Load Balancer สำคัญยังไง? ธุรกิจไหนควรใช้งาน?
ธุรกิจของคุณมีหน้าเว็บไซต์หรือไม่? หากใช่ การมีหน้าเว็บที่ลื่นไหล ไม่หน่วง และสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ยูสเซอร์นั้นจึงเป็นเรื่องที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เนื่องจากหน้าเว็บไซต์ถือเป็นหน้าตาของธุรกิจคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เครื่องมือจัดการปัญหาดังกล่าวจึงถูกออกแบบมาในชื่อ Load Balancer
Load Balancer เรียกได้ว่าเป็น ‘บอดี้การ์ด’ ของเว็บไซต์ ที่ทำหน้าที่กระจาย request จาก traffic ของยูสเซอร์หรือ client ปริมาณมากที่เข้ามา เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบรับ traffic มากเกินไปที่อาจก่อให้เกิด downtime หรือระบบล่มได้
ความสำคัญของ Load Balancer
หลายคนยังเกิดข้อสงสัยว่า แล้วเจ้าเทคโนโลยี Load Balancer นี้สำคัญยังไง? จินตนาการว่าคุณเปิดหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อขายสินค้า เมื่อมีลูกค้ามากขึ้น traffic ที่เข้ามายังหน้าเว็บของคุณก็เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ยอดการซื้อของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ของคุณไม่สามารถรองรับ traffic จำนวนมากได้ ก็จะทำให้ระบบเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักและนำไปสู่อาการล่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Load Balancer จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระจาย request จาก traffic จำนวนเหล่านั้นให้กับเซิร์ฟเวอร์ backend เพื่อป้องกันไม่ให้เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักหรือโอเวอร์โหลดจนเกินไป โดย request ของ client ที่เข้ามาจะถูกแบ่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ในปริมาณเท่า ๆ กัน เพื่อประสิทธิภาพการทำงานและความรวดเร็วในการตอบสนองนั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น load balancer ยังเป็นตัวช่วยกระจาย workload ให้ bandwidth ของเซิร์ฟเวอร์ไม่หนาแน่นจนเกินไป เพื่อให้ยูสเซอร์เข้าถึงเว็บไซต์นั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมี high availability (HA) ที่เมื่อเซิร์ฟเวอร์ใดเซิร์ฟเวอร์หนึ่งหยุดทำงาน ระบบก็จะสั่งการให้อีกเซิร์ฟเวอร์หนึ่งมาแทนที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่เกิด downtime
ธุรกิจใดบ้างที่ควรใช้ Load Balancer?
เมื่อรู้จัก load balancer และเห็นภาพแล้วว่ามีความสำคัญยังไง ต่อไปจะเป็นการแนะนำว่า load balancer นี้เหมาะกับธุรกิจประเภทไหน ซึ่งหากคุณเป็นหนึ่งในธุรกิจเหล่านี้ มีการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน หรือประสบปัญหาคล้ายกัน เทคโนโลยีนี้ก็ตอบโจทย์คุณอย่างแน่นอน
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-commerce)
ในปัจจุบัน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซนับเป็นธุรกิจยอดนิยมและมีผู้ใช้บริการที่หลากหลาย อีกทั้งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็หันมาปรับใช้อีคอมเมิร์ซกันมากขึ้น ซึ่งการซื้อ-ขายออนไลน์เช่นนี้มักดึงดูดลูกค้าด้วยการออกโปรโมชันที่เน้นการเพิ่มยอดขาย เช่น โปรโมชันประจำเดือนของ Shopee, Lazada, Grab และอื่น ๆ, โปรโมชันลดราคาที่จำกัดจำนวนสิทธิ์, โปรโมชันแบบกดก่อนได้ก่อน (first come, first serve), โปรโมชันจำกัดช่วงเวลา, ฯลฯ ทำให้หน้าเว็บไซต์โปรโมชันเหล่านี้จำเป็นต้องมีความสามารถในการรองรับ traffic ปริมาณมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากเว็บไซต์เหล่านี้ไม่มีความสามารถในการรับมือดังกล่าว ก็อาจสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น เว็บค้าง เว็บล่มขณะกดโปรฯ จนเสียสิทธิ์รับโปรโมชัน และอาจทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียลูกค้า สูญเสีย brand loyalty และยิ่งไปกว่านั้น อาจสร้างชื่อเสียงไม่ดีเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดียได้
