Tech Knowledge

ทำความรู้จัก Load Balancer ตัวช่วยสำคัญจัดการระบบเซิร์ฟเวอร์

Published : August 11, 2022Time : 2 min read

ในการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องรับมือกับทราฟฟิกปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ องค์กรทางการเงิน และอื่น ๆ อีกมากมาย ธุรกิจเหล่านี้จะต้องเผชิญปัญหาการจัดการระบบเซิร์ฟเวอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Load Balancer จึงเข้ามามีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว

Load Balancer คืออะไร?

Load Balancer คือระบบกระจาย request จากการใช้งานของยูสเซอร์หรือ client ไปยังแอปพลิเคชันหรือเซอร์วิสที่อยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดภาระของเครื่องและลดเวลา downtime ของระบบเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งานของยูสเซอร์ปริมาณมาก

ข้อดีของ Load Balancer

  1. เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบแอปพลิเคชันหรือเซอร์วิส โดยสามารถ scale out ด้วยการทำ load balancing

ในกรณีที่ต้องการรองรับการใช้งานของยูสเซอร์ที่มีจำนวนมากขึ้น เราสามารถที่จะเพิ่มจำนวนของแอปพลิเคชันหรือเซอร์วิสโดยการเพิ่มจำนวนของเซิร์ฟเวอร์ และกำหนดอัลกอริทึมสำหรับจัดการทราฟฟิกการใช้งานของยูสเซอร์ให้สอดคล้องกับ resource ของเซิร์ฟเวอร์นั้น ๆ ได้

  1. ทำให้แอปพลิเคชันหรือเซอร์วิสมี High Availability (HA) มากขึ้น

การใช้ load balancer ในการจัดการทราฟฟิกการใช้งานของยูสเซอร์ไปยังแอปพลิเคชันที่อยู่หลาย ๆ เซิร์ฟเวอร์นั้น เมื่อแอปพลิเคชันบนเซิร์ฟเวอร์ใดๆ เกิดปัญหา ไม่สามารถให้บริการหรือสามารถใช้งานได้ load balancer จะมีการ health check เพื่อตรวจสอบ และหยุดส่งทราฟฟิกของยูสเซอร์ไปยังแอปพลิเคชันที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์นั้นทันที และส่งต่อไปยังแอปพลิเคชันบนเซิร์ฟเวอร์ที่พร้อมให้บริการ ซึ่งทำให้แอปพลิเคชันสามารถให้บริการและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

  1. ช่วยเพิ่มความเร็วของแอปพลิเคชันหรือเซอร์วิส

เนื่องจาก load balancer ทำการกระจายทราฟฟิกของยูสเซอร์ไปยังแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่อง ทำให้การใช้งานของยูสเซอร์ไม่ต้องรอคิวหรือรอการโพรเซสข้อมูลที่ต้องใช้เวลานานเหมือนกับแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวที่มี resource อยู่อย่างจำกัดทั้ง CPU เมมโมรี และฮาร์ดดิสก์ ทำให้การใช้งานของยูสเซอร์เร็วขึ้น เช่น สามารถอัปโหลด-ดาวน์โหลดข้อมูลรูปภาพจากเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น การเข้าถึงข้อมูลของแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น เป็นต้น

หากไม่มี Load Balancer จะเป็นอย่างไร?

  1. ไม่สามารถรองรับการให้บริการหรือการใช้งานของยูสเซอร์จำนวนมาก ๆ ได้ เนื่องจากไม่รองรับการขยาย (scale out) ของแอปพลิเคชันหรือเซอร์วิสไปยังเซอร์วิสหลาย ๆ เครื่องได้

  2. แอปพลิเคชันหรือเซอร์วิสไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องได้ เนื่องจากแอปพลิเคชันทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ในกรณีเกิดปัญหาจึงส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชันได้

  3. การใช้งานของยูสเซอร์ช้าในกรณีที่มีการใช้งานของยูสเซอร์จำนวนมาก เนื่องจากแอปพลิเคชันทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียวที่มี resource อยู่อย่างจำกัด

เริ่มต้นการย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์กับ NIPA Cloud วันนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกองค์กร
AUTHOR
Author
NIPA Cloud
Writer

We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.