Customer Story

ก.ค.ศ. ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความปลอดภัย ด้วย NIPA Cloud Object Storage พื้นที่จัดเก็บที่ยืดหยุ่นได้กว่า 500TB

Published : March 20, 2023Time : 5 min read

องค์กร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)

อุตสาหกรรม: หน่วยงานราชการ (Government Agency)

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้: Object Storage

ที่ตั้ง: 319 ชั้น 5 อาคารรัชมังคลาภิเษก 1 กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ภาพรวม (Overview)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อมุ่งเน้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรได้พัฒนาสมรรถภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ เพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

ในอดีต ครูทุกคนที่เข้ารับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจะต้องจัดทำเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

  1. แฟ้มรายงานผลการสอน
  2. ผลการเรียนของนักเรียน
  3. แบบประเมินและวิธีวัดผล รวมถึงเหตุผลที่เลือกวิธีวัดผลนี้

ต่อมา การประเมินเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นการถ่ายวิดีโอ บุคลากรทางการศึกษาบางส่วนจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจากการจัดเตรียมเอกสารมาเป็นวิธีประเมินแบบใหม่ที่ใช้ไฟล์วิดีโอเป็นหลัก รูปแบบจึงเปลี่ยนเป็นไฟล์วิดีโอที่จัดเก็บใน CD-ROM ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้เข้ารับการประเมินแต่ละคนจะใช้ CD-ROM เฉลี่ย 4-5 แผ่นต่อคนต่อปี และแฟ้มเอกสาร 400-500 หน้าต่อคนต่อปี และเมื่อการประเมินเสร็จสิ้น เอกสารทั้งหมดจำเป็นต้องถูกกำจัดทิ้ง

หลักฐานการของมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

ความท้าทาย (Challenge)

ก.ค.ศ. ต้องการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรลดการใช้กระดาษในการดำเนินงานให้น้อยที่สุด เพื่อลดขยะจากกระดาษที่เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในทุก ๆ ปี รวมถึงลดความเสี่ยงจากการสูญหายของเอกสารและข้อมูล ด้วยเหตุนี้ สำนักงานฯ จึงริเริ่มการนำส่งเอกสารการเลื่อนวิทยฐานะของครูทั่วประเทศมาเป็นรูปแบบดิจิทัล กล่าวคือ ให้อัปโหลดไฟล์ลงฐานข้อมูลโดยตรงนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การประมาณการขนาดไฟล์เอกสารของบุคลากรทั่วประเทศถือเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก เพราะหากประมาณการไว้น้อยเกินไป พื้นที่ก็จะไม่สามารถรองรับเอกสารทั้งหมดอย่างเพียงพอ หรือหากประมาณการไว้สูงเกินไป สำนักงานฯ ก็อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เท่ากับว่าการลงทุนทั้งหมดขององค์กรภาครัฐจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เบื้องต้นมีการประมาณการว่าอาจมีการใช้งานมากถึง 500 TB (Terabyte) ซึ่งถือว่าเป็น storage ที่มีขนาดมหาศาล

ยิ่งไปกว่านั้น การใช้งานพื้นที่จัดเก็บที่ไม่สม่ำเสมอยังก่อให้เกิดปัญหาต้นทุนจมโดยใช่เหตุ จากการประมาณการรายเดือน ในเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โครงการนี้ต้องการพื้นที่จัดเก็บขนาดรวมไม่น้อยกว่า 500 TB แต่พอทางสำนักงานฯ ใช้งานจริงในเดือนตุลาคม พบว่าใช้พื้นที่จัดเก็บเพียง 50 TB จึงได้ปรับขนาดความต้องการใช้พื้นที่ลงเพื่อเป็นการลดต้นทุน โดยปรับลดการใช้งานขนาดรวมในเดือนพฤศจิกายน 2565 ไม่น้อยกว่า 100 TB เดือนธันวาคม 2565 ไม่น้อยกว่า 150 TB เดือนมกราคม 2566 ไม่น้อยกว่า 200 TB เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ไม่น้อยกว่า 250 TB และเดือนมีนาคมถึงกันยายน 2566 สำนักงานฯ ลดขนาดความต้องการลงเหลือเพียง 5 TB จากขนาดการใช้งานพื้นที่จัดเก็บดังกล่าว การลงทุนซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์เองทั้งหมดและจ้างพนักงานประจำเพื่อดูแล จึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมกับโครงการนี้สักเท่าไร เนื่องจากสำนักงานฯ ต้องแบกรับค่าเสื่อมราคาต่อไปทุกปี แม้จะมีช่วงเวลาที่ใช้งานน้อยอย่างในช่วงเดือนมีนาคมถึงกันยายนก็ตาม

