Zoom Meeting แบบฟรี VS เสียเงิน ต่างกันอย่างไร?
เชื่อว่าหลาย ๆ คนในที่นี้คงรู้จัก และเคยใช้ Zoom Video Conference Platform กันมาอยู่แล้วบ้างไม่มากก็น้อย
ในบทความนี้เลยจะขอพาทุกคนไปลงรายละเอียด และดูไปพร้อม ๆ กันว่าโปรดักต์ตัวเบสิกที่สุดอย่าง Zoom Meeting ในเวอร์ชันฟรีแบบที่ทุก ๆ คนเคยใช้ กับเวอร์ชันอัปเกรดขึ้นมาเป็นแบบเสียเงิน จะแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน? และคุ้มค่าไหมกับการขยับขึ้นมาใช้ตัวนี้?
วิธีการระบุประเภทบัญชี Zoom Meeting
แอ็กเคานต์ของ Zoom Meeting มีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งตอนนี้ Zoom ได้ทำการอัปเกรดชื่อใหม่ โดยเติมคำว่า "One" เข้าไปในแต่ละประเภทบัญชี ได้แก่
- Basic / Zoom One Basic (free)
- Pro / Zoom One Pro
- Business / Zoom One Business
- Enterprise
อย่างไรก็ตาม การอัปเกรดชื่อบัญชีเหล่านี้ ไม่ได้ส่งผลต่อฟังก์ชันการทำงานด้านในแต่อย่างใด
เปรียบเทียบฟีเจอร์ Zoom Meeting เวอร์ชัน Free vs Pro
ปลดล็อกเครื่องมือสื่อสารให้เป็นขั้นสูงมากขึ้น เพื่อรับสิทธิใหม่ ๆ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Zoom Pro
5 เหตุผลทำไมต้องอัปเกรด Zoom Meeting เวอร์ชันฟรี!
หนึ่งในเหตุผลที่มีผู้คนมากมายเลือกใช้ Zoom ก็เพราะความสามารถที่ล้นเหลือในแพ็กเกจฟรี ที่สามารถตอบโจทย์การทำงานและการสื่อสารร่วมกันได้เป็นอย่างดีสำหรับการใช้งานส่วนบุคคลหรือองค์กรขนาดเล็ก
แต่แน่นอนว่าหลาย ๆ ครั้ง เราก็ต้องการความสามารถในการสื่อสารทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้รับฟีเจอร์ขั้นสูงที่ตอบโจทย์ความเป็นมืออาชีพขององค์กร และเกิดเป็นความประทับใจในการสื่อสารอย่างไร้ที่ติ อย่างเช่นฟีเจอร์ตามด้านล่างนี้ที่คุณจะได้รับเมื่อขยับขึ้นไปเป็นแพ็กเกจที่สูงขึ้น
1. Cloud Recording
แพ็กเกจ Pro จะทำให้เราสามารถบันทึกการประชุมไปยังระบบคลาวด์ของ Zoom ได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการบันทึกลงบนอุปกรณ์ส่วนตัว (local device) ซึ่งทำให้การเข้าถึงไฟล์ และการแชร์งานต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
2. Livestreaming
เราสามารถถ่ายทอดสดการประชุมไปยัง Facebook, Twitch, Instagram, และ YouTube ได้ในแพ็กเกจแบบ Pro เพื่อขยายขอบเขตของผู้ชมให้กว้างมากยิ่งขึ้น
3. เข้าถึงฟีเจอร์ Report ได้ง่ายขึ้น
ด้วยแพ็กเกจที่อัปเกรดขึ้น แอดมินสามารถเข้าถึง Zoom Analytics และรับรายงานการใช้งานรายวันผ่านบัญชีได้ โดยเจ้าของบัญชีและแอดมินสามารถเห็นได้เลยว่ามีการประชุมเกิดขึ้นในองค์กรเท่าไร และเมื่อไหร่ สามารถดูจำนวนผู้เข้าร่วม จำนวนนาทีการประชุม และค่าสถิติอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
4. ฟีเจอร์การแปลภาษา (Translation Services)
Zoom จะช่วยสร้างพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมการประชุมได้อย่างลื่นไหล ด้วยฟีเจอร์คำบรรยายที่ถูกแปลเป็นข้อความโดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ได้มากถึง 11 ภาษา สำหรับในแพ็กเกจ Business และ Enterprise
5. Zoom ที่มากกว่าเครื่องมือสื่อสาร
นอกจากฟีเจอร์ที่กล่าวมาแล้ว เรายังสามารถเพิ่มบริการเสริมต่าง ๆ เพื่ออัปเกรด Zoom ของคุณได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Zoom Rooms, Zoom Events, Zoom Webinars หรือแม้แต่ large meeting ที่จะมาช่วยเสริมการสื่อสารขององค์กรคุณให้ยกระดับขึ้นไปอีกขั้น รวมถึงความสามารถในการเข้าถึง Zoom's API ที่จะให้นักพัฒนา (developer) สามารถสร้างแอปพลิเคชันแล้วฝัง Zoom เข้าไป เพื่อพัฒนา และต่อยอดให้เข้ากับกับองค์กรของคุณโดยเฉพาะ
ตัวอย่างการใช้งาน Zoom Meeting
ในช่วงการระบาดของโควิด-19 วัดพระธรรมกายก็เป็นเหมือนองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องระงับกิจกรรมต่าง ๆ แบบเดิม แล้วปรับเปลี่ยนมาจัดกิจกรรมทั้งหมดผ่านทางออนไลน์
จากที่เคยมีคนนับล้านมารวมตัวกันที่วัด ทุกอย่างก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทางวัดได้เริ่มนำ Zoom Meeting เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่การลงทุนในฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับการดำเนินงานในแต่ละวัน รวมถึงงานอีเวนต์ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งก็ถือประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากงานฉลองวันโลก (Earth Day) ในปี 2022 ที่มีผู้เข้าร่วมงานผ่านทาง Zoom มากกว่า 25,000 คน
โดยตัวแทนของทางวัดกล่าวว่า Zoom ทำให้เราสามารถสื่อสาร และเห็นสีหน้าของผู้คนได้เสมือนกำลังอยู่ในห้องเดียวกัน นอกจากนี้ยังทำให้ผู้คนสามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้จากทุกที่ทั่วโลก โดยไม่ต้องเดินทางมายังวัด ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และดึงดูดสมาชิกใหม่ ๆ เข้ามาได้ง่ายขึ้น
และเนื่องจาก Zoom เป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานทั่วโลกที่ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมาคอยช่วยติดตั้ง หรือสอนวิธีใช้ต่าง ๆ จึงถือเป็นโซลูชันที่ดี และตอบโจทย์องค์กรต่าง ๆ ได้ทั่วโลก