Global Cloud vs Local Cloud เปรียบเทียบ Cloud Computing ที่คนไทยนิยมใช้ในปี 2023
Cloud computing ถือเป็นเทคโนโลยีที่หลายองค์กรมีการปรับใช้กันอย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลากหลายรายเกิดขึ้น ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายสำหรับผู้ที่กำลังจะเริ่มใช้งานเทคโนโลยี cloud computing หรือผู้ที่ใช้งานมาสักพักแล้วต้องการทดลองใช้บริการผู้ให้บริการรายอื่นบ้าง เพื่อค้นหาว่าองค์กรหรือธุรกิจของตนเองเหมาะกับผู้ให้บริการรายไหน อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการคลาวด์ส่วนมากเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ บทความนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการคลาวด์ (cloud provider) ที่เชื่อว่าเป็นผู้นำของอุตสาหกรรม (top cloud) กับบริการของผู้ให้บริการที่เป็นของไทยเอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้งาน
เปรียบเทียบ global cloud provider ปี 2023
ภาพจาก Statista.com
อ้างอิงจากเว็บไซต์ Statista ที่มีการเก็บข้อมูลสถิติการใช้งาน public cloud ในประเทศไทย มีการประมาณการว่าในปี 2023 จะมีมูลค่าการใช้จ่าย public cloud สูงถึง 1,324.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 48,094 ล้านบาท) และตลาดใหญ่ที่สุดที่มีการคาดการณ์ในปี 2023 คือ ตลาดโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure-as-a-Service: IaaS) ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้จ่ายสูงถึง 561.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 20,398 ล้านบาท) พร้อมกับการคาดกาณ์การเติบโตรายปีแบบทบต้น (CAGR) จากปี 2023-2027 สูงถึง 19.54% ต่อปี แม้ว่าจะยังดูน้อยเมื่อเทียบกับการใช้จ่ายคลาวด์ที่สหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าถึง 258,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (8.7 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 แต่จากตัวเลขการเติบโตของ CAGR ที่สูงถึง 19.54% ทำให้เราสามารถอนุมานได้ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดคลาวด์กำลังมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถิติอาจจะขัดกับความรู้สึกของผู้ใช้งานทั่วไป เนื่องจากบุคคลจำนวนมากมีการใช้งานคลาวด์ที่เป็น Software-as-a-Service (SaaS) เช่น Gmail, Google Drive, Zoom, Microsoft Teams เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การใช้งานระบบที่มีขนาดใหญ่ เช่น ระบบการชำระเงิน หรือระบบการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ นั้นจำเป็นต้องใช้ IaaS จึงจะคุ้มค่ากว่า จึงทำให้ตลาด IaaS มีมูลค่าที่ใหญ่กว่า
งานเขียนนี้จะมุ่งไปในการเปรียบเทียบการให้บริการ IaaS ในมุมมองเชิงคุณภาพ (qualitative) เนื่องจากในเชิงปริมาณหรือเชิงประสิทธิภาพนั้นได้มีการให้ข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้วในเอกสาร Cloud CPU Benchmark 2022 Report โดยในงานเขียนนี้จะเปรียบเทียบ Global Cloud ได้แก่ Amazon Web Services (AWS), Microsoft Azure, Google Cloud Platform (GCP) และ Huawei Cloud ที่ถือว่าเป็นผู้ให้บริการที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงเมื่อเทียบกับ NIPA Cloud ซึ่งเป็น local cloud ในประเทศไทย
Amazon Web Services (AWS)
ภาพจาก Statista.com
อ้างอิงจากสถิติของ Statista พบว่า AWS มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 32% และเป็นอันดับ 1 ของการให้บริการ public cloud โดย AWS ไม่มีการผูกมัดด้านข้อตกลงระดับบริการ (Service Level Agreement : SLA) แต่ให้ SLA สำหรับบริการแต่ละรายการ ในกรณีของ EC2 แพลตฟอร์มของ AWS สำหรับการโฮสต์ instance VM Amazon เสนอ SLA ระดับภูมิภาค (region) ที่ 99.99% และ SLA ระดับ instance ที่ 99.5% และสุดท้าย สิ่งที่ควรพิจารณาที่สุดประการหนึ่งเมื่อประเมินผู้ให้บริการคลาวด์ คือ จำนวนภูมิภาคทั่วโลกและโซนความพร้อมใช้งาน (Availability Zone : AZ) ที่มีให้ ปัจจุบัน AWS ประกอบด้วย 27 ภูมิภาคทั่วโลก และมี AZ ทั้งหมด 87 แห่ง