นอกจากนี้ ระบบ cloud computing server และ cloud object storage ยังต้องมีความแข็งแรง และไม่เกิดปัญหาระหว่างการดำเนินโครงการ เป็นเหตุให้สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงต้องจัดหาผู้ให้บริการคลาวด์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • มีศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (data center) ตั้งอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 2 แห่ง โดยศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ทุกแห่งจะต้องรองรับการทำงานแบบ active-active และ active-standby พร้อมมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

  • มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องแม่ข่ายที่เหมาะสม รองรับระบบปฏิบัติการได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เพียงพอต่อความต้องการ และผู้ให้บริการคลาวด์จะต้องดำเนินกิจการภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019): PDPA)

  • มีระบบ cloud computing (Infrastructure-as-a-Service) ที่ต้องแยกการใช้งานจากผู้ใช้งานอื่น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีระดับของการให้บริการ (Service Level Agreement: SLA) ไม่ต่ำกว่า 99.9% ต่อเดือน หรือหยุดให้บริการ (downtime) ได้ไม่เกิน 44 นาทีต่อเดือน

  • มีการรับ-ส่งข้อมูลแบบไม่จำกัด (unlimited data transfer) และเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่หน่วยงานภาครัฐสามารถกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยได้ทุกขั้นตอน ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย ต้องผ่านมาตรฐานการให้บริการ ISO/IEC 20000-1 และ ISO/IEC 27001

  • ต้องมีวงจรเชื่อมโยงกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ (National Internet Exchange: NIX) ไม่น้อยกว่า 2 แห่ง และวงจรเชื่อมโยงกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตเพื่อออกต่างประเทศ (International Internet Gateway: IIG) ไม่น้อยกว่า 2 แห่ง

  • ในกรณีที่ gateway หนึ่งขัดข้อง ผู้ใช้งานจะสามารถใช้งานอีก gateway หนึ่งได้อัตโนมัติ cloud computing server มีการสำรองข้อมูล (backup) ทั้งภายในศูนย์ข้อมูลหลัก (DC Site) และศูนย์ข้อมูลสำรอง (backup site) ของผู้ให้บริการคลาวด์ทุกวัน โดยมีเงื่อนไขการสำรองข้อมูล ได้แก่

    1. มีการสำรองข้อมูลที่ศูนย์ข้อมูลหลัก (DC site) ทุกวัน โดยจะเก็บข้อมูลไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 วัน (7 copies)
    2. มีการสำรองข้อมูลที่ศูนย์ข้อมูลสำรอง (backup site) ทุกวัน โดยจะเก็บข้อมูลไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 วัน (7 copies)
    3. มีการสำรองข้อมูลที่ศูนย์ข้อมูลสำรอง (backup site) ทุก 3 เดือน โดยจะเก็บข้อมูลไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 เดือน (4 copies)
  • มีการป้องกันการบุกรุกเครือข่าย โดยมีระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่าย (firewall, virtual firewall หรือดีกว่า) โดยมี throughput สำหรับการทำงานของ firewall ไม่น้อยกว่า 3 Gbps สามารถบริหารจัดการโดยกำหนดนโยบายหรือ policy การเข้าถึงระบบที่มีความเสี่ยงได้

  • ต้องมีคุณสมบัติด้านเครือข่าย (network specification) ได้แก่ unlimited data transfer คือไม่จำกัดปริมาณการรับ-ส่งข้อมูล มี international bandwidth (share) ไม่น้อยกว่า 1 Gbps และมี domestic bandwidth (share) ไม่น้อยกว่า 10 Gbps รวมถึงสามารถกำหนดให้เชื่อมต่อระบบเฉพาะกับเครือข่ายที่ได้รับการอนุญาตได้

  • ต้องมีระบบ monitoring และระบบแจ้งเตือนภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 นาทีเมื่อเกิดปัญหา โดยแจ้งเตือนผ่านทาง LINE ALERT อีเมล หรือระบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

บริการ Object Storage จาก NIPA Cloud

การแก้ปัญหา (Solution)

NIPA Cloud ได้ให้บริการปรึกษาเพื่อเสนอแนวทางที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดให้แก่ ก.ค.ศ. และจึงเสนอให้ใช้บริการ object storage จาก NIPA Cloud Space ที่สามารถรองรับการจัดเก็บไฟล์ได้ทุกชนิดในปริมาณมหาศาล โดยสามารถรองรับปริมาณไฟล์ได้มากถึง 500 TB ตามที่ทาง ก.ค.ศ. ต้องการ โดยโซลูชันนี้จะช่วยให้ ก.ค.ศ. ไม่ต้องเสียแรงและเสียเวลาประมาณการปริมาณการใช้งานล่วงหน้าเพื่อลงทุนฮาร์ดแวร์ แต่สามารถเช่าใช้บริการ object storage ได้ทันที