ธุรกิจจองตั๋วออนไลน์ (online ticket booking)
หากติดตามข่าวสารในทวิตเตอร์ เมื่อมีการจัดคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังระดับโลกหรือศิลปินที่มีแฟนด้อมขนาดใหญ่ บ่อยครั้งคุณจะหนีไม่พ้นข่าวที่พูดถึงเว็บไซต์กดบัตรออนไลน์ที่มักจะล่มเพราะมี traffic จำนวนมากเข้าไปแย่งกันซื้อบัตรคอนเสิร์ตในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะหากช้าไปแค่เสี้ยววินาที ก็หมายความว่าคุณอาจพลาดสิทธิ์เข้าชมคอนเสิร์ตของศิลปินที่คุณชื่นชอบในครั้งนั้นเลยก็เป็นได้ หรือยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจย่อยที่เกิดจากการจำหน่ายบัตรออนไลน์นี้คือธุรกิจอัปราคาตั๋ว นั่นคือ หากคุณไม่สามารถซื้อบัตรในช่วงนาทีแรกที่เปิดขายในเว็บไซต์ คุณอาจจะต้องไปซื้อบัตรจากผู้ที่กดได้แล้วนำมาขายต่อในราคาที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้น ในฐานะผู้จำหน่ายบัตร คุณก็ควรที่จะดูแลระบบไม่ให้มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมากที่สุดด้วยการกระจาย request ให้กับเว็บไซต์ด้วย load balancer
ธุรกิจสตรีมมิ่ง (streaming)
ในยุค 4G เป็นต้นมา ธุรกิจสตรีมมิ่งก็เป็นธุรกิจยอดนิยมอีกธุรกิจหนึ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็น เกมสตรีมมิ่ง ดูภาพยนตร์ออนไลน์ คอร์สเรียนออนไลน์ ตลอดจนการไลฟ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ผู้ให้บริการจึงควรคำนึงถึง traffic ที่เข้ามารับชมเป็นสำคัญ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ระดับโลกหรือเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มียอดผู้เข้าชมสตรีมพุ่งสูงถึงล้านวิวต่อครั้ง หากไม่มีการกระจาย request ของยูสเซอร์ที่เข้ามารับชม ก็อาจทำให้สตรีมดังกล่าวเกิดการดีเลย์หรืออาจเกิด downtime ได้ ซึ่งก็อาจจะไม่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์หรือการสตรีมนั้น ๆ เท่าไหร่นัก
เว็บไซต์ธุรกรรมทางการเงิน (financial transaction)
ธุรกรรมทางการเงินก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือสถาบันทางการเงินไม่ควรเพิกเฉย เพราะหากการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ขัดข้อง ไม่สามารถชำระเงินได้อย่างราบรื่น เว็บไซต์หรือสถาบันทางการเงินนั้น ๆ ก็อาจจะสูญเสียความน่าเชื่อถือ ซึ่งความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่สถาบันทางการเงินต้องตระหนัก เพราะฉะนั้น โซลูชันที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้ก็คือ load balancer เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์เกิดความคล่องตัวมากที่สุด
เว็บไซต์สมัครสอบออนไลน์ (online exam registration)
