Global Cloud vs Local Cloud เปรียบเทียบ Cloud Computing ที่คนไทยนิยมใช้ในปี 2024
Cloud computing ถือเป็นเทคโนโลยีที่หลายองค์กรมีการปรับใช้กันอย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลากหลายรายเกิดขึ้น ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายสำหรับผู้ที่กำลังจะเริ่มใช้งานเทคโนโลยี cloud computing หรือผู้ที่ใช้งานมาสักพักแล้วต้องการทดลองใช้บริการผู้ให้บริการรายอื่นบ้าง เพื่อค้นหาว่าองค์กรหรือธุรกิจของตนเองเหมาะกับผู้ให้บริการรายไหน อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการคลาวด์ส่วนมากเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ บทความนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการคลาวด์ (cloud provider) ที่เชื่อว่าเป็นผู้นำของอุตสาหกรรม (top cloud) กับบริการของผู้ให้บริการที่เป็นของไทยเอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้งาน
ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนเลือกใช้ Global Cloud หรือ Local Cloud
การตัดสินใจระหว่างการใช้ Global Cloud (AWS, GCP, Azure) หรือ Local Cloud (NIPA Cloud) ขึ้นอยู่กับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ ปัจจัยที่ควรพิจารณามีดังนี้
- ความต้องการทางธุรกิจ
- Global Cloud : เหมาะสำหรับองค์กรที่มีสาขาทั่วโลก มีบริการครอบคลุมหลายภูมิภาค และต้องการใช้บริการ Cloud Provider ที่มี Data Center ตั้งอยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมาย
- Local Cloud : เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในประเทศหรือภูมิภาคใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ความหน่วง
- Global Cloud : มีศูนย์ข้อมูลในหลายภูมิภาคทั่วโลก แต่ระยะห่างจากศูนย์ข้อมูลถึงผู้ใช้ในท้องถิ่นอาจส่งผลต่อความหน่วง
- Local Cloud : ศูนย์ข้อมูลตั้งอยู่ในประเทศ ทำให้การเชื่อมต่อรวดเร็วและมีความหน่วงต่ำ เหมาะสำหรับบริการที่ต้องการความเร็วสูง
- การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนด
- Global Coud : บางบริการอาจไม่สอดคล้องกับกฎหมายหรือข้อกำหนดในประเทศ เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- Local Cloud : มีความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายในประเทศได้ดีกว่า เช่น การจัดเก็บข้อมูลในประเทศตามข้อกำหนด
- ค่าใช้จ่าย
- Global Cloud : มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า โดยเฉพาะเมื่อใช้ทรัพยากรหรือบริการที่ต้องโอนข้อมูลข้ามภูมิภาค
- Local Cloud : ราคามักจะเหมาะสม นอกจากนี้อาจไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนข้อมูลในประเทศ
- การสนับสนุนด้านเทคนิค
- Global Cloud : การสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และอาจไม่มีการช่วยเหลือเฉพาะเจาะจงสำหรับตลาดในประเทศ
- Local Cloud : มีทีมสนับสนุนที่พูดภาษาไทยหรือภาษาท้องถิ่น เข้าใจปัญหาเฉพาะของธุรกิจในพื้นที่
ข้อดีและข้อเสียของ Global Cloud และ Local Cloud ในตลาดไทย
Global Cloud
ข้อดี
- ความครอบคลุมทั่วโลก ผู้ให้บริการระดับโลก เช่น AWS, Microsoft Azure, และ Google Cloud Platform มีศูนย์ข้อมูลหลายแห่งทั่วโลก ทำให้สามารถขยายบริการได้ง่ายและรวดเร็ว
- มีบริการฟีเจอร์ที่ครอบคลุมและหลากหลาย เช่น AI, Machine Learning, Big Data Analytics ซึ่งช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจ
- มาตรฐานความปลอดภัยสูง มีการรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย
ข้อเสีย
- ความหน่วงในการเชื่อมต่อ เนื่องจากศูนย์ข้อมูลตั้งอยู่นอกประเทศไทย อาจทำให้เกิดความหน่วง (Latency) ในการเข้าถึงข้อมูล ในกรณีที่ธุรกิจตั้งอยู่ในประเทศและต้องการตอบสนองกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่หรือภูมิภาคใกล้เคียง
- ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับ Local Cloud โดยเฉพาะเมื่อมีการโอนย้ายข้อมูลข้ามประเทศ
- มีค่าใช้จ่ายที่อาจผันผวนได้บ่อยครั้ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่องบประมาณของธุรกิจ
- มีความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจาก Global Cloud มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์สูงขึ้น แม้ว่าผู้ให้บริการจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดก็ตาม
- มีความเสี่ยงด้านกฎหมายและข้อบังคับ เนื่องจากการเก็บข้อมูลบน Cloud ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงในการถูกควบคุมโดยกฎหมายของประเทศนั้น ๆ เช่น กฎหมาย US Cloud Act ที่อนุญาตให้รัฐบาลของสหรัฐฯ สามารถขอข้อมูลจากบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกา รวมถึงบริษัทคลาวด์ที่มีเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ในประเทศอื่น ๆ ได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้
Local Cloud
ข้อดี
- มีความหน่วงต่ำ (Low Latency) สร้างประสบการณ์ที่ลื่นไหล ไร้รอยต่อ ทำให้การประมวลผลรวดเร็วขึ้น เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปและได้รับกลับมามีระยะทางที่สั้นลง เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมออนไลน์ การประชุมทางวิดีโอ หรือแม้แต่การใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ บนสมาร์ทโฟน
- สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs) เนื่องจากผู้ให้บริการ Local Cloud มักจะมีแพ็คเกจและบริการที่เหมาะสมกับขนาดและงบประมาณของ SMEs ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี Cloud ได้ง่ายขึ้น และสามารถปรับขนาดบริการได้ตามความต้องการของธุรกิจ
- มีความปลอดภัยและความมั่นคงของข้อมูลสูงสุด เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บอยู่ภายในประเทศ ทำให้ความเสี่ยงในการถูกโจมตีจากภายนอกน้อยลง และสามารถควบคุมการเข้าถึงได้อย่างเข้มงวดตามกฎหมายและข้อกำหนดของประเทศ (PDPA) เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสำคัญขององค์กร
- มีบริการหลังการขายที่เป็นเลิศและรวดเร็ว เนื่องจากผู้ให้บริการ Local Cloud มีทีมงานสนับสนุนที่พูดภาษาไทยและมีความเชี่ยวชาญในระบบ นอกจากนี้ยังเข้าใจวัฒนธรรมไทยของการทำธุรกิจไทยมากกว่า ทำให้ลูกค้าได้รับการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- มีความสามารถปรับแต่งบริการให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายได้ดีกว่า เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนระบบ
ข้อเสีย
- มีบริการและฟีเจอร์ที่จำกัด อาจมีบริการที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการระดับโลก
- การขยายตัวที่จำกัด อาจมีข้อจำกัดในการขยายบริการไปยังต่างประเทศ
เปรียบเทียบ Global Cloud Provider ปี 2024
Amazon Web Service (AWS)
ภาพจาก Statista.com
อ้างอิงจากสถิติของ Statista พบว่า AWS มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 31% และเป็นอันดับ 1 ของการให้บริการ public cloud โดย AWS ไม่มีการผูกมัดด้านข้อตกลงระดับบริการ (Service Level Agreement : SLA) แต่ให้ SLA สำหรับบริการแต่ละรายการ ในกรณีของ EC2 แพลตฟอร์มของ AWS สำหรับการโฮสต์ instance VM Amazon เสนอ SLA ระดับภูมิภาคที่ 99.99% และ SLA ระดับ instance ที่ 99.5% และสุดท้าย สิ่งที่ควรพิจารณาที่สุดประการหนึ่งเมื่อประเมินผู้ให้บริการคลาวด์ คือ จำนวนภูมิภาคทั่วโลกและโซนความพร้อมใช้งาน (Availability Zone : AZ) ที่มีให้ ปัจจุบัน AWS มี AZ ทั้งหมด 108 แห่งใน 34 ภูมิภาคทั่วโลก มีแผนที่จะเพิ่มอีก 18 AZ และ 6 ภูมิภาคใหม่ในประเทศเม็กซิโก, นิวซีแลนด์, ซาอุดีอาระเบีย, ไทย, ไต้หวัน และ AWS European Sovereign Cloud
จุดเด่นของ AWS
- บริการที่หลากหลายและครอบคลุมกว่า 175 บริการ ตั้งแต่ด้าน Analytic, Blockchain ไปจนถึงเครื่องมือสำหรับ AI และ Machine Learning
- เครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่กว้างขวางทั่วโลก รวมถึงความเสถียรและมีความน่าเชื่อถือสูง
Microsoft Azure
