VPS vs Cloud เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณ!
เมื่อรู้จัก VPS (Virtual Private Server) และเห็นความแตกต่างและความเหมือนกันระหว่าง VPS และเทคโนโลยีคลาวด์กันไปแล้วเบื้องต้น บทความนี้ NIPA Cloud จะพามาเจาะลึกอีกขั้นว่า แล้ว VPS และคลาวด์นั้นมีข้อดีและข้อเสียยังไง เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรที่กำลังต้องการโซลูชันที่ช่วยให้ธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างไม่มีอุปสรรค เช่นองค์กรของคุณ!
VPS
ข้อดีของ VPS
ราคาถูกกว่า และประสิทธิภาพดีกว่า shared hosting และ dedicated server ในอดีต เว็บไซต์มักใช้บริการ shared hosting เนื่องจากมีราคาถูก แต่เมื่อเกิดปัญหา traffic หรือความเสถียร ยูสเซอร์มักจำเป็นต้องย้ายมาใช้บริการ dedicated server ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าก็จริง แต่มีค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว แต่เมื่อ VPS ถือกำเนิด ก็เหมือนเป็นการรวมข้อดีของทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน ทำให้เมื่อใช้งาน VPS เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ของคุณก็จะรันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในราคาที่ถูกลง
กำหนดขนาดได้ตามต้องการ VPS นั้นยังมีข้อดีตรงที่เมื่อต้องการใช้งาน ยูสเซอร์ต้องกำหนดสเปกของ VPS ที่ต้องการ ทั้งขนาดของ CPU, RAM และดิสก์ กล่าวคือ ยูสเซอร์จำเป็นต้องรู้ขนาดการใช้งานของตัวเองประมาณหนึ่ง แต่หากไม่เพียงพอก็สามารถกำหนดเพิ่มได้ ทำให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โจมตียาก เมื่อคุณคือธุรกิจที่ต้องการใช้งาน VPS เฉพาะภายในองค์กรที่ไม่ได้ออกสู่อินเทอร์เน็ตภายนอก และมี VPS อยู่ที่ไซต์ของคุณเอง การโจมตีทางไซเบอร์ต่าง ๆ ก็จะเจาะเข้ามายากขึ้น ทำให้ระบบมีความปลอดภัยสูง
เริ่มต้นติดตั้งง่าย ไม่ต้องกังวลเมื่อคุณเป็นผู้ที่ไม่เคยใช้งาน VPS มาก่อน เพราะเทคโนโลยีชนิดนี้จำเป็นต้องใช้บริการผ่านผู้ให้บริการหรือโฮสต์เท่านั้น โดยยูสเซอร์จะต้องกำหนดสเปกที่ต้องการใช้งาน จากนั้นโฮสต์ก็จะจัดสรร physical server ตามสเปกดังกล่าว หมดกังวลเรื่องการติดตั้งที่ยุ่งยากซับซ้อนนั่นเอง
ข้อเสียของ VPS
รัน OS-based ได้เพียง 1 OS ใน physical server ตัวเดียว การใช้งาน VPS นั้นค่อนข้างมีข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดหลัก ๆ ก็คือใน 1 physical server จะสามารถรัน OS ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันได้เพียง 1 ชนิดเท่านั้น แม้จะแบ่งเป็นหลาย ๆ VPS ก็ตาม ทำให้หากยูสเซอร์ต้องใช้งานหลาย OS-based จึงจำเป็นต้องใช้บริการ physical server มากกว่าหนึ่งเครื่อง ซึ่งนั่นทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากขึ้น
จำเป็นต้องปรับขนาดผ่านผู้ให้บริการ เนื่องจาก VPS จำเป็นต้องใช้บริการผ่านโฮสต์ เมื่อยูสเซอร์ต้องการเพิ่มขนาดจึงไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ยูสเซอร์ต้องแจ้งสเปก VPS ใหม่ที่ต้องการใช้งาน จากนั้นโฮศต์ก็จะทำการจัดสรรพื้นที่ใหม่มาให้ ดังนั้น หากคุณคือธุรกิจที่ต้องมีการปรับขนาดเพื่อรองรับการใช้งานอยู่บ่อยครั้ง การใช้บริการ VPS จึงอาจจะไม่ตอบโจทย์ธุรกิจประเภทนี้สักเท่าไหร่นัก
