Tech Knowledge

Big Data ปฏิวัติวงการแพทย์และสุขภาพ

Published : January 30, 2018Time : 1 min read

ไม่อยากตกเทรนด์ต้องรู้จัก Big Data

ถ้าพูดถึงเรื่องของสุขภาพกับเทคโนโลยี หลายๆ คนอาจจะนึกถึงแต่พวกเทคโนโลยีสำหรับการตรวจรักษาโรค จนกระทั่งมี Big Data เข้ามา ต่อไปนี้เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น

Big Data กับการดูแลสุขภาพ (Health-care)

Big Data กับการดูแลสุขภาพ (Health-care) เกี่ยวข้องกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาต้องมีการบันทึกอาการ รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษาทั้งในระยะพักฟื้นและระยะยาวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจะกลับมาเจ็บป่วยได้อีก ซึ่งการบันทึกข้อมูลต่างๆ ไว้ใน Database ที่เปิดให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงและแชร์ลักษณะอาการป่วยได้ นอกจากจะช่วยอัพเดทให้ฐานข้อมูลมีความสดใหม่อยู่ตลอดเวลา ก็ยังส่งเสริมให้ผู้ที่หายจากอาการป่วยแล้วเข้ามาให้คำแนะนำกับผู้ป่วยรายใหม่ที่ยังไม่ทราบวิธีดูแลรักษาตัวเองได้อีกด้วย

ข้อมูลทั้งหมดของผู้ป่วยแต่ละคน อาการ และโรคแต่ละแบบ ไม่ใช่แค่สามารถเอามาแชร์เป็นความรู้ให้ผู้ป่วยรายอื่นๆ แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคอะไรสามารถวิเคราะห์อาการของโรคในเบื้องต้น ช่วยประหยัดเวลาการตรวจเช็คของแพทย์ ไม่เพียงแค่นั้น การใช้งาน Big Data ในลักษณะนี้ก็ส่งผลดีในระยะยาว คือ ช่วยขยายฐานข้อมูลอาการป่วยอีกด้วย โดยในปัจจุบัน มีเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลที่ผู้ป่วยเข้ามาแบ่งปันเกี่ยวกับอาการต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ดีการที่ Big Data เข้ามามีบทบาท ทำให้รูปแบบ Health-care เปลี่ยนโฟกัสไปที่ผู้ป่วยเป็นหลัก (Patient-center) เน้นให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพตนเองให้ดีเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการเจ็บป่วย ทั้งนี้ ความเข้ากันได้ดีระหว่าง Big Data กับ Health-care ก็คือ

ใช้ข้อมูลทำชีวิตถูกต้องได้

ใน Big Data จะมีข้อมูลวิธีการรักษาสุขภาพต่างๆ ที่มีผู้ป่วยท่านอื่นเข้ามาแบ่งปันเอาไว้ก่อนแล้วว่า ควรทานหรือไม่ทานอะไร ใช้ชีวิตแบบไหนเพื่อให้สุขภาพไม่ทรุดโทรม

ดูแลตัวเองได้ถูกทาง

ระบบ Big Data ได้รวมไปถึงระบบการแจ้งเตือนให้เข้ารับการรักษาเพิ่มเติมตามวันและเวลาที่หมอนัด ซึ่งการเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องตามกำหนดเสมอๆ จะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพไปได้

จัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาดูแลได้เหมาะสม

Big Data ไม่ได้เก็บเฉพาะข้อมูลผู้ป่วยอย่างเดียวเท่านั้น ข้อมูลแพทย์ที่ทำการรักษาก็ถูกเก็บเอาไว้ในฐานข้อมูลด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถเลือกแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับให้การรักษาในเคสนั้นๆ ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัว หรือหายป่วยได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เพิ่มคุณภาพการให้บริการ

รูปแบบการทำงานในส่วนของการแพทย์และพยาบาลจะถูกนำมาประมวลผลเพื่อประเมินจุดอ่อนและข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรก็จะถูกนำมาประเมินด้วยเช่นกัน จะได้ปรับเพิ่มหรือลด Demand ยาและระบบต่างๆ ของโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม เป็นการวิเคราะห์ลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น ไปเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด เพื่อคุณภาพการให้บริการที่ดียิ่งกว่าเดิม

ได้นวัตกรรมที่ดีขึ้น

นวัตกรรมการรักษาโรคที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดจำเป็นต้องอาศัย Big Data เพื่อให้ฝ่าย R&D สามารถนำข้อมูลไปประเมินสำหรับการค้นคว้าวิจัยสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบใหม่ขึ้นมา ฝ่ายวิจัยสร้างเวชภัณฑ์และยาเองก็จำเป็นต้องมีข้อมูลโรคเพื่อการวิจัยตัวยาใหม่ๆ เช่นเดียวกัน

นับว่า Big Data ให้ผลดีต่อทุกฝ่าย ทั้งผู้ป่วย แพทย์ และนักวิจัยต่างต้องการ Big Data เพื่อสร้างความก้าวหน้าทางด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรักษา หรือดูแลร่างกายให้เเข็งแรง

AUTHOR
Author
NIPA Cloud
Writer

We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.

Cookies

By clicking “Accept”, you consent to our use of cookies to enhance your experience on our website. Cookie Policy