ระหว่าง File, Block และ Object Storage แบบไหนเหมาะกับแอปพลิเคชันของคุณมากที่สุด?
ปัจจุบัน เทคโนโลยีนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งขององค์กร เนื่องจากการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ธุรกิจจำเป็นต้องวิ่งตามการพัฒนาเหล่านี้ให้ทันท่วงที เพื่อปรับตัวธุรกิจให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลและไม่ให้ล้าหลังจนเกิดข้อเสียเปรียบทางการค้า ‘cloud storage’ ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะใช้บริการนั้น องค์กรจำเป็นต้องทำความรู้จักกับ cloud storage แต่ละประเภทเสียก่อน เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความแตกต่าง ดังนั้น NIPA Cloud จึงขอพาทุกคนมารู้จักกับ cloud storage แต่ละประเภทว่าเป็นยังไง มีข้อดี-ข้อเสียยังไง และแบบไหนที่เหมาะกับแอปพลิเคชันของคุณมากที่สุด
File Storage
File storage คือ รูปแบบการจัดเก็บไฟล์แบบลำดับชั้น ได้แก่ ไฟล์และโฟลเดอร์ โดยสามารถเก็บไฟล์ได้มากกว่าหลายล้านไฟล์ (Terabytes) แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับเก็บข้อมูลมากกว่าพันล้านไฟล์ (Petabytes) ส่วนมากจะแบ่งข้อมูลด้วยโครงสร้างของ Directory สามารถอ่านเขียนข้อมูลพร้อม ๆ กันได้ (read/write many per host/VM) ทำให้สามารถจัดการด้านการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ได้ถึงระดับผู้ใช้งาน
ข้อดีข้อสำคัญของ file storage คือความไม่ซับซ้อน (simplicity) ซึ่งข้อดีดังกล่าวจะพบในการใช้งาน file sharing และการใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชันต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เป็นการแบ่งไฟล์ตามลำดับชั้น file storage จึงไม่เหมาะกับการจัดเก็บไฟล์ขนาดมหาศาล หรือระดับพันล้านไฟล์ อีกทั้งยังไม่สามารถระบุได้ว่าแต่ละไฟล์มีเนื้อหาอะไร นอกจากนี้ ราคาของ file storage ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ block storage และ object storage ในด้านประสิทธิภาพการทำงาน การจัดเก็บไฟล์รูปแบบนี้จะมีค่า latency ที่สูง และมีค่า response time, IOPS และ throughput ที่ต่ำ อีกทั้งยังมีการ scalability ที่จำกัดอีกด้วย การจัดเก็บข้อมูลรูปแบบนี้ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือเหล่าไดรฟ์ฝากไฟล์งานออนไลน์ต่าง ๆ ที่ให้บริการในตลาด โดย NIPA Cloud มีการให้บริการ file storage ในโปรดักต์ของเราที่มีชื่อว่า NIPA Drive
Block Storage
Block storage คือ รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลลงบน volume ที่ชี้ไปยังบล็อกขนาดเล็กจำนวนมาก กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแยกแป็นส่วนเล็ก ๆ และถูกจัดเก็บแยกในแต่ละบล็อก ทำให้เกิดความสะดวกและความรวดเร็ว (throughput) ในการอ่านและเขียนข้อมูล ดังนั้น การจัดเก็บข้อมูลรูปแบบนี้จึงเหมาะกับงานที่เน้นประสิทธิภาพ เช่น ระบบ database หรือ virtualization อย่างไรก็ดี block storage นั้นเหมาะกับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการความจุหรือขนาดพื้นที่ที่ใหญ่มากนัก เนื่องจากเน้นความสะดวกในการจัดการข้อมูลนั่นเอง
ข้อดีของ block storage ที่เห็นได้ชัดคือประสิทธิภาพการอ่านและเขียนข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง latency กล่าวคือ block storage นั้นมีค่า latency ที่ต่ำ ส่งผลให้มี response time และค่า IOPS ที่สูง รวมถึงมีระบบที่ง่ายต่อการจัดการข้อมูล ทว่า block storage ก็มีข้อจำกัดในเรื่องการใช้งานเฉพาะกับระบบที่ต้องการความจุหรือขนาดของพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีข้อมูล metadata กำกับ ซึ่ง NIPA Cloud นำ block storage มาใช้ใน Virtual Machine (VM) และ Database ใน NIPA Cloud Space
Object Storage
