Tech Trending

Gartner ชี้ ภายในปี 2025 Digital Sovereignty จะส่งผลกระทบต่อองค์กรข้ามชาติถึง 30% หากยังไม่ควบคุมจัดการ

Published : October 6, 2023Time : 2 min read

Gartner คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2568 (ค.ศ. 2025) องค์กรข้ามชาติร้อยละสามสิบจะประสบปัญหาการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์ หรือการดำเนินการทางกฎหมาย อันเนื่องมาจากความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลที่ไม่ได้รับการควบคุมจัดการ

Gartner เป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาที่มีอายุยาวนานกว่า 40 ปี ตั้งอยู่ในเมืองสแตมฟอร์ด รัฐคอนเนตทิคัต โดยดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีและแบ่งปันงานวิจัยนี้ทั้งผ่านการให้คำปรึกษาส่วนตัว ตลอดจนโปรแกรมสำหรับผู้บริหารและการประชุม ลูกค้าของบริษัทกระจายอยู่ทั่วโลกกว่า 90 ราย ประกอบด้วยองค์กรขนาดใหญ่ หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเทคโนโลยี และบริษัทการลงทุน

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา Emma Keen ได้เขียนบทความจากข้อมูลที่ Brian Prentice, VP Analyst จาก Gartner ได้กล่าวในงาน Gartner IT Symposium/Xpo ที่โกลด์โคสต์ในวันเดียวกัน ว่า “ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา บริษัทข้ามชาติได้บริหารจัดการการดำเนินธุรกิจโดยประเมินความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไปดำเนินการ จนตอนนี้บริษัทเหล่านี้จำเป็นต้องขยายความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดให้รองรับดิจิทัล เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากการใช้งานได้กระจายออกเป็นส่วน ๆ มากขึ้นตามสายงานระดับประเทศและระดับภูมิภาค”

Gartner ได้ให้ข้อมูลว่าความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัล (digital sovereign risk) คือ ความสามารถของรัฐบาลในการตระหนักถึงนโยบาย ซึ่งปราศจากอุปสรรคที่เกิดจากข้อบังคับทางดิจิทัลของรัฐบาลต่างประเทศโดยตรงต่อพลเมืองและธุรกิจท้องถิ่น รวมถึงนโยบายที่ดำเนินการผ่านยักษ์ใหญ่ทางดิจิทัลภายใต้การควบคุมกฎระเบียบ

“ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ดำเนินกลยุทธ์อำนาจดิจิทัลสูงสุดนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือภาระหน้าที่ด้านกฎระเบียบข้ามเขตอำนาจศาล ข้อจำกัดด้านภาษี การห้ามนำเข้า-ส่งออก โปรโตคอลเทคโนโลยีเฉพาะประเทศ และข้อกำหนดเนื้อหาในท้องถิ่นที่ซับซ้อน ด้วยบทบาทที่สำคัญของดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงต้องเข้าใจความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลและผลกระทบต่อสภาวะทางธุรกิจ” เพรนทีซเสริม

ดังนั้น Gartner จึงต้องการเน้นย้ำประเด็นสำคัญสามประการที่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลที่จะต้องได้รับการจัดการควบคุม เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์ หรือการดำเนินการทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

1. ความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลขยายมาสู่ลูกค้าข้ามชาติของผู้ให้บริการเทคโนโลยี

ผลกระทบนี้ส่วนใหญ่เกิดจากกลยุทธ์อำนาจดิจิทัลสูงสุด (sovereign digital) ที่เพิ่มจำนวนขึ้น และมีผลต่อการดำเนินการของผู้ให้บริการเทคโนโลยี มหาอำนาจกำลังแข่งขันกันและเล่นกับภาคส่วนและผู้ให้บริการเทคโนโลยีเฉพาะกลุ่ม เช่น ข้อจำกัดด้านซัพพลายเออร์ 5G อย่าง Huawei หรือ Nokia สิ่งนี้อาจเป็นผลมาจากแรงกดดันด้านกฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับชาติ หรือการตอบสนองกะทันหันต่อเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น

