Biopharma ปรับใช้เทคโนโลยีที่เอื้อ Data และ AI เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่อนาคต
ปี 2023 ถือเป็นยุคเบิกทางสู่ยุคดิจิทัล ที่องค์กรมากมายในหลากหลายอุตสาหกรรมเริ่มหันมาปรับตัวและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พร้อมแข่งขันกับผู้เล่นในท้องตลาดที่ก็กำลังปรับตัวธุรกิจเช่นเดียวกัน
ชีวเภสัชกรรม (biopharma) เป็นแขนงของชีววิทยาที่มีหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เช่น ยา สารสกัด และนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้ในทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวิต (life science) รวมถึงศาสตร์แขนงที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต โดยชีวเภสัชได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาชีวเภสัชภัณฑ์ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมที่จะสามารถต่อยอดไปได้ในอนาคต
อุตสาหกรรมชีวเภสัชนับเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเรื่องการนำคลาวด์มาพัฒนารากฐานทางเทคโนโลยีเพื่อเสริมความแข็งแกร่งเพื่อการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล NIPA Cloud จึงขอนำตัวอย่างนี้มาแชร์ให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดขึ้นในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ภายในองค์กร โดยเว็บไซต์ cloudcomputing-news.net ได้มีการนำเสนอรายงาน State of Tech in Biopharma ประจำปี 2023 เกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว
2023 State of Tech in Biopharma : ชีวเภสัชและกลยุทธ์ทางเทคโนโลยี
วันที่ 21 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา Duncan MacRae ได้เขียนบทความในหัวข้อ 2023 State of Tech in Biopharma report reveals tech strategies in era of data and AI (รายงานประจำปี 2023 ของ State of Tech in Biopharma เผยกลยุทธ์เทคในยุคแห่ง data และ AI) ที่นำเสนอแบบสำรวจของ Benchling เกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานและอุปสรรคที่อุตสาหกรรมชีวเภสัชต้องเผชิญหลังจากการปรับใช้เทคโนโลยี
Benchling เป็นซอฟต์แวร์ที่ปลดล็อกพลังของเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกคลาวด์ R&D (Benchling R&D Cloud) นักวิทยาศาสตร์มากกว่าสองแสนคนในบริษัทกว่า 1,200 แห่ง รวมถึงสถาบันการศึกษาและวิจัยกว่า 7,500 แห่งทั่วโลก ได้ปรับใช้ Benchling R&D Cloud เพื่อสร้างงานวิจัยที่ล้ำหน้า และเร่งนำยา อาหาร และวัสดุในอนาคตมาสู่ตลาดปัจจุบันให้เร็วขึ้น กล่าวคือ Benchling R&D Cloud ช่วยเหลือองค์กรเหล่านี้ปรับปรุงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ทันสมัย และเร่งให้เกิดการทำงานร่วมกัน เพื่อให้องค์กรสามารถแปลงความซับซ้อนของชีววิทยามาเป็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงโลก
รายงาน State of Tech in Biopharma ปี 2023 ได้สำรวจประชากรจำนวน 300 คนจากอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ประกอบด้วย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา 59% และฝ่ายไอที 41% โดยมาจากองค์กรขนาดใหญ่ 55% และองค์กรขนาดเล็ก 45% โดยตรวจสอบการใช้งาน tech stack ของชีวเภสัชเป็นครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วยวิทยาการหุ่นยนต์ (robotics) และระบบอัตโนมัติ (automation), เครื่องมือเชื่อมต่อ, แพลตฟอร์มข้อมูลวิจัยและพัฒนา, แอปพลิเคชันทางวิทยาศาสตร์บนคลาวด์ และ AI และ ML
ผลการสำรวจ
รายงานพบว่าอุตสาหกรรมชีวเภสัชนั้นกำลังปรับใช้เทคโนโลยีกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งแพลตฟอร์มข้อมูลวิจัยและพัฒนามีการใช้งานแพร่หลายมากที่สุด (ที่ 70%) ตามมาด้วยแพลตฟอร์มวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (63%) และ AI และ ML (59%) อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบ คือ การปรับใช้ซอฟต์แวร์ SaaS นั้นยังล่าช้า โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 18% ที่ใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าวเพื่องาน R&D และไอทีเป็นส่วนใหญ่
การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้นี้ยังสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในแล็บ โดยนักวิทยาศาสตร์ 53% ใช้งานแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กว่า 5 แอปในแต่ละวัน และฝ่ายไอทีในองค์กรขนาดใหญ่ 40% รองรับแอปพลิเคชันกว่า 20 แอป ซึ่งมีจำนวน 84% ที่กำลังใช้งานซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเอง บ่งชี้ว่ายังคงมีการใช้งานระบบแบบดั้งเดิม (legacy) อยู่ ยิ่งไปกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ 41% พบว่าการทำงานร่วมกันกับทีมและระหว่างทีมนั้นถือเป็นความท้าทาย และ 38% ต้องทำงานร่วมกับคนจำนวน 20 คนขึ้นไปในการทำงานแต่ละวัน
