Tech Knowledge

Migrate to Local Cloud ใช้งานคลาวด์ในประเทศดีกว่าอย่างไร?

Published : June 2, 2020Time : 2 min read

Migrate-to-Cloud ย้ายมาใช้งาน Cloud ดีกว่าอย่างไร?

Cloud Computing ถูกพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงสามารถตอบโจทย์การทำงานผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี และเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีมีความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยหลายๆ ธุรกิจก็ให้ความสนใจกับการทำงานของคลาวด์ แต่ระหว่างคลาวด์ในต่างประเทศ และ Local Cloud ที่มีความแตกต่างกัน น่าสนใจอย่างไร ? และดีกว่าอย่างไร ?

Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก คาดว่าองค์กรต่างๆ จะย้ายแอปพลิเคชันจากใน On-premise ไปยัง Public Cloud มากขึ้น (Migrate to Cloud) เพื่อใช้งานบริการที่มีผู้ให้คำแนะนำและการช่วยเหลือเรื่องพัฒนาซอฟต์แวร์ในกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นักวิเคราะห์จาก Gartner ระบุว่าธุรกิจต่างๆ กว่า 1 ใน 5 จะมีการจัดการโดยนำระบบโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ (Infrastructure-as-a-Service หรือ IaaS) มาใช้ในการทำงานของอุตสาหกรรมและธุรกิจมากขึ้น โดยคาดว่า ภายในปี 2022 จะมีการลงทุนกับบริการทางด้าน Public Cloud ในธุรกิจต่างๆ เพิ่มขึ้น 28%

Gartner ยังรายงานอีกว่า ตลาดบริการ Public Cloud ในปี 2019 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 17.5% ทั่วโลก ซึ่งอาจมากถึง 214.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 182.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2018 ส่วนตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดจะเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ (Infrastructure-as-a-Services หรือ IaaS) ซึ่งคาดว่าจะเติบโตขึ้น 27.5% ในปี 2019 ถึง 38.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 30.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2018 จนถึงปี 2022 Gartner ประเมินว่า บริการ Public Cloud จะเติบโตขึ้นเกือบ 3 เท่าจากธุรกิจการให้บริการด้านไอทีทั้งหมด

อุปสรรคในการใช้งาน Cloud Computing ที่มี Data Center ในต่างประเทศ

Sid Nag รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner กล่าวว่า “องค์กรที่ต้องการใช้งานบริการด้านระบบ Public Cloud เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันบนระบบของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ หนึ่งในปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง คือ มาตรฐานการให้บริการในการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรซอฟต์แวร์ในระหว่างการโยกย้าย (Migrate to Cloud) ที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากผู้ให้บริการที่ไม่มีบริการการโยกย้าย (Migrate to Cloud) นี้ อาจเป็นอุปสรรคที่สำคัญของธุรกิจที่จะใช้งาน Public Cloud ได้

ในการใช้บริการ Public Cloud ต่างประเทศ องค์กรมักจะใช้งานผ่านบริษัทผู้ทำหน้าที่ส่งมอบโซลูชัน (System Integrator หรือ SI) เพื่อทำการประเมินความพร้อม อุปสรรค และความเป็นไปได้ในการโยกย้ายแอปพลิเคชันไปยังระบบการทำงานคลาวด์ (Migrate to Cloud) ได้รวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากจะมีแอปพลิเคชันบางตัวที่ไม่สามารถยกระดับและย้าย (Migrate to Cloud) ไปยังระบบคลาวด์ได้ ทำให้องค์กรอาจจะต้องพิจารณายกเลิกการใช้งานซอฟต์แวร์บางตัว

การใช้งาน Local Cloud ดีกว่าอย่างไร?

สำหรับผู้ให้บริการ Public Cloud ภายในประเทศไทย (Local Cloud) จะสามารถแก้ไขปัญหา การโยกย้าย (Migrate to Cloud) ในส่วนนี้ได้ เนื่องจากมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยเหลือองค์กรให้สามารถย้ายระบบได้อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น คลาวด์ไทยที่มีความเชี่ยวชาญในการโยกย้ายระบบ (Migrate to Cloud) รวมถึงประสบการณ์ที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรภายในประเทศไทย มากกว่าผู้ให้บริการจากต่างประเทศนั่นเอง

ในกระบวนการการโยกย้าย (Migrate to Cloud) จะเป็นการสร้างและทำงานบนแอปพลิเคชันไปควบคู่กัน เพื่อปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันให้สอดคล้องกับการใช้งานอยู่ตลอดเวลา แต่การใช้งานแอปพลิเคชันใน On-premise ควบคู่กับระบบคลาวด์ ในส่วนการทำงานรูปแบบนี้จะทำให้การทำงานของแอปพลิเคชันเกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ซึ่งองค์กรอาจประสบปัญหาหลายอย่างในการทำงานซ้ำของแอปพลิเคชันส่วนนี้ได้ การใช้งานแบบ On-premise ควบคู่กับ Cloud จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

การโยกย้ายระบบสู่ Cloud (Migrate to Cloud) จึงจำเป็นทีจะต้องใช้บุคลากรที่มีทักษะการทำงานคลาวด์เท่านั้น NIPA Cloud จึงเป็นให้ผู้บริการ cloud server (Local Cloud) จึงเป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์ เนื่องจากการให้คำปรึกษาที่ดีที่สุด Sid Nag กล่าวว่า “ผู้ให้บริการด้าน Public Cloud ในประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในฐานะที่ปรึกษาบริการคลาวด์ เนื่องจากองค์กรต่างๆ เริ่มใช้งานบริการ Public Cloud เพิ่มมากขึ้น การใช้งานจึงจะกระจายไปยัง Local Cloud มากกว่า เพราะสามารถให้บริการที่ตอบโจทย์ได้ เข้าใจปัญหาความต้องการขององค์กรมากกว่านั่นเอง”

เริ่มต้นการย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์กับ NIPA Cloud วันนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกองค์กร
AUTHOR
Author
NIPA Cloud
Writer

We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.