การสมัครสอบก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ประสบปัญหาล่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (หากไม่ได้ใช้งาน load balancer) โดยกรณีเว็บสมัครสอบล่มที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดขณะหนึ่งคือกรณีของสนามสอบวัดความรู้ความสามารถระดับประเทศอย่าง ก.พ. หรือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่มี traffic นับแสนรายกรูเข้ามาสมัครสอบในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งก่อนหน้านี้เว็บไซต์สมัครสอบนั้นยังไม่มีระบบรองรับ traffic ปริมาณนั้นได้ จึงทำให้เว็บไซต์ล่มเสมอมา แต่เมื่อปี 2565 NIPA Cloud ได้เข้าไปจัดการระบบ วางโครงสร้างพื้นฐาน ออกแบบ architecture และนำเทคโนโลยี load balancer เข้าไปช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ก็ทำให้เว็บไซต์สามารถรองรับ traffic หลักแสน และไม่ทำให้เกิดการล่มหลังจากนั้นเป็นต้นมา ดังนั้น หากคุณเป็นเว็บไซต์สมัครสอบออนไลน์หรือมีปัญหาเดียวกันกับกรณี ก.พ. load balancer คือคำตอบสุดท้ายที่จะช่วยให้ระบบของคุณไม่ล่มอีกต่อไป
Load-Balancer-as-a-Service จาก NIPA Cloud
NIPA Cloud ได้พัฒนาเซอร์วิสที่มาเสริมการให้บริการ NIPA Cloud Space ของเรา นั่นคือ Load-Balancer-as-a-Service ที่มาช่วยกระจาย workload ใน instance, สร้าง high availability และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับแอปพลิเคชันของคุณ โดย load balancer ของเรารองรับการใช้งานถึง 2 กรณี ได้แก่
- External load balancer
- Internal load balancer
นอกจากนี้ LBaaS จาก NIPA Cloud ยังมี availability zone ถึง 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ (BKK) และนนทบุรี (NON) ที่คุณสามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งที่ไหนตามความเหมาะสมของการใช้งาน และเซอร์วิสของเราให้บริการแบบ self-service คือ ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการ load balancer ได้ด้วยตัวเองผ่านหน้า portal ของเรา ซึ่งจะสามารถช่วยประหยัดเวลาการทำงานที่ไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่และสะดวกในการปรับแต่งเองได้เป็นอย่างมาก
LBaaS ของเรายังพัฒนาจนเกิดฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย อาทิ TCP/UDP forwarding, weight configuration, health check, algorithms และฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมายที่จะตามมาในอนาคต เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของยูสเซอร์มากที่สุด โดยเราให้บริการ load balancer 2 ประเภท ได้แก่
- Standard load balancer
- Dedicated load balancer
จะเห็นได้ว่า load balancer คือเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นหลัก หากธุรกิจของคุณมีแนวคิดที่เน้นการใช้งานของยูสเซอร์เช่นเดียวกัน และไม่ต้องการให้หน้าเว็บเกิดการล่ม เพราะเว็บไซต์ก็คือหน้าตาของบริษัทที่ผู้ใช้งานพบเป็นสิ่งแรก ดังนั้น อย่าลังเลที่จะใช้บริการ load balancer และ NIPA Cloud คือผู้ให้บริการที่ดีที่สุด เพราะเรามีแนวคิดที่ต้องการให้ลูกค้าของเราได้ใช้บริการที่ดีที่สุดเช่นเดียวกัน
เปิดแล้ว! คอร์สอบรมการใช้งาน load balancer จาก NIPA Cloud ที่จะสอนให้ผู้ที่สนใจใช้งานได้เข้าใจการทำงานของ load balancer แบบรู้ลึกรู้จริง จากผู้มีประสบการณ์ด้านคลาวด์ของเรา ฐิติวัชร์ นันทนิตติ—Cloud Business Operation Manager และ พิพิธพนธ์ นวลงาม—Product Owner ที่จะมาบรรยายในหัวข้อดังต่อไปนี้ :
- VM Usage Analysis
- Design the Infrastructure with Load Balancer Solution
- How to Use LBaaS (Load-Balancer-as-a-Service)
- Real Use Case Scenario
Load Balancer Training จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 10:30-12:00 น. ผ่านช่องทาง Zoom Webinars