หมดยุค VMware? ลูกค้าพากันย้ายออก และ Open Clouds คือทางรอด! | CloudCast Central EP 6
จากงาน NIPA Cloud Partner Summit 2024 Open Clouds : Life After VMware สรุปได้ว่า คำ ๆ เดียวที่จะอธิบาย เรื่องนี้ได้ก็คือ “ฝันร้ายที่กลายเป็นจริง” เพราะว่าก่อนหน้านี้ประมาณปีครึ่ง แวดวง Tech ของเราก็ต่างพากันคาดเดาทิศทางผลลัพธ์จากการเข้าซื้อกิจการ VMware ของ Broadcom กันออกมามากมาย และเมื่อดูจากประวัติของ Broadcom ที่เคยเข้าซื้อกิจการของ CA Technologies ในปี 2018 และ Symantec. ปี 2019 จะเห็นได้ว่าผลกระทบที่ตามมาหลังจากโดน Broadcom ซื้อไปแล้ว ก็ไม่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจของเหล่าลูกค้ากันสักเท่าไหร่
ถ้าเรามองย้อนกลับไป เราจะเจอว่า หลังจาก Broadcom เข้าซื้อกิจการ Symantec แล้ว เขาหันไปโฟกัสแค่ลูกค้ากลุ่มสำคัญ ๆ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2,000 ราย และปล่อยให้ลูกค้าที่เหลืออีกประมาณ 100,000 ราย ไปมองหาทางเลือกอื่นแทน
“และแน่นอนครับว่าเรื่องลูปนี้ก็เกิดขึ้นกับ VMware เช่นกัน”
การ Takeover กิจการ VMware ของ Broadcom ส่งผลอะไรบ้าง?
ก่อนอื่น ต้องขอเล่า Background ก่อนว่า ดีลนี้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 เมื่อ Broadcom ประกาศแผนว่าจะ takeover กิจการของ VMware ซึ่งก็อย่างที่เรารู้กันนะครับ ดีลนี้เป็นหนึ่งในดีลเข้าซื้อกิจการที่มูลค่าสูงที่สุดของประวัติศาสตร์วงการ Tech มูลค่ารวมทั้งสิ้นก็ 2,196,000 ล้านบาท
โดยดีลนี้ ก็ต้องเจอกับการตรวจสอบระเบียบที่เข้มงวดมาก รวมถึงมีการสอบสวนจากหลาย ๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน เนื่องจากเขาก็มีข้อ concern กันเกี่ยวกับผลกระทบของดีลนี้ที่จะมีต่อตลาด Hardware และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สุดท้าย Broadcom ก็ปิดดีลได้สำเร็จในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2023 ที่ผ่านมา สิริรวมแล้วใช้เวลาไป 546 วันหลังจากประกาศ
บอกเลยครับว่าการ takeover ในครั้งนี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงทาง Landscape ของเทคโนโลยีระดับ Enterprise และส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งบริษัท VMware, ตัว broadcom เอง และแน่นอนว่ากระทบลูกค้าระดับ enterprise ที่ใช้งาน virtualization ของเขาเต็ม ๆ ครับ
Broadcom เข้ามาทำอะไรหลังจาก Takeover VMware?
เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Broadcom เขาเข้ามาทำอะไรกับ VMware บ้าง เริ่มต้นจากในเชิง Strategy ก่อนครับ เราจะเห็นได้ว่า Broadcom ได้โยกกลยุทธ์มาโฟกัสที่ Global Enterprise เต็มตัว แล้ว โดยเขาจะเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าสำคัญลำดับต้น ๆ ที่มียอดใช้จ่ายสูงมาก ๆ ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 600 ราย เพราะลูกค้ากลุ่มนี้จะมีกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเข้มงวด ไม่ชอบความเสี่ยง แล้วก็ไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการง่าย ๆ ซึ่งกลยุทธ์ที่ Broadcom ใช้ในครั้งนี้ก็เหมือน ๆ กับที่เราเคยเห็นจากเคสซื้อกิจการ CA Technologies และ Symantic ในอดีต
และแน่นอนว่าพอโฟกัสแค่ลูกค้าระดับสูงแล้ว ทำให้ไม่ได้สนใจลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ ที่เล็กลงมา กว่า 100,000 รายแล้วครับ ตรงนี้ก็ทำให้เขาสามารถลดค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ ที่จะ serve ลูกค้ารายเล็ก ๆ ลงได้ และได้กำไรเพิ่ม แถมยังเอาเวลาไปโฟกัส เพื่อดูดเงินจากลูกค้ารายใหญ่กว่า 600 รายที่ได้บอกไปตอนต้น