ใช้งานลำบาก นอกจากการปรับขนาดผ่านผู้ให้บริการแล้ว การใช้งานนั้นจำเป็นต้องผ่านโฮสต์เท่านั้น เมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด เช่น ระบบล่ม เซิร์ฟเวอร์ถูกโจมตี ยูสเซอร์จะต้องแจ้งผู้ให้บริการเพื่อมาดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณต้องการใช้ข้อมูลกลางดึกแต่ระบบล่ม และผู้ให้บริการ VPS ไม่ได้สแตนด์บายตลอด 24 ชั่วโมง คุณก็อาจจะสูญเสียทั้งเวลาและโอกาสทางธุรกิจเพื่อรอให้โฮสต์มาดำเนินการแก้ไขในเวลาทำการวันถัดไป
Cloud
ข้อดีของคลาวด์
ยืดหยุ่น ปรับขนาดได้ตามต้องการ (flexibility & scalability) ด้วยคลาวด์นั้นพัฒนามาจาก VPS และมีการแก้ไขข้อจำกัดใหญ่ คือ การปรับขนาด ซึ่งเมื่อแก้ไขจุดดังกล่าวได้แล้ว ทำให้คุณสมบัตินี้กลายมาเป็นจุดเด่นของคลาวด์เลยก็ว่าได้ กล่าวคือ คลาวด์สามารถปรับเพิ่ม-ลดขนาดได้ตามต้องการ เมื่อในช่วงเวลาหนึ่ง ยูสเซอร์มีการใช้งานน้อย ก็สามารถปรับลดขนาดของ resource ได้ หรือหากขณะหนึ่งต้องการการใช้งานที่ค่อนข้างสูง ยูสเซอร์ก็สามารถเพิ่มขนาดของ resource ได้เช่นเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากเพียงพอหรือไม่
ราคาตามการใช้งานจริง (pay-as-you-go) เมื่อคลาวด์มีความยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ตามต้องการแล้ว ก็ส่งผลให้การคิดราคาค่าใช้จ่ายนั้นเป็นไปตามขนาดที่คุณใช้งาน โดยจะคำนวณเป็นรายชั่วโมง หมายความว่า ชั่วโมงแรก ยูสเซอร์อาจมีการใช้งานคลาวด์น้อย ผู้ให้บริการก็จะคิดราคาเฉพาะพื้นที่ที่ใช้ไป แต่หากชั่วโมงถัดมาเกิด traffic จำนวนมาก ทำให้ต้องใช้งาน resource ขึ้นมาเป็นเท่าตัว ผู้ให้บริการก็จะขยายขนาดและคำนวณราคาตามการใช้งานดังกล่าว และเมื่อ traffic ลดลงในชั่วโมงถัดมา ราคาก็จะลดลงตามเช่นเดียวกัน ทำให้ยูสเซอร์หมดปัญหาการเสียค่าบริการเช่าพื้นที่เปล่าโดยไม่มีการใช้งานจริงนั่นเอง
สามารถรับ OS-based ได้มากกว่า 1 OS ใน 1 physical server จุดเด่นของคลาวด์ที่เหนือกว่า VPS อีกประการหนึ่ง คือ ใน physical server 1 เครื่อง เทคโนโลยีคลาวด์สามารถรัน OS ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันได้มากกว่า 1 ชนิด ทำให้เมื่อยูสเซอร์ต้องการรัน OS-based จำนวนมาก จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่าบริการ physical server เพิ่ม
High Availability (HA) เทคโนโลยีคลาวด์นั้นจะมีการสำรองข้อมูล (redundancy) เพื่อป้องกันการสูญหายหรือสามารถใช้ข้อมูลสำรองขณะระบบล่มได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ยังมี High Availability หรือมีการทำงานที่มีความเสถียรสูง ออกแบบมาเพื่อป้องกันการล่มหรือ downtime นั่นคือ คุณสามารถใช้งานคลาวด์ได้อย่างสบายใจ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือระบบล่มอีกต่อไป
ใช้งานง่าย คลาวด์นั้นต่างจาก VPS ตรงที่การใช้งาน โดย VPS นั้น ยูสเซอร์จะต้องใช้งานผ่านผู้ให้บริการหรือโฮสต์เท่านั้น แต่สำหรับคลาวด์ซึ่งพัฒนา frontend มาให้ยูสเซอร์สามารถใช้งานด้วยตัวเอง (self-service) ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ข้อจำกัดในการเข้าถึงการใช้งานของคุณลดน้อยลง เป็นสะพานเชื่อมระหว่างยูสเซอร์และข้อมูลให้เข้าถึงกันได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้น เมื่อยูสเซอร์ต้องการปรับเพิ่ม-ลดขนาดการใช้งาน หรือต้องการจัดการข้อมูลเบื้องต้น ก็สามารถเข้าไปทำได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อเสียของคลาวด์
