Tech Knowledge

เปรียบเทียบ Public Cloud คืออะไร และ Private Cloud คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

Published : September 22, 2020Time : 4 min read

การทำงานในระดับไอทีเป็นเทคโนโลยีที่ทุกองค์กรใช้งานกันเป็นพื้นฐานทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ ไดร์ฟการเก็บข้อมูล หรือคลาวด์ในการทำงานระบบแอปพลิเคชันต่าง ๆ แต่ด้วยความเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างมากในการทำงานปัจจุบัน โดยเฉพาะ infrastructure ที่ส่งผลต่อการทำงานโดยตรง ซึ่งอาจทำให้หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า public cloud คืออะไร และ private cloud คืออะไร?

เทคโนโลยีอย่าง public cloud และ private cloud ที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก ก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและองค์กรหลาย ๆ รูปแบบ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน, อุปกรณ์ IoT โปรแกรม ซอฟต์แวร์ ระบบ ERP ปัญญาประดิษฐ์ (AI) big data หรือการเก็บข้อมูลของอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ cloud computing ก็เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก

หลายคนอาจจะยังไม่เห็นภาพการทำงานของ cloud computing มากเท่าไหร่นัก โดยจะยกตัวอย่างง่าย ๆ ของคลาวด์ เช่น การเก็บไฟล์ภาพในสามร์ทโฟน การเก็บข้อมูลแอปพลิเคชันบนคลาวด์ หรือ การฝากไฟล์งานต่าง ๆ ที่ผู้คนใช้กันทั่วไป ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบ cloud computing เพียงแต่ในเชิงของเทคโนโลยีแล้ว การใช้งาน cloud มีรายละเอียดมากกว่าในมุมมองของผู้ใช้งาน โดยเราจะไปทำความเข้าใจกันว่า cloud computing มีรายละเอียดที่เข้าใจง่าย ๆ ว่าอย่างไรบ้าง

ปรึกษาการใช้บริการ Private Cloud และ Public Cloud เพิ่มเติมกับเราได้ที่นี่

Cloud Computing คืออะไร?

Cloud computing คือ เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สามารถประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลได้ผ่านออนไลน์ เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องขนาดใหญ่ที่มีทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการด้านฮาร์ดแวร์ เช่น การบำรุงรักษา การเสื่อมสภาพ การอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือการจัดการเชิงเทคนิค เป็นต้น

Cloud Computing สามารถแบ่งประเภทการทำงานได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. Infrastructure-as-a-Service (IaaS)

เป็นระบบที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีครบถ้วน คล้ายกับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือเซิร์ฟเวอร์ โดยมีหน่วยการประมวลผล ระบบจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายเชื่อมต่อที่มีความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถต่อยอดการทำงานได้มากกว่าจากทรัพยากรด้านไอทีที่มี เช่น ระบบเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน big data หรือ AI เป็นต้น

2. Platform-as-a-Service (PaaS)

เป็นระบบที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีการติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานที่สะดวกเพิ่มมากขึ้น โดยซอฟต์แวร์ในการใช้งานจะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการที่จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการใช้งาน เนื่องจากมีการจัดเตรียม infrastructure และแอปพลิเคชันไว้เรียบร้อยแล้ว

3. Software-as-a-Service (SaaS)

เป็นระบบที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีการติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานที่สะดวกเพิ่มมากขึ้น โดยซอฟต์แวร์ในการใช้งานจะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการที่จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการใช้งาน เนื่องจากมีการจัดเตรียม infrastructure และแอปพลิเคชันไว้เรียบร้อยแล้ว

สรุป cloud computing ก็คือ บริการด้านไอทีที่เปรียบเสมือนการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ให้สำหรับผู้ใช้บริการที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานคลาวด์ได้หลากหลายรูปแบบนั่นเอง โดยคลาวด์ยังสามารถแบ่งออกเป็น public cloud และ private cloud ได้อีกด้วย

Cloud Computing สามารถแบ่งรูปแบบการใช้งานได้ 3 รูปแบบ

Public cloud, private cloud และ hybrid cloud จะมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. Public Cloud

Public cloud คือ ระบบการประมวลผลหรือการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานที่ถูกจัดเก็บบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบสาธารณะ อธิบายก็เปรียบเสมือนในมุมของผู้ให้บริการจะมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานแบบสาธารณะไว้ในเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน แต่ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของคนอื่นได้หากไม่ได้รับอนุญาต โดยจะมีความปลอดภัยในการใช้งานระดับหนึ่ง โดยการใช้งาน public cloud จะมีข้อดีเป็นการใช้งานที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีการใช้งานที่แพร่หลาย ทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้ใช้งานอื่น ๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น

จุดเด่นของ Public Cloud

  1. ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เช่น การติดตั้ง การดูแล การบำรุงรักษา การเปลี่ยนอุปกรณ์ เป็นต้น เมื่อเทียบกับการซื้ออุปกรณ์เองนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก

  2. สามารถเพิ่ม-ลดทรัพยากรการใช้งานคลาวด์ได้ตามที่ต้องการและทันที ผ่านการสั่งงานบนแพลตฟอร์มใช้งาน