Object storage คือ รูปแบบการจัดข้อมูลที่ไม่มีลำดับชั้น ไม่มีโครงสร้าง โดยข้อมูลจะเป็นประเภทใดก็ได้ ตั้งแต่ไฟล์รูปภาพ เสียง วิดีโอ pdf ฯลฯ และใช้ metadata กำหนดประเภทของข้อมูลดังกล่าว จุดเด่นที่สุดของ object storage ก็คือการรองรับการเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลระดับสิบล้าน ร้อยล้าน ไปจนถึงพันล้าน (Petabytes) เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบนี้มีความเร็ว (throughput) ในการอ่านและเขียนข้อมูลที่ดี นับเป็นจุดสำคัญที่องค์กรขนาดใหญ่ที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมากให้ความสนใจ ซึ่ง NIPA Cloud เองก็กำลังพัฒนา object storage ใน NIPA Cloud Space ของเราอยู่
ดังที่กล่าวไปข้างต้น ข้อดีของ object storage คือการรองรับข้อมูลปริมาณขนาดพันล้านไฟล์ได้ แถมยังสามารถกำหนด tag ของข้อมูลด้วย metadata ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงไฟล์ได้จากทุกที่ (accessible anywhere) มีความยืดหยุ่นในการเพิ่ม-ลดขนาดของพื้นที่ (flexibility) ได้ และที่สำคัญคือมีราคาถูก แต่ object storage ก็ยังไม่สามารถทดแทนจุดเด่นของ file storage และ block storage ได้ เพราะการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวมีค่า latency ในการอ่านและเขียนข้อมูลที่สูงกว่าประเภทอื่น ๆ
แอปพลิเคชันไหนเหมาะกับ Cloud Storage ประเภทใด?
Cloud storage แต่ละประเภทนั้นเหมาะกับธุรกิจที่แตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพ file storage นั้นเหมาะกับแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องการการจัดเก็บไฟล์ปริมาณมหาศาล และไม่ต้องการความซับซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล เช่น การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ machine learning การบันทึกข้อมูลสุขภาพ สตรีมมิ่ง สื่อมัลติมีเดียทั่วไป แอปพลิเคชันที่ใช้ในสำนักงาน และ file sharing ที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน เป็นต้น
แอปพลิเคชันที่เหมาะกับ block storage นั้น ควรเป็นแอปพลิเคชันที่ต้องการความรวดเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล คือ มีการทำ data analytics หรือ virtualization ที่ไม่ต้องบรรจุข้อมูลจำนวนมาก เช่น ฐานข้อมูลทางธุรกรรม ฐานข้อมูลอนุกรมเวลา ตลอดจนแอปพลิเคชันที่ต้องการค่า response time ที่สูง และค่า latency ที่ต่ำ อย่างธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น
และสุดท้าย object storage เป็นการจัดเก็บไฟล์ประเภทที่เหมาะกับแอปพลิเคชันที่ต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลระดับสิบล้านขึ้นไป เนื่องจากมีการระบุไฟล์จาก metadata และสามารถปรับเพิ่ม-ลดขนาดพื้นที่ได้ตามต้องการ เช่น แอปพลิเคชันที่ต้องการ back up หรือต้องการจัดเก็บเป็นคลังข้อมูล (archive) การบันทึกข้อมูลสุขภาพ สตรีมมิ่ง สื่อมัลติมีเดียทั่วไป ตลอดจนปัญญาประดิษฐ์และ machine learning ที่มีปริมาณข้อมูลมหาศาล เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ local cloud ที่มี data center อยู่ในประเทศ คือมีการเก็บข้อมูลและประมวลผลในไทย จะช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับข้อมูลว่าจะไม่รั่วไหลออกไปต่างชาติ บวกกับการมี availability zones ถึง 2 แห่ง ก็ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลในระดับสูงสุด ซึ่ง NIPA Cloud ผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำของไทยที่วิจัยและพัฒนา public cloud ด้วยตัวเอง ก็พร้อมดูแลข้อมูล และจับมือกับทุกองค์กรเพื่อเดินหน้าสู่ ซึ่งปัจจุบัน NIPA Cloud Space ให้บริการ block storage และกำลังพัฒนา object storage เพื่อรองรับการใช้งานของธุรกิจทุกภาคส่วนในอนาคต หากองค์กรใดกำลังมองหา public cloud ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพระดับสากล NIPA Cloud Space เป็นตัวเลือกที่คุณไม่ควรมองข้าม