Interface
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งเมื่อเลือกใช้บริการ public cloud คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการระบบคลาวด์รายอื่น ๆ เช่น Amazon, Microsoft และ Google ผ่านการให้บริการ SDK สำหรับนักพัฒนา เพื่อให้แอปพลิเคชันสามารถใช้ทรัพยากรระบบคลาวด์ได้ง่ายขึ้น จากมุมมองด้านการดูแลระบบ (administrative) ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ต่าง ๆ ได้มีการให้บริการทั้ง web portal และอินเทอร์เฟซบรรทัดคำสั่ง (command-line interface) การจัดการของ Amazon แสดงในรูปด้านบน command-line environment ที่เรียกว่า AWS CLI สามารถติดตั้งบน Windows, MacOS หรือ Linux แม้ว่าคำสั่งที่รองรับส่วนใหญ่จะคล้ายกับคำสั่งที่ใช้ใน environment ของ Linux แต่ Amazon ยังมี AWS CLI เวอร์ชัน PowerShell อีกด้วย
Pricing
สำหรับทรัพยากรระบบคลาวด์ของ AWS นั้นมีการคิดค่าบริการหลากหลายรูปแบบ ทั้งการจ่ายตามการใช้งานจริง (pay as you go) จ่ายแบบเหมาจ่ายรายเดือน รายปี และจ่ายตามบริการที่ใช้ อาทิ ค่าบริการ data transfer ซึ่งแม้ว่าวิธีการคำนวนราคาจะมีความซับซ้อน แต่ AWS ก็มีเครื่องคำนวณราคาที่สามารถช่วยประมาณการค่าบริการโดยรวมได้ นอกจากนี้ AWS ยังมีบางบริการที่ให้ลูกค้าเข้ามาใช้งานได้ฟรี ซึ่งแหล่งข้อมูล free tier เหล่านี้มักจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ว่าบริการต่าง ๆ ของ AWS ทำงานอย่างไรโดยไม่ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก
Microsoft Azure
Microsoft Azure ถือเป็นระบบคลาวด์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จากการวิจัยและสร้างรายได้มากกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.06 ล้านล้านบาท) จากบริการคลาวด์ของตัวเอง อย่างไรก็ตาม รายได้เหล่านั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับ Azure เพียงเท่านั้น แต่เชื่อมโยงกับบริการคลาวด์อื่น ๆ เช่น Microsoft 365 นอกจากนี้ Microsoft ยังมี SLA แยกต่างหากสำหรับแต่ละบริการภายใน Azure Cloud การรับประกันเวลาทำงานของ Microsoft สำหรับ Azure VM นั้นคล้ายกับ SLA ของ Amazon ที่ประกอบด้วยอย่างน้อยสอง instance และ deploy ใน AZ 2 แห่ง มีการรับประกันความพร้อมใช้งานที่ 99.99% และความพร้อมใช้งานจะลดลงเหลือ 99.95% หาก instance อยู่ใน AZ เดียวกัน SLA สำหรับ VM แบบ instance เดียวจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าฮาร์ดแวร์ แต่รับประกันว่า instance VM ทั้งหมดจะมีความพร้อมใช้งานอย่างน้อย 95% และ Microsoft ให้เครดิตเมื่อ SLA ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับ Amazon
Microsoft ดูแลภูมิภาคและ AZ จำนวนมากภายในคลาวด์ Azure โดย AZ เหล่านี้เป็นศูนย์ข้อมูลที่แยกจากกันภายในภูมิภาค ที่มี latency ไป-กลับภายในภูมิภาคน้อยกว่า 2 มิลลิวินาที (millisecond) ปัจจุบัน Microsoft ให้บริการ 27 ภูมิภาค ซึ่งแต่ละภูมิภาครองรับ AZ หลายแห่ง โดยรวมแล้วมี 60 ภูมิภาค และ 116 AZ
Interface
Portal ของ Microsoft Azure ค่อนข้างใช้งานง่าย บริการ Azure และทรัพยากรส่วนใหญ่สามารถจัดการได้จากภายใน portal โดยไม่ต้องเจาะลึก command-line environment แต่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ command-line environment นั้น Microsoft ขอเสนอ Azure CLI เช่นเดียวกับ Amazon CLI โดยสามารถติดตั้ง Azure CLI บน Windows, Linux หรือ MacOS ได้ นอกจากนี้ ยังมีตัวเลือกในการเรียกใช้ Azure CLI ใน Docker หรือใน Azure Cloud Shell ก็ได้