  3. ลดระยะเวลา downtime หรือปัญหาระบบล่ม เนื่องจากมีมาตรฐานการรับรองจากผู้ให้บริการ เช่น ISO/IEC, SLA เป็นต้น

  4. ใช้งานง่ายดาย เนื่องจากมีการออกแบบเพื่อให้ควบคุมการทำงานที่สะดวกและมีการสอนใช้งาน รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ด้านไอทีช่วยเหลือ

  5. มีเจ้าหน้าที่ด้านไอทีคอยให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง

  6. สามารถใช้งานผ่านออนไลน์ได้จากทุกที่ทุกเวลา

  7. Self-service สามารถบริหารจัดการทรัพยากรทั้งหมดขององค์กรได้ด้วยตนเองผ่านการควบคุมบนแพลตฟอร์ม

เปรียบเทียบราคา Public Cloud ของเราได้ที่นี่

2. Private Cloud

Private cloud คือ ระบบการประมวลผลหรือการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานที่ถูกจัดเก็บบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบส่วนตัว ทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการการใช้งานคลาวด์ที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ รวมถึงความปลอดภัยที่มีการป้องกันและการเข้าถึงที่ยากกว่า จึงทำให้เรื่องของการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนั้นมีสูงกว่าแบบ public cloud นั่นเอง

จุดเด่นของ Private Cloud

  1. สามารถควบคุมระบบการเข้าถึงและความปลอดภัยได้อย่างอิสระ

  2. มั่นใจได้ว่าข้อมูลมีความปลอดภัย เนื่องจากระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีความเป็นส่วนตัวสูง

  3. ควบคุมต้นทุนการบริการและการดูแลระบบได้ชัดเจนกว่า เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถกำหนดการบริหารจัดการได้ชัดเจนมากกว่า

  4. ลดปัญหาการเชื่อมต่อและลด latency หรือระยะเวลาการตอบสนองลงได้มากกว่า โดย bandwidth ในการใช้งานก็มีความเป็นส่วนตัวอีกด้วย

  5. องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ด้วยตนเองผ่านการควบคุมบนแพลตฟอร์ม

เปรียบเทียบราคา Private Cloud ของเราได้ที่นี่

3. Hybrid Cloud

Hybrid cloud คือ ระบบคลาวด์ที่ใช้งานร่วมกันระหว่าง public cloud และ private cloud ทำให้องค์กรที่ต้องการบริหารจัดการระบบแอปพลิเคชันเป็นทั้งส่วนสาธารณะและส่วนตัว เพื่อให้มีการทำงานที่คล่องตัวมากกว่าและปลอดภัยกว่า ก็จะเป็นการใช้งาน cloud computing ที่ได้รับประสิทธิภาพการทำงานสูงที่สุด

จุดเด่นของ Hybrid Cloud

  1. ลดต้นทุนบางส่วนในการจัดการให้น้อยลง เนื่องจากไม่ต้องลงทุนกับ private cloud ทั้งหมด

  2. ลดข้อเสียของการเลือกใช้งาน public cloud หรือ private cloud

  3. รวมข้อดีของ public cloud และ private cloud ทำให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คงพอเห็นภาพกันมากขึ้นแล้วสำหรับ public cloud คืออะไร และ private cloud คืออะไร ต่างกันอย่างไรบ้าง มาดูจุดเด่นของคลาวด์แต่ละรูปแบบกันว่ามีจุดเด่นอะไรกันบ้าง

การประยุกต์ใช้งานคลาวด์รูปแบบต่าง ๆ

หลังจากที่เราได้รู้จักกับคลาวด์แต่ละรูปแบบรวมถึงข้อดีของคลาวด์แล้ว เรามาลองดูกันว่าการประยุกต์ใช้งานคลาวด์รูปแบบต่าง ๆ จะเป็นอย่างไร? การประยุกต์ใช้งาน public cloud คือ การใช้งานภายในองค์กรที่สามารถพัฒนาระบบเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือการใช้งานซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ผู้ให้บริการจัดเตรียมไว้ให้ เช่น WordPress, Magento, Docker หรือ Gitlab เป็นต้น นอกจากนี้สำหรับผู้พัฒนายังสามารถใช้งาน public cloud เพื่อทดสอบระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในองค์กรได้อีกด้วย

มาต่อกันที่การประยุกต์ใช้งาน private cloud คือ การใช้งานระบบที่ต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลที่สูง เช่น องค์กรภาครัฐ องค์กรด้านการเงิน หรือการเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าที่ต้องการความปลอดภัยและข้อมูลที่เป็นความลับระดับสูง เป็นต้น

สำหรับการประยุกต์ใช้งาน hybrid cloud คือ การใช้งานภายในองค์กรที่ต้องการการใช้งานจากทั้ง public cloud และ private cloud ซึ่งสามารถตอบโจทย์การทำงานได้มากกว่า ยืดหยุ่นมากกว่า และยังประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การนำ private cloud มาใช้สำหรับระบบต่าง ๆ ที่ต้องทำงานกับข้อมูลภายในองค์กร และนำ public cloud มาใช้เพื่อ scale out เมื่อต้องประมวลผลในช่วงที่ workload เกิด peak time

AUTHOR
Author
NIPA Cloud
Writer

We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.