Storage คืออะไร มีกี่ประเภทและเลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจ
Storage คืออะไร
Storage หรือ หน่วยเก็บข้อมูล คืออุปกรณ์หรือสื่อที่ใช้ในการเก็บและจัดเก็บข้อมูล ทั้งในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลหรือไฟล์ต่าง ๆ โดยอุปกรณ์เหล่านี้ช่วยในการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลเมื่อจำเป็นหรือเรียกง่ายๆว่า Storage เป็นชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกประเภททั้งชั่วคราวและถาวร
Storage มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ประเภทของ Storage สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งานและเทคโนโลยีที่ใช้ แต่ที่หลัก ๆ จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1. Primary Storage (หน่วยเก็บข้อมูลหลัก)
- ทำหน้าที่เป็นที่เก็บข้อมูลได้เพียงชั่วคราวขณะที่ประมวลผล
- ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Primary Storage จะถูกลบเมื่อเครื่องถูกปิด
ตัวอย่างประเภทของ Primary Storage
1.1 RAM (Random Access Memory)
ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวที่กำลังประมวลผล
1.2 ROM (Read-Only Memory)
เก็บข้อมูลถาวรที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นระบบ
2. Secondary Storage (หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง)
- เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวร ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้แม้ปิดเครื่อง
- ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้เข้าถึงบ่อยๆ แต่เก็บไว้ในระยะยาว
ตัวอย่างประเภทของ Secondary Storage
2.1 HDD (Hard Disk Drive)
เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้แผ่นแม่เหล็กในการบันทึกข้อมูล
2.2 SSD (Solid State Drive)
ใช้หน่วยความจำแฟลชเก็บข้อมูล
2.3 Optical Disc
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลเช่น CD, DVD, Blu-ray
2.4 USB Flash Drive
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่พกพาง่ายและใช้งานง่ายด้วยการเชื่อมต่อ USB
2.5 Cloud Storage
การเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ยังมีการจัดแบ่ง Storage ประเภทอื่นๆ เช่น
- NAS (Network Attached Storage) อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย ใช้สำหรับการแชร์ข้อมูลภายในองค์กร
- SAN (Storage Area Network) เครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลระดับสูง มักใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการการจัดการข้อมูลจำนวนมาก
เลือกใช้ Storage ยังไงให้เหมาะกับธุรกิจ
การเลือกใช้ Storage สำหรับธุรกิจขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน ความต้องการด้านการจัดเก็บข้อมูล และงบประมาณของธุรกิจ ปัจจัยและวิธีเลือกใช้ Storage ให้เหมาะกับธุรกิจมีดังนี้
1. ประเภทของข้อมูลที่จัดเก็บ
- หากธุรกิจต้องจัดเก็บข้อมูลที่ต้องการการเข้าถึงบ่อย ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลการขาย, หรือข้อมูลที่มีการประมวลผลแบบเรียลไทม์ ควรเลือกใช้ SSD เพื่อความเร็วในการอ่านข้อมูล
- หากธุรกิจต้องการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการการเข้าถึงบ่อยนัก เช่น ข้อมูลสำรอง, เอกสารเก่า, หรือการเก็บบันทึก ควรใช้ HDD เพราะมีราคาถูกและความจุมากกว่า
2. ขนาดของข้อมูล
- สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลไม่มากนัก การเลือกใช้ Cloud Storage จะเป็นตัวเลือกที่ดีเนื่องจากเข้าถึงง่ายและมีความหยืดหยุ่น
- สำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องเข้าถึงบ่อย ๆ หรือสำรองข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลสำรอง, หรือไฟล์เอกสารเก่า HDD จะเหมาะสมกว่า
3. ความปลอดภัยและการสำรองข้อมูล
- Cloud Storage เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการการเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ และต้องการความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูงจากผู้ให้บริการ
- On-Premise Storage จะเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการควบคุมข้อมูลภายในองค์กรอย่างเข้มงวด เช่น ธุรกิจการเงินหรือองค์กรที่มีความต้องการด้านความปลอดภัยสูง
4. งบประมาณ
- ธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง ควรเลือกใช้ Cloud Storage หรือ HDD ซึ่งมีราคาถูกและเป็นทางเลือกที่ช่วยลดต้นทุกในการเริ่มต้น
- ธุรกิจขนาดใหญ่ ควรคำนึงถึงการลงทุนโครงสร้างที่ scalable เช่น NAS หรือ SAN ที่สามารถขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเมื่อธุรกิจเติบโต
5. ความยืดหยุ่นและการขยายระบบ
- การเลือกใช้ Cloud Storage จะช่วยให้คุณสามารถขยายพื้นที่จัดเก็บได้เหมาะสำหรับธุรกิจ SME หรือธุรกิจที่มีแนวโน้มจะเติบโต
- การใช้ระบบ SAN หรือ NAS จะทำให้องค์กรสามารถขยายการจัดเก็บข้อมูลในเครือข่ายได้ตามความต้องการ
ตัวอย่างการเลือกใช้งาน Storage ตามขนาดธุรกิจ
1. Startup หรือ SME
ใช้ Cloud Storage เพื่อความยืดหยุ่นในการจัดเก็บข้อมูล และสามารถใช้ External HDD สำหรับสำรองข้อมูลออฟไลน์
2. ธุรกิจขนาดกลาง
เลือกใช้ NAS สำหรับจัดเก็บและแชร์ข้อมูลภายในองค์กร ร่วมกับการใช้ SSD สำหรับข้อมูลที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึง
3. ธุรกิจขนาดใหญ่
ลงทุนใน SAN เพื่อรองรับข้อมูลปริมาณมากและต้องการความปลอดภัยสูง ใช้ระบบ Cloud Backup เพื่อสำรองข้อมูลนอกสถานที่ ช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูล
สรุป
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลมีบทบาทสำคัญต่อการทำธุรกิจ การเลือก Storage ให้เหมาะนั้นจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นสตาร์ทอัพขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ จะช่วยลดความเสี่ยงและต้นทุนในระยะยาว สิ่งสำคัญต้องเข้าใจความต้องการของธุรกิจและเลือกเทคโนโลยีที่สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ใครที่กำลังมองหาโซลูชันคลาวด์ NIPA Cloud เราคือผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกในประเทศไทย ที่ให้บริการ Cloud Solution ให้กับองค์กรเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านไอทีให้ดียิ่งขึ้น
หากสนใจระบบคลาวด์สามารถ ติดต่อเรา NIPA Cloud ได้ที่นี่
We—as a team of Thai people—are assured that Thai cloud is the absolute answer for driving your business in the digital era.