Microsoft Azure ถือเป็นระบบคลาวด์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นหนึ่งในบริการ Cloud Server ที่ครบครันเจ้าหนึ่งในโลก นอกจากนี้ Microsoft ยังมี SLA แยกต่างหากสำหรับแต่ละบริการภายใน Azure Cloud การรับประกันเวลาทำงานของ Microsoft สำหรับ Azure VM นั้นคล้ายกับ SLA ของ Amazon ที่ประกอบด้วยอย่างน้อยสอง instance และ deploy ใน AZ 2 แห่ง มีการรับประกันความพร้อมใช้งานที่ 99.99% และความพร้อมใช้งานจะลดลงเหลือ 99.95% หาก instance อยู่ใน AZ เดียวกัน SLA สำหรับ VM แบบ instance เดียวจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าฮาร์ดแวร์ แต่รับประกันว่า instance VM ทั้งหมดจะมีความพร้อมใช้งานอย่างน้อย 95% และ Microsoft ให้เครดิตเมื่อ SLA ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ปัจจุบัน Microsoft ให้บริการ 33 ภูมิภาคทั่วโลก โดยรวมแล้วมีทั้งหมด 93 AZ โดยที่ยุโรปมีจำนวน AZs มากที่สุดที่ 33 โซน รองลงมาคืออเมริกาที่ 27 โซน
จุดเด่นของ Microsoft Azure
- มีฟั่งก์ชั่นและฟีเจอร์มากมายครบวงจร ทั้งเครื่องมือดด้าน AI, Machine Learning, Blockchain, DevOps และบริการอื่นๆอีกมากมาย
- การผสานรวมกับผลิตภัณฑ์ของ Microsoft เช่น Windows Server, Active Directory และ SharePoint เหมาะสำหรับองค์กรที่ใช้โซลูชันของ Microsoft อยู่แล้ว
Google Cloud Platform (GCP)
GCP เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามอยู่ที่ 12% และสร้างรายได้มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.8 แสนล้านบาท) ในแต่ละปี Google เชื่อมโยง SLA กับบริการเฉพาะ ในกรณีของ Google Compute Engine โดยรับประกันว่า instance เดียวจะมีความพร้อมใช้งานมากกว่า 99.5% และเพิ่มขึ้นเป็น 99.99% สำหรับ instance หลายโซน หรือสำหรับ instance ที่มี load balance และ Google ยังเสนอเครดิตทางการเงินเมื่อไม่เป็นไปตาม SLA ปัจจุบัน Google Cloud มี 41 ภูมิภาค และ 124 โซนความพร้อมใช้งาน (Availability Zones) ทั่วโลก
จุดเด่นของ GCP
- มีบริการหลากหลายไม่เป็นรอง AWS และ Azure และมีนวัตกรรมสูง โดยเฉพาะในด้าน AI และ Machine Learning
- มีการผสานรวมกับบริการของ Google เช่น BigQuery และ TensorFlow
Local Cloud ที่เชื่อถือได้ในไทย NIPA Cloud
NIPA Cloud หนึ่งในผู้ให้บริการ local cloud ในประเทศไทยที่ให้บริการ public cloud, private cloud และ hybrid cloud พร้อมรองรับผู้ใช้บริการที่หลากหลาย และสามารถเข้าใช้งานจากที่ไหนก็ได้ ให้บริการฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย เช่น object storage, load balancer, NIPA Drive, SQL database และ hosted private cloud
NIPA Cloud Space
NIPA Cloud เปิดตัว local public cloud ที่มีชื่อว่า NIPA Cloud Space เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2022 ตลอดระยะเวลา 1 ปีกว่า NIPA Cloud Space ได้ให้บริการฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น instance, image, load balancer, object storage (S3), block storage, public IP service, network & security และอื่น ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นมาในอนาคต พร้อมกันนี้ NIPA Cloud Space ยังให้บริการ SLA ถึง 99.99% ด้วย Availability Zone ที่ ณ ปัจจุบันเปิดให้บริการถึง 3 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ (BKK-Bang Rak) นนทบุรี (NON) และขอนแก่น (KKN) ซึ่งมีแพลนที่จะขยายต่อในอนาคต ทำให้เชื่อมั่นได้เลยว่า NIPA Cloud Space เป็นคลาวด์ประสิทธิภาพสูงที่พร้อมให้บริการคนไทยมากที่สุด
จุดเด่นของ NIPA Cloud Space
มีฟีเจอร์และบริการที่ครบถ้วนสำหรับ Cloud Server เช่น instance, load balancer, object storage และ DDoS Protected IP
ความปลอดภัยและมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001, ISO/IEC 20000-1, ISO/IEC 29110 และ CSA STAR ยืนยันถึงความปลอดภัยและคุณภาพในการให้บริการ
มี Availability Zones หลายแห่งในประเทศไทย เช่น กรุงเทพฯ และนนทบุรี เพื่อรองรับ High Availability (HA) และลด Downtime พร้อมการสนับสนุนและให้บริการ 24/7 โดยทีมงานคนไทย
ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ NIPA Cloud Space จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจไทยที่ต้องการบริการคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ
I'm interested in learning new things, especially business and investment.