Pricing
Microsoft Azure มีค่าบริการ VM ไม่แตกต่างจาก AWS มากนัก และด้วยความที่เป็น global cloud จึงมีบริการพร้อมทั้งแบบการจ่ายตามการใช้งานจริง จ่ายแบบเหมาจ่ายรายเดือน รายปี และจ่ายตามบริการที่ใช้ อาทิ ค่าบริการ data transfer ซึ่งแม้ว่าวิธีการคำนวนราคาจะมีความซับซ้อน แต่ Microsoft Azure ก็มีเครื่องคำนวณราคาที่สามารถช่วยประมาณการค่าบริการได้ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดให้ลูกค้าสามารถเข้ามาทดลองใช้บริการบางประเภทได้ฟรีอีกด้วย
Google Cloud Platform (GCP)
GCP เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ใหญ่เป็นอันดับสาม และสร้างรายได้มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.8 แสนล้านบาท) ในแต่ละปี Google เชื่อมโยง SLA กับบริการเฉพาะ ในกรณีของ Google Compute Engine โดยรับประกันว่า instance เดียวจะมีความพร้อมใช้งานมากกว่า 99.5% และเพิ่มขึ้นเป็น 99.99% สำหรับ instance หลายโซน หรือสำหรับ instance ที่มี load balance และ Google ยังเสนอเครดิตทางการเงินเมื่อไม่เป็นไปตาม SLA
Google มีศูนย์ข้อมูลจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป และตะวันออกกลาง โดยรวมแล้วบัญชีเหล่านี้ครอบคลุมภูมิภาค 34 พื้นที่ของบริษัท และ AZ 103 แห่งที่พร้อมให้บริการ โดยมี AZ ประมาณ 36 แห่งในอเมริกาเหนือเพียงพื้นที่เดียว
Interface
นอกจาก web portal ที่แสดงด้านบนแล้ว Google ยังมี command-line environment ที่เรียกว่า gcloud CLI รองรับคำสั่งสไตล์ Linux และสามารถติดตั้งบน Linux, MacOS หรือ Windows นอกจากนี้ยังมีการดาวน์โหลดสำหรับ Debian, Ubuntu, Red Hat, Fedora และ CentOS อีกด้วย
Pricing
Google เสนอราคาแบบจ่ายตามการใช้งานจริงแบบเดียวกับผู้ให้บริการรายอื่น ผู้ที่ต้องการทดลองใช้ GCP สามารถรับเครดิตฟรีมูลค่าสูงสุด 300 ดอลลาร์สหรัฐ และเข้าถึงผลิตภัณฑ์มากกว่า 20 รายการภายใน GCP เนื่องจากการกำหนดราคาบนระบบคลาวด์มีแนวโน้มที่จะซับซ้อน Google จึงจัดเตรียมเครื่องคำนวณราคาที่สามารถประเมินค่าใช้จ่ายในการเรียกใช้ปริมาณงานต่าง ๆ ใน GCP
Huawei Cloud
อ้างอิงจาก Bangkok Post พบว่า การเปิดตัวเว็บไซต์ Huawei Cloud International เวอร์ชันภาษาไทยในประเทศไทยถูกปล่อยออกมาเนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดของ Huawei ในประเทศไทยของ IaaS นั้นสูงถึง 29.44% ซึ่งหากอ้างอิงจาก Gartner จะพบว่า Huawei มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย ซึ่ง Huawei Cloud กวาดรายได้รวมในปี 2022 ไปกว่า 133.2 ล้านหยวน (645.32 ล้านบาท) มีภูมิภาคทั้งหมด 23 พื้นที่ และ AZ ทั้งหมด 45 แห่ง และเช่นเดียวกับ AWS, Microsoft Azure และ GCP ในกรณีของ Elastic Compute Service ของ Huawei รับประกันว่า instance เดียวจะมีความพร้อมใช้งานมากกว่า 99.5% และเพิ่มขึ้นเป็น 99.99% สำหรับ instance หลายโซน หรือสำหรับ instance ที่มี load balance และ Huawei ยังเสนอเครดิตทางการเงินเมื่อไม่เป็นไปตาม SLA เช่นกัน
Interface
Huawei Cloud มีการเชื่อมต่อที่ง่ายและมีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย โปรโตคอลความปลอดภัยที่ปรับใช้ภายในโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ทำให้ Huawei Cloud เป็นตัวเลือกที่เชื่อถือได้และปลอดภัยในการจัดการชุดข้อมูล นอกจากนี้ สิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรองข้อมูลอัตโนมัติยังช่วยให้ดึงข้อมูลที่ถูกลบก่อนหน้านี้ได้อย่างง่ายดาย
Pricing
สำหรับทรัพยากรระบบคลาวด์อย่าง Huawei Cloud นั้นมีการคิดค่าบริการหลากหลายรูปแบบ ทั้งการจ่ายตามการใช้งานจริง จ่ายแบบเหมาจ่ายรายเดือน รายปี และจ่ายตามบริการที่ใช้ เช่น ค่าบริการ bandwidth หรือ data transfer ซึ่งแม้ว่าวิธีการคำนวนราคาจะมีความซับซ้อน แต่ก็มีเครื่องมือการประมาณการค่าใช้จ่ายให้ทดลองใช้งาน นอกจากนี้ ยังมีบางบริการที่ให้ลูกค้าเข้ามาใช้งานได้ฟรี ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล free tier อีกด้วย