เมื่อพูดถึงข้อเสียของคลาวด์ อาจจะพูดได้ไม่มากนัก เนื่องจากคลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขเทคโนโลยีก่อนหน้าให้พร้อมใช้งานมากที่สุด ดังนั้นแล้ว เราจึงจะขอนำเสนอในแง่ข้อกังวลของการใช้คลาวด์ดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
การมีอำนาจควบคุมข้อมูล การเก็บข้อมูลบน legacy IT หรือเก็บข้อมูลไว้ที่ไซต์ของคุณเองนั้น โดยปกแล้วยูสเซอร์จะมีสิทธิควบคุมข้อมูลและระบบทั้งหมดเพียงผู้เดียว แต่สำหรับเทคโนโลยีคลาวด์ที่จำเป็นต้องใช้บริการกับผู้ให้บริการคลาวด์ ยูสเซอร์จึงจำเป็นต้องสูญเสียสิทธิการควบคุมข้อมูลบางส่วนให้กับผู้ให้บริการนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การเข้ามามีสิทธิควบคุมนี้เป็นการดูแลจัดการจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้น จึงสามารถมองเป็นข้อดีได้ว่ายูสเซอร์จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์มาคอยซัพพอร์ตคุณเสมอหากเกิดปัญหา และคุณก็ไม่ได้เสียสิทธิการควบคุมทั้งหมดไปเช่นกัน
ความท้าทายในการย้ายระบบ การย้ายระบบขึ้นคลาวด์ (cloud migration) นับเป็นอีกข้อกังวลหนึ่งสำหรับธุรกิจที่ยังไม่เคยใช้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ต้องเผชิญ หรือแม้กระทั่งผู้ที่ใช้คลาวด์อยู่แล้วและกำลังจะย้ายไปหาอีกผู้ให้บริการหนึ่งก็ตาม ทั้งนี้ก็เนื่องจากปริมาณข้อมูลอันมหาศาลของแต่ละองค์กร รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องคำนึง เช่น ความเสถียรของระบบ ความพร้อมของทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ความปลอดภัย และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งก็ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกผู้ให้บริการคลาวด์ที่ไว้วางใจได้ น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
อาจมีโอกาสโดนโจมตีสูงกว่าแบบ on-premise เป็นเรื่องปกติของระบบที่วิ่งออกสู่อินเทอร์เน็ตจะมีความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์มากกว่าระบบที่วิ่งอยู่เฉพาะภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีคลาวด์ก็ออกแบบโซลูชันต่าง ๆ มาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ เช่น High Availability ตลอดจนเซอร์วิสต่าง ๆ ที่เข้ามาเสริมความปลอดภัยของคลาวด์ และนอกจากนี้ การวิ่งออกสู่อินเทอร์เน็ตนี้ยังถือเป็นข้อดีที่ทำให้คลาวด์สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย
ย้ายขึ้นคลาวด์กับ NIPA Cloud
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียกันไปแล้ว ตอนนี้คุณอาจจะมองเห็นภาพมากขึ้นแล้วว่าธุรกิจของคุณนั้นเหมาะกับการใช้งาน VPS หรือเทคโนโลยีคลาวด์ และหากองค์กรไหนที่กำลังสนใจการขึ้นคลาวด์อยู่ NIPA Cloud คลาวด์สัญชาติไทยที่พัฒนาด้วย OpenStack โดยทีมงานชาวไทย ซึ่งออกแบบมาให้คนไทยใช้งานอย่างแท้จริง พร้อมช่วยให้องค์กรธุรกิจของคุณเดินหน้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่กำลังจะมาถึงในอนาคต ด้วยการให้บริการคลาวด์ (cloud service) ประสิทธิภาพสูง ที่มีทั้ง High Availability, flexibility และ scalability ปลอดภัย และคิดราคาตามการใช้งานจริง (pay-as-you-go) ตลอดจนมีทีมงานคนไทยคอยช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง จึงมั่นใจได้ว่า NIPA