และที่สำคัญที่สุด เมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้วก็สามารถคืน storage ทั้งหมดได้ ช่วยขจัดปัญหาการติดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยไม่ได้ใช้งานในเดือนที่มีการใช้งานน้อย เช่น เดือนมีนาคมถึงกันยายน นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบและค่าใช้จ่ายศูนย์ข้อมูล (data center) และไม่ต้องหาศูนย์ข้อมูลถึง 2 แห่งเพื่อรองรับ high availability เนื่องจาก NIPA Cloud ตั้งอยู่ที่อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT Tower) ซึ่งมีวงจรเชื่อมโยงกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ (National Internet Exchange : NIX) และวงจรเชื่อมโยงกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตเพื่อออกต่างประเทศ (International Internet Gateway: IIG) ไม่น้อยกว่า 2 แห่ง พร้อมด้วยมาตรฐานการให้บริการ ISO/IEC 20000-1 และ ISO/IEC 27001

นอกจากนี้ NIPA Cloud ยังให้บริการ domestic bandwidth มากกว่า 10 Gbps ซึ่งสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ไม่จำกัดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถกำหนดการเชื่อมต่อระบบได้เฉพาะเครือข่ายที่ได้รับการอนุญาต และยังรองรับระบบ monitoring และแจ้งเตือนภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 นาทีเมื่อเกิดปัญหา ผ่านทาง LINE ALERT หรืออีเมล สุดท้ายนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ใน storage ของ NIPA Cloud ล้วนอยู่ภายใต้กฎหมาย PDPA จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เก็บไว้จะปลอดภัย ไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ และไม่สามารถเข้าถึงได้หากไม่ได้รับอนุญาต

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เน้นย้ำให้สำนักงานเขตพื้นที่ฯ ยกเลิกการประเมินด้วยแฟ้มเอกสาร และเปลี่ยนเป็นการประเมินในห้องเรียนจริง ชิ้นงานของนักเรียน แผนการสอนของครูผู้สอน หลักฐาน และเอกสารต่าง ๆ การยกเลิกดังกล่าวช่วยลดเวลาการจัดทำแฟ้มเพื่อเข้าประเมินของครู และให้ความสำคัญกับคุณภาพอันแท้จริงที่อยู่ที่ตัวผู้เรียนและห้องเรียน ดังนั้น การประเมินผ่านวิดีโอจึงช่วยให้คณะกรรมการฯ ได้เห็นคุณภาพของผู้เข้ารับการประเมินชัดเจนยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้มีการนำระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal: DPA) มาช่วยในการจัดการส่งเอกสารการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางานและหลักฐานประกอบการพิจารณา โดยเปลี่ยนจากการส่งแฟ้มเอกสารเป็นไฟล์ PDF และเปลี่ยนจากการส่งข้อมูลวิดีโอในรูปแบบ CD-ROM เป็นการอัปโหลดวิดีโอออนไลน์ ก.ค.ศ. จึงต้องการเทคโนโลยีที่รองรับระบบการประเมินดังกล่าวนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และต้องรองรับข้าราชการครูทั่วประเทศที่เข้าร่วมการประเมินจำนวนกว่า 400,000 คนต่อปี ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการจ้างเหมาบริการระบบ cloud computing server และ cloud object storage ของ NIPA Cloud

ผลลัพธ์ (Outcome)

ทาง ก.ค.ศ. ได้ประมาณการไว้ว่าจำเป็นต้องใช้พื้นที่รวมถึง 500 TB ในการจัดเก็บข้อมูล NIPA Cloud จึงจัดเตรียม storage ขนาดดังกล่าวไว้ให้ โดยทางสำนักงานฯ ไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ชุดใหม่เอง และหากต้องการใช้งานเกิน 500 TB ก็สามารถติดต่อทาง NIPA Cloud ได้ภายใน 3 วันทำการ เพื่อเพิ่มขนาดพื้นที่จัดเก็บได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการจัดซื้อฮาร์ดแวร์ที่อาจกินเวลานานหลายเดือน

นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยระบบการคิดเงินดังกล่าวแล้ว การ backup ข้อมูลบน object storage ของ NIPA Cloud ก็ตอบโจทย์ความต้องการของทาง ก.ค.ศ. ได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องความสะดวกและรวดเร็วในการอัปโหลด ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การประหยัดงบประมาณในการบำรุงรักษา และบริการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางด้านเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง เรียกได้ว่า NIPA Cloud ได้มอบโซลูชันการตอบสนองความต้องการด้านการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนระดับมหาศาลให้กับสำนักงานฯ ได้อย่างตรงจุดและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

เปรียบเทียบราคา Object Storage จาก NIPA Cloud
AUTHOR
Author
Chaow Charoensomsamai
Growth and Strategy Associate

I'm interested in learning new things, especially business and investment.

RELATED ARTICLES