จากรายงานของ Gartner วิธีการที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลนั้นอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานของลูกค้าข้ามชาติ ดังนั้น บริษัทข้ามชาติจึงต้องพิจารณาผู้ให้บริการเทคโนโลยีเหล่านี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่กว้างขึ้นขององค์กร พร้อมประเมินเชิงรุกและลดความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลของตัวเอง

2. การเริ่มทำให้เป็นสินค้าดิจิทัลจะหยุดชะงัก หากไม่มีการปรับให้เข้ากับท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

เมื่อเป้าหมายการไปสู่ดิจิทัลนั้นเพิ่มมากขึ้น ความพยายามในการทำให้กลายเป็นสินค้าดิจิทัลก็ได้ผลักดันองค์กรต่าง ๆ ไปสู่การผลิตสินค้าดิจิทัลแบบแยกส่วนและตามความต้องการของตลาด ที่มักจะมีกำไรขาดทุน (P&L) เป็นของตัวเอง และหากพบว่าตลาดอยู่ในพื้นที่อื่นนอกเหนือจากประเทศบ้านเกิดขององค์กร Gartner แนะนำขั้นตอนที่จะใช้จัดการควบคุมความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าดิจิทัลในแต่ละรูปแบบ

อย่างไรก็ตาม กระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องปรับสินค้าให้เข้ากับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับใช้กับข้อบังคับนั้น ๆ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมและภาษาของลูกค้าเฉพาะตลาด มาตรฐานเทคโนโลยีระดับชาติที่แตกต่างกัน ระเบียบการที่รัฐสนับสนุน และกรอบการทำงานที่สนับสนุนโดยรัฐบาล เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการตัดสินใจที่จำเป็นในการผลิตสินค้าดิจิทัลที่จะให้บริการในตลาดหลายแห่ง

3. ธุรกิจดิจิทัลจะตกอยู่ท่ามกลางการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล

ขณะที่องค์กรต่าง ๆ เพิ่มเป้าหมายทางดิจิทัลและกลายมาเป็นธุรกิจดิจิทัล องค์กรเหล่านี้ก็จะต้องรับมือกับข้อขัดแย้งของตลาดเสรีดิจิทัลในวงกว้างเช่นเดียวกับผู้ให้บริการเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้องค์กรตกอยู่ท่ามกลางการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล (digital geopolitical competition) ที่จะส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ของธุรกิจ

Gartner ได้แนะนำวิธีที่จะประสบความสำเร็จว่า ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ความเสี่ยง (Chief Risk Officer: CRO) ในองค์กรทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่อย่างนั้นกลุ่มเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะประสบปัญหาในการทำความเข้าใจขอบเขต จุดประสงค์ และผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลในองค์กรที่ขยายเพิ่มมากขึ้น

NIPA Cloud ในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์ไทยมาตรฐานสากล ที่มุ่งเน้นการให้บริการองค์กรธุรกิจไทยและให้ความสำคัญกับข้อมูลภายในประเทศ เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ผลกระทบด้านภูมิรัฐศาสตร์นี้จะเกิดขึ้นในสังคมโลกในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเรามองว่าหากบริษัทข้ามชาติที่ธุรกิจใช้ไทยบริการอยู่นั้นยังไม่มีมาตรการรับมือกับความเสี่ยงด้านอำนาจสูงสุดทางดิจิทัลนี้ ข้อมูลขององค์กรอาจจะมีปัญหาได้ แต่หากธุรกิจหันมาใช้บริการเทคโนโลยีที่พัฒนาด้วยคนไทยและตั้งอยู่ภายในประเทศ พร้อมปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA อย่างเคร่งครัด ธุรกิจก็จะไม่ประสบปัญหาเหล่านั้นอีกต่อไป และยังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

ที่มา

แปลจากบทความ Gartner Predicts 30% of Multinationals Will Be Severely Impacted By Unmanaged Digital Sovereign Risk By 2025 จาก Gartner.com

AUTHOR
Author
Sorawit Pakdeeasa
Content Writer

a passive(-aggressive) learner and a ramyeon lover.