Local cloud ที่เชื่อถือได้ในไทย NIPA Cloud
NIPA Cloud หนึ่งในผู้ให้บริการ local cloud ในประเทศไทยที่ให้บริการ public cloud และ private cloud พร้อมรองรับผู้ใช้บริการที่หลากหลาย และสามารถเข้าใช้งานจากที่ไหนก็ได้ ให้บริการฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย เช่น object storage, load balancer, NIPA Drive, public IP service และ hosted private cloud
NIPA Cloud Space
NIPA Cloud เปิดตัว local public cloud ที่มีชื่อว่า NIPA Cloud Space เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2022 ตลอดระยะเวลา 1 ปีกว่า NIPA Cloud Space ได้ให้บริการฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น instance, image, load balancer, object storage (S3), block storage, public IP service, network & security และอื่น ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นมาในอนาคต พร้อมกันนี้ NIPA Cloud Space ยังให้บริการ SLA ถึง 99.99% ด้วย Availability Zone ที่ ณ ปัจจุบันเปิดให้บริการถึง 3 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ (BKK-Bang Rak) นนทบุรี (NON) และขอนแก่น (KKN) ซึ่งมีแพลนที่จะขยายต่อในอนาคต ทำให้เชื่อมั่นได้เลยว่า NIPA Cloud Space เป็นคลาวด์ประสิทธิภาพสูงที่พร้อมให้บริการคนไทยมากที่สุด
Interface
แพลตฟอร์มมีการเชื่อมต่อกับระบบ OpenStack API ทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับองค์กร อีกทั้งยังมีระบบ billing แบบ pay-as-you-go และระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ admin เพื่อการบริหารระบบคลาวด์และการทำ capacity planning
NIPA Cloud Space โซลูชันผู้ใช้บริการทั้งรายบุคคลและองค์กรที่ต้องการใช้ public cloud โดยสามารถตอบโจทย์การทำงานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งาน multi-cloud ที่ช่วยเพิ่มขีดจำกัดความสามารถการใช้งานคลาวด์ให้เพิ่มมากขึ้นได้ โดยสามารถใช้โซลูชันอื่น ๆ เช่น disaster recovery, High Availability, Load-Balance-as-a-Service (LBaaS) และ object storage ได้ ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
Pricing
เนื่องจาก NIPA Cloud Space ให้บริการจาก open source ทำให้ไม่มีค่าบริการที่เป็นค่าลิขสิทธิ์ (license) ทำให้มีต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำ ดังนั้น ราคาโดยเฉลี่ยจะถูกกว่าคลาวด์ของต่างชาติทั้งสิ้น รวมถึงการไม่คิดค่าบริการ data transfer เนื่องจากมีความพร้อมในการให้บริการ domestic bandwidth ที่สูงมาก และมีการคิดค่าบริการแบบจ่ายตามการใช้งานจริง จ่ายแบบเหมาจ่ายรายเดือน และรายปี นอกจากนี้ยังมีบางบริการที่ให้ลูกค้าเข้ามาทดลองใช้งานฟรีได้อีกด้วย
อ้างอิง
https://datastorageasean.com/news-press-releases/huawei%E2%80%99s-iaas-market-share-ranks-no-4-emerging-asia-pacific-ranks-no-3-thailand https://docs.morpheusdata.com/en/latest/integration_guides/Clouds/Huawei/huawei.html www.bangkokpost.com/thailand/pr/2321518/the-thai-version-of-huawei-cloud-international-website-is-launched-as-huawei-thailand-iaas-market-share-reaches-29-44- www.statista.com/chart/18819/worldwide-market-share-of-leading-cloud-infrastructure-service-providers www.statista.com/outlook/tmo/public-cloud/thailand www.techtarget.com/searchcloudcomputing/tip/Top-public-cloud-providers-A-brief-comparison
I'm interested in learning new things, especially business and investment.