นมีพร้อมที่จะให้ขอใช้อยู่เสมอเมื่อถึงเวลาที่ต้องการจะใช้
Nipa.Cloud ผู้ให้บริการ Public Cloud และ Private Cloud รายแรกของประเทศไทย ที่พัฒนาด้วย Cloud Open Source Software จนมีผู้ใช้งานมากกว่า 21 ประเทศจากทั่วทุกมุมโลก
Nipa.Cloud ยังได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ‘NCP’ (Nipa Cloud Platform) ซึ่งเป็นการต่อยอดระบบ Cloud Open Source Software ระดับโลก อย่าง OpenStack และ Docker & Kubernetes ที่องค์กรทั่วโลกให้ความยอมรับ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ง่าย และได้รับประสิทธิภาพสูงสุด
NCP เป็นทั้งระบบสำหรับ Users ทั่วไปที่มีระบบ Billing แบบ Pay-As-You-Go และ สำหรับ Admin Staff เพื่อการบริหารระบบคลาวด์และการทำ Capacity Planning ด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 27001, 29110 และรางวัลระดับสากล PM Export Award 2019, 2019 BEST INTELLECTUAL PROPERTY AWARD รวมถึงการได้รับสิทธิบัตรยกเว้นภาษีเป็นเวลาถึง 8 ปี จาก BOI
We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.