การที่ Broadcom ไม่ได้โฟกัสที่บริษัทขนาดเล็กแล้ว ก็หมายความว่า Solutions, features หรือการออก Product ของ VMware ในอนาคต ก็จะไม่ได้ให้ความสำคัญหรือตอบสนองกับความต้องการของบริษัทเล็กได้ขนาดนั้นอีกต่อไป
อย่างที่เห็นชัดๆ เริ่มต้นจากการที่ Broadcom เข้ามา ยกเลิกโมเดลใบอนุญาตแบบถาวร หรือว่า Perpetual license เพื่อบังคับให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้โมเดลใบอนุญาตแบบรายปี หรือ Subscription แทน
หากลูกค้าไม่เปลี่ยน ก็จะไม่สามารถต่ออายุข้อตกลงบำรุงรักษาหรือ MA ในปีนั้น ๆ ได้ จนกว่าลูกค้าจะเปลี่ยนมาซื้อใบอนุญาต Subscription แบบรายปี
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดข้อ Concern เกี่ยวกับการต้องแบกรับราคาของโมเดล Subscription และจากข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการของลูกค้าที่ได้พูดคุยกันเบื้องต้น โดยมีการประเมินว่าต้นทุนของโมเดลนี้จะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม 4 เท่าหรือ 400%
อีกสาเหตุหนึ่งที่ Broadcom ทำแบบนี้ ก็เพราะว่าเขาต้องการรายได้ที่สม่ำเสมออยู่ตลอด ด้วยการล็อคลูกค้าให้อยู่กับ Subscription model ให้ได้ และการเปลี่ยนแปลงนี้คงไม่กระทบ Enterprise ระดับใหญ่ที่ใช้ VMware ใน Data center ของตัวเอง
แต่แน่นอนว่ามันเป็นการไล่บี้ให้ลูกค้ากลุ่ม Individual และพวกธุรกิจขนาดเล็กไปมองหาทางออกอื่นแทน
Open Clouds ทางออกใหม่ที่ไร้ VMware?
พอมันเกิดเรื่องขึ้นอย่างที่ผมได้เล่ามาทั้งหมดเนี่ย หลาย ๆ คนก็อาจจะถามตัวเองว่า ‘แล้วต้องทำไงต่อ’ เพราะเราก็ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก
สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกก็คือ ลองไปบวกลบคูณหารต้นทุนของ VMware ที่ Broadcom ขึ้นราคามาก่อน เพื่อที่จะดูว่าตัวโมเดล Subscription แบบใหม่จะกินต้นทุนเท่าไหร่ และคุ้มไหมกับการลงทุน ถ้าดูแล้วคุ้มค่า ก็ใช้ต่อก็ได้ครับ
แต่ถ้าคุณไม่อยากให้ Broadcom มาควบคุม Infrastructure ของคุณขนาดนั้น ก็ถึงเวลาแล้วล่ะครับ ที่ควรจะต้องย้ายออกจาก VMware ไปหา Hypervisor เจ้าอื่น
น่าเสียใจนะครับที่คนต้องย้ายออกจาก vmware เหตุผลไม่ใช่เพราะมีตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่า แต่เป็นเพราะ vmware กลายเป็นทางเลือกที่แย่ลง
ในตอนนี้เราก็จะเห็นกันว่าคู่แข่งของ VMware เริ่มพากันเสนอ "แพ็คเกจย้ายออกจาก VMware" สุดพิเศษมากมาย แม้แต่ในประเทศไทย ผู้ใช้ VMware ก็เริ่มพากันมองหาทางเลือกอื่น เช่น OpenStack, Nutanix หรือ Proxmox เป็นต้น
ลูกค้าหลายรายก็พยายามหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีลิขสิทธิ์หรือ vendor lock-ins และให้ความสำคัญกับซอร์ฟแวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์หรือพวก open-source solutions มากขึ้นเรื่อย ๆ แถมมีลูกค้าบางกลุ่มที่ต้องการทางออกที่เร็วและง่ายที่สุด ด้วยการหันไปใช้ hyper-converged solutions
แต่อย่างน้อยลูกค้า VMware ที่เราได้มีโอกาสพูดคุยด้วยทุกราย ก็กำลังประเมินทางเลือกและพิจารณาสิ่งที่พวกเขาไม่เคยคิดมาก่อน นั่นก็คือ “อนาคตที่ไร้ VMware”
Open Clouds คืออะไร?
หากใครฟังมาถึงตรงนี้แล้ว และอยู่ในสาย System Integrator หรือ Software House Consulting และกำลังมองหาทางรอดเหมือนกันกับหลาย ๆ คน สามารถรับชมคลิปวิดีโอจากงาน NIPA Cloud Partner Summit 2024 Open Clouds : Life After VMware งานอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดจาก NIPA Cloud จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสรับ Partner ให้นำโซลูชันไปใช้กับลูกค้าของคุณ
YouTube Chanel: NIPA Cloud
Facebook: Nipa.Cloud
TikTok: NIPA Cloud
We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.