นอกจากนีั รายงานยังเผยให้เห็นว่าอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการปรับใช้เทคโนโลยีและความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมีสองประการ ได้แก่ การขาดทักษะและการแก้ปัญหาเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ ปัญหาดังกล่าวเป็นตัวเร้าให้เกิดการเรียกร้องให้อุตสาหกรรมลงทุนกับการดึงดูดผู้ที่มีทักษะเหมาะสมมาทำงานกับเทคโนโลยีที่เกิดใหม่เหล่านี้ รวมถึงผู้ที่ต้องการสร้างซอฟต์แวร์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ ซึ่งจะช่วยสร้างความพึงพอใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ และทำให้ทีมไอทีมีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้น
ชีวเภสัชกับโลกอนาคต
แม็กเรเสริมว่า งานวิจัยของ Benchling เผยว่าองค์กรหลายรายก็จำเป็นต้องดำเนินตามขั้นตอนเชิงตรรกะในการส่งเสริมให้เกิดความสอดคล้องที่เข้มแข็งระหว่างองค์กรวิจัยและพัฒนากับองค์กรไอที ซึ่งรวมถึงการจัดการลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีที่แตกต่างกันอย่างมีเหตุผล และมีการเจรจาอย่างตรงไปตรงมาเรื่องอุปสรรคในการปรับใช้ เช่น วัฒนธรรมองค์กรและการจัดการการเปลี่ยนแปลง ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ความสำคัญของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และ AI จะเติบโตเพียงอย่างเดียว พร้อมสร้างแรงกดดันเพิ่มให้กับชีวเภสัชให้ละทิ้งระบบแบบดั้งเดิมและสร้างรากฐานทางดิจิทัลให้แข็งแกร่งกว่าเดิม
Bob Burke ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาค EMEA ของ Benchling กล่าวว่า “เรากำลังเห็นยุคที่น่าทึ่งของชีวเภสัช ซึ่งการรักษาที่ก้าวล้ำและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีนี้กำลังพลิกโฉมการป้องกันและการรักษาโรค เทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยกำลังช่วยองค์กรทั้งหลายนำพลังของระบบอัตโนมัติ คลาวด์ และ AI กลับมา เพื่อใช้รับมือกับปัญหาด้านความเร็ว คุณภาพ ความสำเร็จ และความสามารถในการปรับขนาดในชีวเภสัช
“รายงานของเราเน้นย้ำอุปสรรคที่ต้องเอาชนะเพื่อเร่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และ AI จะมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีความจำเป็นต่อชีวเภสัชมากขึ้นในการขจัดเทคโนโลยีดั้งเดิมและเสริมความแข็งแกร่งให้กับรากฐานดิจิทัล หลายองค์กรพร้อมที่จะกลายเป็นผู้เล่นที่ทรงอิทธิพลที่สุดในชีวเภสัช ซึ่งจะขับเคลื่อนความสำเร็จสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป ซึ่งองค์กรเหล่านั้นมีความสามารถดึงดูดผู้มีทักษะระดับสูง ส่งเสริมให้เกิดความสอดคล้องระหว่างฝ่ายวิจัยและพัฒนากับไอที และปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สร้างขึ้นสำหรับชีววิทยายุคใหม่นี้” เบิร์กกล่าวเสริม
จากรายงานของ Benchling เราจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมชีวเภสัชมีความตื่นตัวด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และได้เริ่มปรับใช้เทคระดับสูงภายในองค์กรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ อาจมีอุปสรรคปรากฏอยู่บ้าง เช่น ทักษะความสามารถของพนักงาน การแก้ปัญหาระบบที่ไม่คุ้นเคย และปัญหาอื่น ๆ แต่บุคลากรในอุตสาหกรรมก็ยอมรับปัญหาและพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาไปด้วยกัน เพราะทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาให้อุตสาหกรรมชีวเภสัชก้าวหน้าและสร้างนวัตกรรมสุดล้ำที่จะช่วยเหลือมนุษยชาติในภายภาคหน้าได้อย่างแท้จริง ตลอดจนการดึงดูดผู้ที่มีทักษะและความต้องการทำงานในสายงานนี้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก้าวไปข้างหน้าเช่นกัน
นี่คือตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีระดับสูงอย่างคลาวด์มาปรับใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาในอนาคต หากคุณเป็นธุรกิจที่ต้องการ transform มายังคลาวด์ก็อย่ารอช้า ให้ NIPA Cloud ดูแลคุณ ตั้งแต่การปรึกษา วางแผน บริการ ตลอดจนการดูแลหลังการขาย โดยทีมงานชาวไทยตลอด 24 ชั่วโมง เรามุ่งมั่นให้บริการคลาวด์ที่ดีที่สุดเพื่อคนไทย สร้างระบบนิเวศคลาวด์ที่เอื้อให้กับองค์กรไทยทุกรายเกิดประโยชน์สูงสุด
ที่มา